พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10238/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย การตกลงนอกศาลไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขอให้ถอนการบังคับคดีต้องมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 295 แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 6 ซึ่งมีเนื้อหาเป็นทำนองขอให้ศาลชั้นต้นถอนการบังคับคดีนั้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 6 ได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 จำเลยที่ 6 จึงไม่อาจร้องขอให้ถอนการบังคับคดีได้ ส่วนที่จำเลยที่ 6 อ้างว่า ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์กับจำเลยที่ 6 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ และจำเลยที่ 6 ได้ชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจมาบังคับคดีแก่จำเลยที่ 6 ได้อีกนั้น เห็นว่า บันทึกข้อตกลงยินยอมชำระหนี้ทำขึ้นนอกศาลโดยศาลมิได้รับรู้ด้วย โจทก์เองก็ยื่นคำคัดค้านว่า บันทึกดังกล่าว ทนายโจทก์คนเดิมทำขึ้นโดยไม่ตรงตามความประสงค์ของโจทก์ และทนายมีพฤติการณ์ร่วมมือกับฝ่ายจำเลยฉ้อฉลโจทก์ บันทึกดังกล่าวหากสามารถบังคับกันได้ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 6 จะต้องว่ากล่าวแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีจึงไม่ถือเป็นเหตุตามกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย: ไม่ใช่เจ้าหนี้ในคดีอาญา
ผู้ร้องมิใช่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์โดยตรง เพียงแต่อ้างสิทธิในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่ถูกจำเลยลักไปซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายที่ 2 ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยและมาใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเท่านั้น ความเสียหายของผู้ร้องที่อ้างว่าได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปนั้นจึงเกิดขึ้นจากความรับผิดตามสัญญาประกันภัย มิใช่เกิดจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นการกระทำละเมิดของจำเลย สิทธิเรียกร้องความเสียหายของผู้ร้องจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเช่นเดียวกันกับผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาที่ผู้ร้องได้ชดใช้ไปตามสัญญาประกันภัยได้
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตราดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม มาตรา 4, 5 และ 6 เท่านั้น ผู้เสียหายที่จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 จึงหมายถึงผู้เสียหายในคดีอาญาเท่านั้น
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง ซึ่งคดีนี้ผู้เสียหายในความผิดฐานลักทรัพย์รถยนต์คือผู้เสียหายทั้งสอง และพนักงานอัยการโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น โดยเป็นการเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 43 และเมื่อพิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 แล้ว ยิ่งเห็นได้ชัดเจนว่า สิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตราดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยแท้ของผู้เสียหายหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม มาตรา 4, 5 และ 6 เท่านั้น ผู้เสียหายที่จะถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 จึงหมายถึงผู้เสียหายในคดีอาญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับสินสมรส: เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านมีสิทธิขอส่วนแบ่งตามสัดส่วน
แม้ทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและมีการขายทอดตลาดจะเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านกับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตามที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้คัดค้านคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาด เพราะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหากมิใช่หนี้ร่วม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีจากสินสมรสได้เพียงในส่วนของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้เท่านั้น มิอาจกระทบกระเทือนสินสมรสในส่วนของคู่สมรสของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น ปัญหาว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีต่อโจทก์เป็นหนี้ร่วมโดยผู้คัดค้านได้ให้สัตยาบันหรือมีหนังสือให้ความยินยอมดังที่โจทก์อ้างหรือไม่ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏในคำฟ้อง คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำขอยึดทรัพย์ระบุว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลย กรณีจึงยังไม่มีคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลว่าเป็นหนี้ร่วมตามที่โจทก์กล่าวอ้างเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดกึ่งหนึ่งจ่ายให้แก่ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมไปได้ การที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในภายหลังว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสและหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ร่วม ไม่ทำให้การดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่โจทก์กล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ที่ไม่ใช่ของเจ้าหนี้: ฎีกานอกประเด็นและไม่เป็นสาระต่อคดี
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดโดยอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของต้นยางพาราที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ การที่ผู้ร้องฎีกาว่า ต้นยางพาราพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงต้องถูกห้ามยึดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ประกอบ พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 25 จึงเป็นฎีกานอกคำร้องและนอกประเด็น ทั้งไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีเจ้าหนี้: การโอนที่ดินโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
