คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คดีอาญาแผ่นดิน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ได้มีคำอธิบายความหมายของผู้เสียหายไว้ว่าหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ซึ่งข้อกล่าวหาตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยปกติเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย เอกชนคนหนึ่งคนใดย่อมไม่เป็นผู้เสียหาย ยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้อความในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้นหมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้น หากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบ เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง และเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมเป็นผู้เสียหายได้ โดยที่ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์ไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน เจ้าพนักงานมีอำนาจเรียกเก็บได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวน
ป.รัษฎากร มาตรา 14 บัญญัติว่า ภาษีอากรประเมิน คือที่มีระบุไว้ในหมวดนั้น ๆ ว่าเป็นภาษีอากรประเมิน และมาตรา 15 บัญญัติว่า เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดต่าง ๆ แห่งลักษณะนี้ ให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับแก่การภาษีอากรประเมินทุกประเภท แต่ในหมวด 6 มิได้ระบุว่า อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรประเมินและไม่มีบทบัญญัติว่าไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น อากรแสตมป์จึงไม่ใช่ภาษีอากรประเมิน เจ้าพนักงานจึงมีอำนาจเรียกเก็บค่าอากรแสตมป์ได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อน การที่เจ้าพนักงานเรียกเก็บอากรแสตมป์จากโจทก์โดยมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกเงินเดือนซ้ำซ้อนจากสองหน่วยงานโดยเจตนาทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
หลังจากจำเลยยื่นฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้องและขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จำเลยยื่นคำร้องขอให้การรับสารภาพในชั้นฎีกา แต่ในคำร้องขอให้การรับสารภาพมีข้อความว่า มูลเหตุที่จำเลยกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องจากจำเลยย้ายสถานที่ทำงานใหม่และเป็นหน่วยงานใหม่ จึงเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิเบิกเงินเดือนได้ในที่ทำงานใหม่ และไม่ทราบว่าสามีจำเลยเบิกเงินเดือนของจำเลยจากที่ทำการปกครองจังหวัดขอนแก่นด้วย จึงเท่ากับจำเลยยังปฏิเสธต่อสู้คดีอยู่ และไม่อาจถือว่าการที่จำเลยยื่นคำร้องนี้เป็นการยื่นคำร้องขอถอนฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 202 ประกอบมาตรา 225
พ.ร.ฎ.ระเบียนพนักงานส่วนตำบล พ.ศ.2539 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การโอนข้าราชการ...มาบรรจุเป็นพนักงานส่วนตำบลอาจทำได้ถ้าเจ้าตัวสมัครใจโดยองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะรับโอนทำความตกลงกับ...หรือหน่วยงานต้นสังกัดแล้วรายงานประธาน อ.ก.ท. จังหวัดเพื่อพิจารณาเสนอความเห็นไปยัง ก.ท. เมื่อ ก.ท. อนุมัติแล้ว ให้โอนและบรรจุได้ ทั้งนี้จะบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับใดและจะรับเงินเดือนเท่าใดให้ ก.ท. เป็นผู้พิจารณากำหนด..." แสดงว่าการจะรับโอนบรรจุและแต่งตั้งจำเลยให้ดำรงตำแหน่งใดและรับเงินเดือนเท่าใดในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระต้องให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาง (ก.ท.) เป็นผู้อนุมัติและพิจารณา ดังนี้ เมื่อยังไม่มีหนังสือแจ้งการรับโอนจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาล จำเลยจึงยังคงดำรงตำแหน่งเดิมอยู่ที่ทำการปกครองอำเภอหนองเรือ เพียงแต่ถูกยืมตัวไปปฏิบัติหน้าที่โดยยังไม่ขาดจากต้นสังกัดเดิม
จำเลยมาช่วยราชการที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระ โดยยังไม่ขาดจากตำแหน่งเดิมที่อำเภอหนองเรือ จึงต้องรับเงินเดือนจากต้นสังกัดเดิม กลับตั้งฎีกาเบิกเงินเดือนของจำเลย ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพระอีก อันเป็นการเบิกซ้ำซ้อนรวม 7 เดือน แล้วเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตน การกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รักษาทรัพย์แล้วเบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานตำรวจเรียกรับเงินเพื่อไม่จับกุมการพนันชนไก่ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ได้พบเห็น ส. กับพวกเล่นการพนันชนไก่อันเป็นความผิดอาญา จำเลยมีหน้าที่ต้องทำการจับกุมผู้กระทำความผิด แต่กลับไม่ทำการจับกุมและเรียกรับเงินจำนวน 1,500 บาท จาก ส. เพื่อจะไม่จับกุมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8198/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำ 'ปัดป้อง' ไม่ถึงขั้น 'ต่อสู้ขัดขวาง' เจ้าพนักงาน
