คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยการชำระหนี้ด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากการใช้เงิน และการรับฟังพยานบุคคลในการพิสูจน์การชำระหนี้
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง ใช้บังคับกับกรณีชำระหนี้ด้วยการใช้เงินเท่านั้น การนำสืบว่ามีการชำระเงินโดยยอมให้โจทก์ตักหน้าดินไปขายและนำเงินไปชำระหนี้เงินกู้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตาม ป.พ.พ. 321 วรรคหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าว และการนำสืบพยานบุคคลในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำเลยจึงนำสืบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้เดิม เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้นไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด" เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดบ้างหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงต้องแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น ดังนั้น แม้โจทก์มิได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว หนี้ของโจทก์ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน: การผิดนัดชำระหนี้และการบังคับชำระตามสัญญาซื้อขาย
หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท ได้ระบุวันที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินสัญญาจะใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้ จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน คือในวันที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อถึงกำหนดเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง แม้มาตรา 985 จะบัญญัติให้นำมาตรา 941 ในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้บังคับในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินด้วยก็ตาม แต่ก็ต้องใช้เท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพแห่งตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งตามบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จะต้องนำไปให้ผู้ออกตั๋วจดรับรู้ หรือตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังที่ได้เห็นเท่านั้น ตามมาตรา 986 วรรคสอง เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วที่กำหนดวันใช้เงินชัดแจ้งแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 986 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไปยื่นตามมาตรา 941 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4044/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อหนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้
แม้ตามสัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ธนาคาร ก. ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป และยอมให้ธนาคารเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามแต่ธนาคารจะเห็นสมควรแต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บจากผู้กู้ยืมได้ และตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันจะระบุว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ไว้เช่นกันก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าวนั้น เป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ประกาศเรียกเก็บได้ เมื่อประกาศธนาคาร ก. ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ซึ่งใช้บังคับขณะทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองระหว่างธนาคารกับจำเลย กำหนดให้ธนาคารเรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไปทุกประเภทและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คืออัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี บวกร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 16.50 ต่อปี การที่ธนาคารกำหนดดอกเบี้ยที่จะเรียกจากจำเลยในสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ให้เรียกเก็บกรณีลูกค้าผิดเงื่อนในการผ่อนชำระ โดยจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่จะเรียกเก็บจากลูกค้านับแต่วันทำสัญญาเช่นนี้จึงเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของธนาคาร ก. ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ
แม้ความเป็นจริงธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังทำสัญญาในบางช่วงไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองก็ตาม ก็ไม่อาจทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ตกเป็นโมฆะกลับเป็นข้อตกลงที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ ธนาคาร ก. จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ แต่เนื่องจากหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เมื่อโจทก์รับซื้อและรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากธนาคาร ก. โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
เมื่อข้อสัญญาเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร ก. กับจำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิจากธนาคาร ก. จึงไม่มีสิทธิได้ดอกเบี้ยก่อนผิดนัดและไม่อาจนำเงินที่จำเลยชำระมาแล้วไปหักออกจากดอกเบี้ยที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้จึงต้องนำไปชำระต้นเงินทั้งหมด ส่วนวันผิดนัดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด เห็นว่า จำเลยต้องชำระหนี้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน และตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเดือนตุลาคม 2541 หลังจากนั้นไม่ชำระ ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดเดือนพฤศจิกายน 2541 เป็นต้นไปซึ่งย่อมหมายความว่าจำเลยจะผิดนัดไม่ชำระหนี้ของงวดเดือนพฤศจิกายน 2541 ต่อมาเมื่อพ้นกำหนดวันสิ้นเดือนของเดือนพฤศจิกายน 2541 ไปแล้ว คือตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2541 เป็นต้นไป ซึ่งปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดชอบตรงตามคำฟ้องและตามกฎหมายเพียงใดนั้นเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องต้องระบุรายละเอียดหนี้ให้ชัดเจน หากระบุไม่ชัดเจนถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ป.พ.พ. มาตรา 306 ได้บัญญัติถึงวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องไว้ว่า การโอนหนี้อันจะพึงต้องชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ ซึ่งโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเอกสารหมาย จ.7 เป็นหลักฐานที่อ้างว่าธนาคาร ด. ได้โอนสิทธิเรียกร้องที่ธนาคาร ด. มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์แล้ว แต่อย่างไรก็ตามเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความระบุถึงหนี้ที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องกันไว้แต่เพียงว่า "รายละเอียดของสัญญาสินเชื่อและสัญญาหลักประกันที่ธนาคารได้โอนให้ผู้รับโอน รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะสัญญาและเอกสารดังกล่าวต่อไปนี้" ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่อาจเข้าใจความหมายได้ว่าหมายถึงหนี้สินเชื่อประเภทใดบ้าง เพียงแต่มีข้อความต่อไปว่า "หนังสือสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ฉบับลงวันที่ 3 มีนาคม 2537" มิได้มีข้อความใดกล่าวถึงหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทตามที่โจทก์ฟ้อง จึงไม่อาจแปลความหมายได้ว่า ข้อความดังกล่าวรวมถึงหนี้ตามฟ้องด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด ธนาคารมีลักษณะทดรองจ่ายเงิน