จำเลยที่ 1 ไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินจนเจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว แล้วจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ไป จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีว่าทำให้โจทก์ไม่อาจที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพิพาท ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอจะชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับว่าไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีรายได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5465-5466/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ากำหนดสละกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน: สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดียึดได้หากเงื่อนไขไม่ครบถ้วน
จำเลยเช่าห้องชุดจากผู้ร้อง สัญญาเช่าข้อ 19 ที่มีข้อความว่า "ในกรณีผู้เช่าไม่ขนย้ายทรัพย์สินหรือสิ่งของต่างๆ ของผู้เช่าออกจากสถานที่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่การเช่าสิ้นสุดลง ผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าและขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้ โดยผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่ามารับคืนภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้เช่าได้รับหนังสือแจ้ง หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวผู้เช่าไม่ติดต่อขอรับคืน ให้ทรัพย์สินของผู้เช่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า" เป็นกรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าตกลงสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่า ไม่มีลักษณะที่ผู้ร้องได้เปรียบจนเกินสมควรและไม่มีกฎหมายบัญญัติห้าม สัญญาข้อนี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ผู้ร้องส่งหนังสือแจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพิพาทออกจากสถานที่เช่าไปยังห้องชุดที่จำเลยเช่าอันเป็นสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68 แล้ว แต่ผู้ร้องยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยมารับทรัพย์สินพิพาทคืนภายในกำหนด 1 เดือน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาทของจำเลยจึงไม่ตกเป็นของผู้ร้องตามสัญญาเช่าข้อ 19 โจทก์ทั้งสองมีสิทธินำยึดทรัพย์สินพิพาทตามบัญชียึดทรัพย์
ผู้ร้องส่งหนังสือแจ้งให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพิพาทออกจากสถานที่เช่าไปยังห้องชุดที่จำเลยเช่าอันเป็นสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลและเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 68 แล้ว แต่ผู้ร้องยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยมารับทรัพย์สินพิพาทคืนภายในกำหนด 1 เดือน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาทของจำเลยจึงไม่ตกเป็นของผู้ร้องตามสัญญาเช่าข้อ 19 โจทก์ทั้งสองมีสิทธินำยึดทรัพย์สินพิพาทตามบัญชียึดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลงเมื่อผู้ค้ำประกันพ้นจากตำแหน่งกรรมการ และเจ้าหนี้ยินยอมทำสัญญาใหม่โดยไม่รวมผู้ค้ำประกันเดิม
จำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 เพียงครั้งเดียว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2529 ในวงเงิน 3,600,000 บาท ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 5 ยังเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อยู่ หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อนุมัติให้ลาออก และให้จำเลยที่ 6 เป็นกรรมการแทน จำเลยที่ 5 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 ในกิจการของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า หลังจากที่จำเลยที่ 5 ลาออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญาใช้วงเงินกับโจทก์อีก 6 ครั้ง ซึ่งโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 นำผู้ค้ำประกันคนเดิมรวมทั้งจำเลยที่ 6 มาทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย แต่คงมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 เท่านั้นที่เข้าทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 5 มิได้เข้าทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด เนื่องจากมิได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์เองมิได้ทักท้วงหรือปฏิเสธไม่ยอมทำสัญญาใช้วงเงินกับจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาครั้งที่ 2 ถึงที่ 7 เช่นนี้ถือว่าโจทก์ได้ทราบถึงเรื่องที่จำเลยที่ 5 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 แล้ว และการที่โจทก์ยอมทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยยอมรับการทำสัญญาค้ำประกันของจำเลยอื่นโดยไม่มีจำเลยที่ 5 เข้าทำสัญญาค้ำประกันนั้นเห็นได้ชัดว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 5 ต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกันฉบับแรกอีกต่อไป นอกจากนั้นปรากฏว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่เกิดหลังจากจำเลยที่ 5 พ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมที่จำเลยที่ 5 ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ทำไว้และไม่จำต้องแสดงเจตนาว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 5 หลุดพ้นจากความรับผิดในสัญญาค้ำประกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20277/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นธรรมและเสมอภาค การจัดกลุ่มที่ไม่สมเหตุผลและเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้บางราย ศาลไม่อาจเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟู
