คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องซ้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,459 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล, ฟ้องซ้ำ, กำหนดระยะเวลาฟ้องคดี: ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด
คำสั่งที่ให้โอนคดีไปยังศาลปกครองอุดรธานีในคดีเดิมเป็นที่สุด ศาลปกครองสูงสุดไม่อาจยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นพิจารณาในคดีดังกล่าวได้อีก และคำสั่งซึ่งเป็นที่สุดในคดีเดิมไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ประกอบกับศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 51 ทั้งการฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและไม่มีเหตุจำเป็นอื่นตามมาตรา 52 วรรคสอง และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองอุดรธานีที่ไม่รับคำฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องในคดีเดิม ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022-2023/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-การพิจารณาใหม่: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้ำ จำเลยต้องได้รับการพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 โดยวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 2728/2559 ของศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ในส่วนของจำเลยที่ 1 แต่กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาลเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำฐานฟอกเงิน: ความผิดต่างกรรมต่างวาระ แม้เกี่ยวเนื่องกับฉ้อโกงประชาชน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันทำธุรกรรมโอนเงิน รับโอนเงิน และถอนเงินผ่านบัญชีธนาคารซึ่งเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฟอกเงิน รูปเรื่องข้อเท็จจริงเป็นการกระทำการภายหลังจากมีการกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าว แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวพันหรือต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน โดยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการแก้ปัญหา เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบอาชญากรรมซึ่งกระทำความผิดกฎหมายบางประเภท ได้นำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้นมากระทำการในรูปแบบต่าง ๆ อันเป็นการฟอกเงิน เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินนั้นไปใช้เป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก ทำให้ยากแก่การปราบปรามการกระทำความผิดกฎหมายเหล่านั้น จึงต้องมีการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรมดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 2 แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนากระทำผิดต่อกฎหมายต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อมีการฟ้องร้องในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีนี้ได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ – สัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง – การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนอกประเด็น
ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในปัญหาข้อนี้ไว้ แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ได้ ไม่ถือเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 837/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองพื้นที่ป่าหลังสึนามิ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และเข้าข่ายบุกรุกป่า
ข้อเท็จจริงตามฟ้องคดีก่อนอาคารของจำเลยมีขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 25 เมตร เป็นเพิงทำด้วยไม้ ส่วนคดีนี้อาคารของจำเลยมีขนาดกว้าง 4.30 เมตร ยาว 21.50 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตก่ออิฐถือปูน เห็นได้ชัดว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ภายหลังเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่แทนอาคารหลังเดิมและเข้ายึดถือครอบครองใหม่โดยเข้าไปก่อสร้างอาคารคอนกรีตในที่เกิดเหตุ จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นใหม่หาใช่เจตนาสืบเนื่องต่อกันมาไม่ และไม่ถือว่ามีเหตุชั่วคราวมาขัดขวางมิให้จำเลยยึดถือที่ดินที่เกิดเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคสอง การกระทำของจำเลยตามฟ้องคดีนี้จึงเป็นคนละคราวกับคดีก่อน ดังนั้น ถึงแม้ในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย ก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเฉพาะความผิดกรรมดังกล่าวเท่านั้น หาได้มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดกรรมอื่น ๆ ระงับไปด้วยไม่ จะถือว่าเป็นเรื่องที่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานบุกรุกเข้ายึดถือครอบครอง ก่อสร้าง แผ้วถางและทำให้เสียหายแก่ที่ดินซึ่งเป็นป่าและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันมิได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-บังคับคดี: คดีเดิมมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้เกี่ยวข้องกับค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม ซึ่งเมื่อโจทก์ได้ยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมจนศาลมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
การที่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจำนวนเดิมกับที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมก่อนคดีในชั้นบังคับคดีนั้นจะถึงที่สุด
และแก้ไขคำฟ้องคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทในคดีเดิมแก่โจทก์เมื่อคดีในชั้นบังคับคดีในคดีเดิมถึงที่สุดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ใช่การยื่นคำร้องหรือคำฟ้องในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่จะเข้าข้อยกเว้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1) แต่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลชั้นต้นในคดีเดิมได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นที่สุดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมแล้ว คำฟ้องโจทก์คดีนี้
จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4726/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สิทธิผู้ซื้อที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมผูกพันตามคดีแบ่งแยกที่ดินเดิม
การที่โจทก์ได้สิทธิความเป็นเจ้าของรวมในที่ดินในฐานะผู้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 10 ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 10 โอนที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 แก่โจทก์ ย่อมหมายความว่า สิทธิในที่ดินของจำเลยที่ 10 มีอยู่ในขณะที่จะขายเป็นต้นไปเพียงใด โจทก์ย่อมรับโอนสิทธิของจำเลยที่ 10 มาเพียงนั้น ซึ่งรวมถึงหน้าที่ของจำเลยที่ 10 ในฐานะเจ้าของรวมที่ต้องจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 10 ครอบครองเป็นส่วนสัดให้แก่จำเลยที่ 1 และเจ้าของรวมคนอื่นตามคำพิพากษาคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 ของศาลชั้นต้นด้วย ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้สืบสิทธิของจำเลยที่ 10 ที่ต้องผูกพันตามผลของคดีดังกล่าว