โจทก์ประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ โจทก์ทำสัญญาให้สินเชื่อแก่จำเลยโดยให้จำเลยสมัครเป็นสมาชิก โจทก์เป็นผู้กำหนดวงเงินสินเชื่อซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามดุลพินิจของโจทก์ โจทก์ออกบัตรเครดิตพร้อมกำหนดรหัสประจำตัวให้แก่จำเลยเพื่อสามารถนำไปถอนเงินจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ได้ตามความต้องการของจำเลยภายใต้วงเงินที่โจทก์กำหนดให้ สัญญาดังกล่าวมีกำหนดเวลา 1 ปี โดยโจทก์คิดค่าธรรมเนียมจากจำเลยปีละ 500 บาท หากมีการต่อสัญญาออกไปจำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในอัตราเดียวกันทุกปี การใช้สินเชื่อดังกล่าวจำเลยต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี และต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ภายใน 15 วัน นับจากวันที่โจทก์ออกใบแจ้งยอดบัญชีส่งให้จำเลยในแต่ละเดือน แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ได้ความว่าจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ดังกล่าวไปซื้อสินค้าหรือบริการแทนเงินสดได้โดยตรงก็ตาม แต่ลักษณะที่โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้แก่จำเลยในการถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้ตามความต้องการของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้ควบคุมวงเงินที่จำเลยจะเบิกถอนได้ และคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการดังกล่าวเป็นรายปีจากการที่จำเลยสมัครเป็นสมาชิกของโจทก์เพื่อใช้บริการสินเชื่อในลักษณะนี้ จึงมีลักษณะที่โจทก์ทดรองจ่ายเงินสดให้แก่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกเพื่อให้จำเลยสามารถเบิกเงินสดได้ตามเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไปใช้จ่ายได้ตามความต้องการของจำเลยเองเช่นกัน โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ ให้สมาชิก การที่โจทก์ให้สมาชิกนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติได้แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกในภายหลัง ถือได้ว่าเป็นการเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปก่อน สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) จำเลยใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2542 และต้องชำระเงินให้โจทก์ภายในวันที่ 7 เมษายน 2542 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงตั้งต้นนับแต่นั้น เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2545 พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง
เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กับห้องชุดในอาคารชุดให้ ศ. เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยกับ ศ. เป็นคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้ กับฟ้องคดีแพ่งขอเพิกถอนการฉ้อฉล คดีทั้งสองเรื่องถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินข้างต้นขายทอดตลาดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบถ้วนแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจากการใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำละเมิดโดยตรง
ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริตของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ.
ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน
ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5300/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ - การฟ้องซ้ำภายในอายุความ - ผลของการพิพากษาถึงที่สุด - กรอบเวลา 60 วัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน) ตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 36 งวด เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความห้าปีนับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป และจะครบกำหนดห้าปีในวันที่ 16 ตุลาคม 2560 โจทก์ในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของธนาคารฯ เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันกับคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 ภายในกำหนดอายุความห้าปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้อง โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ฟ้องเข้ามาใหม่ภายในอายุความ และไม่มีคู่ความยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกากับฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคท้าย อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับแก่การฎีกาคดีผู้บริโภคโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 ประกอบ มาตรา 49 วรรคสอง เมื่อคดีถึงที่สุดในวันดังกล่าวอันเป็นวันหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 จึงเป็นการฟ้องเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีก่อนถึงที่สุด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ที่สิ้นผลเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาแก้: ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คดีแพ่งที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท บ. ถูกศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ยกฟ้อง บริษัท บ. ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องชำระแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์เหนือทรัพย์พิพาทที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. นำมาตีใช้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลไปด้วย การที่จำเลยเอาทรัพย์พิพาทไปจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
of 145