แม้มีการยื่นคำร้องคัดค้านการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มาแล้ว ซึ่งศาลมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งจึงถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง แต่ปัญหาการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันกับสิทธิที่ได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นข้อสำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาแผน เนื่องจากแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับมาแล้วจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกชั้นหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันตามแผนมิได้พิจารณาเพียงจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกัน แต่จะต้องคำนึงถึงราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเป็นสำคัญ หากจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันสูงกว่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน การเป็นเจ้าหนี้มีประกันในอันที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมมีอยู่เฉพาะในมูลค่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเท่านั้น ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มีทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประกันจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันที่มีจำนวนหนี้มีประกันจึงมีเพียงเท่าราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ทั้งนี้ การตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นจะต้องเป็นราคาสมควรและเป็นธรรมด้วย โดยแผนอาจจัดให้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ส่วนหนี้ที่เหลือย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อาจจัดได้เป็นหลายกลุ่มโดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง (3)
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้รับจำนำหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่ลูกหนี้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ตามสัญญาจำนำหุ้นที่กำหนดวงเงินจำนำครอบคลุมถึงหนี้ประธานตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ซึ่งลูกหนี้กระทำต่อเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แสดงว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ต่างมีหุ้นที่ลูกหนี้จำนำเป็นทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันร่วมกัน จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเช่นเดียวกัน แต่ผู้ทำแผนไม่ได้ประเมินหรือตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าหนี้เพื่อจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน แต่กลับนำจำนวนหนี้ประธานของเจ้าหนี้มีประกันแต่ละรายมาคำนวณเปรียบเทียบกับจำนวนหนี้ทั้งหมดที่บรรดาเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ แล้วจัดให้เจ้าหนี้รายที่ 20 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และเจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันรายที่มีจำนวนหนี้มีประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ และให้เจ้าหนี้มีประกันอื่นเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งไม่ถูกต้องตามวิธีการจัดกลุ่มเจ้าหนี้มีประกัน หากมีการประเมินและตีราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันอย่างสมควรและเป็นธรรมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันน่าจะไม่สูงไปกว่าจำนวนหนี้ประธาน กรณีเช่นนี้หนี้ส่วนที่เหลือจากมูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งต่างเป็นสถาบันการเงินเช่นเดียวกัน ตามแผนจะต้องจัดให้เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันเหล่านี้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้ได้รับชำระหนี้ร้อยละ 100 ในขณะที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันแต่เพียงบางส่วนเมื่อหักราคาหุ้นอันเป็นหลักประกันตามสัดส่วนของการจำนำตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เช่นกัน ให้ได้รับชำระหนี้เพียงร้อยละ 19.58 จึงไม่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน ปรากฏว่าเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และที่ 3 เป็นสถาบันการเงินที่เคยให้การช่วยเหลือสนับสนุนทางการเงินให้แก่ลูกหนี้มาก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเช่นเดียวกัน จึงควรได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน โดยการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ให้ถูกต้อง มิใช่แยกไปจัดกลุ่มต่างกันและลดจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ลงถึงร้อยละ 80.42 การที่แผนกำหนดให้เจ้าหนี้รายที่ 39 เป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดร้อยละ 100 และมีการแก้ไขแผนอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เจ้าหนี้รายที่ 39 โดยเฉพาะเจาะจง เป็นเหตุให้ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้รายที่ 39 ในการลงมติยอมรับแผน แต่เจ้าหนี้เสียงส่วนน้อยของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้นที่มีจำนวนหนี้คิดเป็นร้อยละ 40.24 เป็นเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมรับแผน ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ต่างได้รับผลกระทบจากการจัดสรรชำระหนี้ตามแผน แผนการฟื้นฟูกิจการดังกล่าวจึงเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันกับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 มีลักษณะเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ทั้งยังส่อไปในทางไม่สุจริตในการจัดทำแผน จึงเป็นแผนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15037/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้รายหลังไม่มีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำไปก่อนหน้านี้ แม้จะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์หลังมรณะ: สิทธิในทรัพย์สินของผู้ปลูกสร้างบนที่ดินมรดก
ผู้ร้องกล่าวในคำร้องว่า ผู้ร้องปลูกสร้างบ้านเลขที่ 7/1 บนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของจำเลยหลังจากจำเลยเสียชีวิตแล้ว แต่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมถึงบ้านเลขที่ 7/1 ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย จึงเป็นการนำยึดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง บ้านเลขที่ 7/1 ย่อมเป็นทรัพย์สินของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กองมรดกของจำเลยหามีสิทธิบังคับชำระหนี้ไม่ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านหลังดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีให้ปล่อยทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องในส่วนนี้