การที่สิบตำรวจตรี ส. เบิกความว่า เมื่อวิ่งไล่ตามจำเลยจนทันแล้วจำเลยหันกลับมาใช้มือปัดป้องไม่ยอมให้พยานเข้ามาใกล้ตัว เมื่อพยานเข้าไปกอดและพยานให้จำเลยคว่ำหน้าลง จำเลยล้มลงพร้อมกับพยาน จากนั้นพยานสั่งให้จำเลยนอนอยู่เฉยๆ แล้วพยานใส่กุญแจข้อมือและให้จำเลยลุกขึ้น โดยไม่ปรากฏว่าพยานเบิกความว่าจำเลยใช้เท้าถีบหรือใช้มือผลักอก อันเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายแต่อย่างใดการที่จำเลยปัดป้องไม่ยอมให้สิบตำรวจตรี ส. เข้าใกล้ตัว การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี/ที่ดิน ทำให้ยึดทรัพย์ผิดพลาด โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว แต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น อย่างไรก็ตามคู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ก็ต่อเมื่อเหตุที่คู่ความนำยึดทรัพย์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีพิมพ์หมายเลขที่โฉนดที่ดินที่ขออายัดชั่วคราวและเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง ล้วนมีส่วนทำให้ผู้แทนโจทก์เข้าใจผิดว่าขณะนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43985 นั้น ที่ดินโฉนดดังกล่าวยังเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินแล้วมีเหตุต้องถอนการยึดเพราะที่ดินที่ยึดมิใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เช่นนั้น จึงหาใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ไม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี/ที่ดินทำให้ยึดทรัพย์ผิดพลาด โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายต้องเสียก็ต่อเมื่อเหตุที่คู่ความนำยึดทรัพย์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เมื่อการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิมพ์หมายเลขที่โฉนดที่ดินที่ขออายัดชั่วคราวและเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง ล้วนมีส่วนทำให้ผู้แทนโจทก์เข้าใจผิดว่าขณะนำยึดที่ดินที่ดินยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนั้นการที่ผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินแล้วมีเหตุต้องถอนการยึด จึงมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 154 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีเงินพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินไม่เกินร้อยบาทได้โดยพลัน
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยในประเด็นพยายามฆ่า และพิพากษาฐานทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยใช้ไม้ตีแล้วกอดปล้ำผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแต่งเครื่องแบบตำรวจออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด ไม่ว่าการทำร้ายร่างกายดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดยประการใด ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานตำรวจผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในงานวัด เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: อำนาจจับกุมต้องชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำหลังจับกุมต้องไม่เกินเลยขอบเขต
บ. พบกองไม้กระยาเลยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายอันเป็นไม้ผิดกฎหมายวางกองอยู่ข้างบ้าน ว. และ ว. รับว่ามีไม้หวงห้ามยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจริง การกระทำของ ว. ไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าเพราะไม่ใช่ความผิดที่เห็นกำลังกระทำหรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสด ๆ ไม่เข้าข้อยกเว้นความผิดที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย ป.วิ.อ. หรือเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 80 วรรคสอง (1) (2) ดังนั้น บ. ไม่มีอำนาจที่จะจับ ว. โดยไม่มีหมายจับได้ การที่ ว. ตาม บ. มาที่หน่วยคุ้มครองป่าจึงไม่ใช่เป็นการถูกจับตัวมา แม้ในเวลาต่อมาจำเลยจะขับรถยนต์มาที่หน่วยคุ้มครองป่าและรับ ว. ขึ้นรถยนต์ของจำเลยขับออกจากหน่วยคุ้มครองป่าไป บ. ติดตามจำเลยไปจนทันและเกิดเหตุกระทบกระทั่งกันขึ้นระหว่างจำเลยและ บ. ยังไม่เป็นการที่จำเลยต่อสู้หรือขัดขวาง บ. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 แต่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 189 ฐานช่วยเหลือผู้อื่นให้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเป็นเรื่องนอกฟ้องและโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจึงลงโทษตามมาตรา 189 ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 189 และ 191 เนื่องจากโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยหลังจับกุมก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 ได้ อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
of 148