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในที่ดินส่วนของจำเลยที่ 10 และถือเป็นคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ส.656/2549 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 10 หยิบยกข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 10 มิได้ตกลงยินยอมให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันมากล่าวอ้างในคำฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยทบทวนอีก ย่อมเป็นการซ้ำซ้อนกับข้อวินิจฉัยในคดีดังกล่าว และมีผลให้ขัดแย้งกับกระบวนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วในคดีดังกล่าว เป็นการรื้อร้องฟ้องในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยไปและถึงที่สุดแล้ว คดีโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4623/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-กรรมเดียว: เจตนาสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนทั้งหมด ไม่ใช่แยกสั่งซื้อรายตัว แม้แบ่งซ่อนนำเข้า
ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยว่าจ้าง ร. ส. และ ป. เดินทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อไปรับเมทแอมเฟตามีนจาก ก. ที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อนำไปส่งมอบแก่จำเลยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมิได้ระบุจำนวนเมทแอมเฟตามีน และจำเลยได้มอบเงินค่าเดินทางรวม 4,000 บาท พร้อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 เครื่อง ให้ ป. ไว้เพื่อใช้ร่วมกัน ตามพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาให้ ร. ส. และ ป. เดินทางไปรับมอบเมทแอมเฟตามีนจาก ก. ด้วยกัน อีกทั้งเมทแอมเฟตามีนที่ ก. ส่งมอบให้ ป. บรรจุรวมกันอยู่ในถุงลูกอม 1 ถุง ซึ่งขณะรับมอบ ร. และ ส. ก็อยู่ด้วย หลังจากนั้นจึงพากันเข้าห้องน้ำสาธารณะที่ตลาดในจังหวัดท่าขี้เหล็ก แล้วแบ่งเมทแอมเฟตามีนระหว่างกันเองซุกซ่อนในทวารหนัก ซึ่ง ร. รับไว้ 759 เม็ด ส. รับไว้ 773 เม็ด และ ป. รับไว้ 968 เม็ด โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยสั่งให้แบ่งแยกเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวตามรายตัว ทั้งลักษณะของการแบ่งเมทแอมเฟตามีนก็เป็นเศษจำนวน เชื่อว่าเป็นการตกลงแบ่งกันเองตามกำลังความสามารถของแต่ละคนที่จะซุกซ่อนในทวารหนักได้ อันเป็นการกระทำเพื่อความสะดวกในการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งหาก ร. ส. และ ป. ร่วมกันนำเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่แบ่งแยกจำนวน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว ดังนั้น การแบ่งแยกเมทแอมเฟตามีนในระหว่างกันเองของ ร. ส. และ ป. เพื่อความสะดวกในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรพร้อมกันเช่นนี้ ย่อมไม่มีผลทำให้การกระทำของจำเลยกลายเป็นความผิดหลายกรรมไปได้ เพราะเจตนาหลักของจำเลยเพียงประสงค์จะได้เมทแอมเฟตามีนทั้งหมดมาไว้ในครอบครองคราวเดียวกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงวิธีการที่ ร. กับพวก จะลักลอบนำเข้ามาแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดเพียงกรรมเดียว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกระทำความผิดกับ ป. ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 735/2560 ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3390/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งอ้างเหตุฉ้อโกงที่ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องแล้ว ถือเป็นการรื้อฟ้องประเด็นเดิมที่เคยวินิจฉัยแล้ว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสบคบกันหลอกลวงโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเสนอขายฝากโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาขายฝากในราคา 1,500,000 บาท แต่จำเลยทั้งสองกลับทำสัญญาและจดทะเบียนขายฝากในราคาเพียง 500,000 บาท แล้วหลอกลวงโจทก์ว่าทำสัญญาและจดทะเบียนขายฝากในราคา 1,500,000 บาท โจทก์หลงเชื่อมอบเงินให้จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท โจทก์ร้องทุกข์ดำเนินคดีจำเลยทั้งสองในความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสองและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกง โจทก์เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา ต่อมาคดีอาญาดังกล่าวศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีข้อสงสัยตามสมควรว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดจริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยทั้งสองและพิพากษายกฟ้อง เท่ากับว่าได้มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้ศาลเห็นว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดตามฟ้อง และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งซึ่งศาลต้องถือข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงเท่ากับยกฟ้องคดีในส่วนแพ่งไปแล้วด้วย ข้อเท็จจริงในคดีอาญานั้นจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้กล่าวอ้างถึงคดีอาญาดังกล่าวไว้ชัดเจน และขอติดตามเอาทรัพย์คืน 1,000,000 บาท ปัญหาว่าจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 1,000,000 บาท ไปจากโจทก์หรือไม่ จึงเป็นประเด็นเดียวกับคดีอาญาดังกล่าว ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ความผิดพยายามฆ่าและอาวุธปืนแยกกระทงได้ ไม่ถือว่าฟ้องซ้ำ
สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยให้การรับสารภาพและไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จำเลยก็ชอบที่ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 จำเลยฎีกาแต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 194 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นกับความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต เป็นความผิดคนละประเภทกันและยังเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมกันโดยอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ทั้งยังเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับซึ่งมีองค์ประกอบแห่งความผิดแตกต่างกันและเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวทั้งเจตนาในการกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกันสามารถแยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ แม้จำเลยกระทำความผิดทั้งสองฐานโดยมีเจตนาเพื่อฆ่าผู้อื่น การกระทำของจำเลยก็เป็นคนละกรรม ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 มิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน โจทก์ย่อมมีอำนาจแยกฟ้องจำเลยเป็นคนละคดีได้ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยและศาลพิพากษาลงโทษ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ไปแล้ว คดีย่อมเสร็จเด็ดขาดเฉพาะกระทงความผิด ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เท่านั้น ส่วนกระทงความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นยังหาได้มีการวินิจฉัยในเนื้อหาความผิดแต่อย่างใด จะถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานนี้แล้วไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเป็นคดีนี้ได้อีก ไม่เป็นฟ้องซ้ำ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
of 146