พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8342/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากผู้ชำระบัญชีที่ไม่แจ้งการเลิกบริษัทแก่เจ้าหนี้ คดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท พ. มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องที่บริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเลิกบริษัทให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัททราบเพื่อโจทก์จะได้ยื่นทวงหนี้แก่จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชี แต่จำเลยกลับละเลยไม่แจ้งเรื่องดังกล่าวให้โจทก์ทราบการกระทำของจำเลยเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินเท่ากับจำนวนที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัท พ. คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด มิใช่ฟ้องให้รับผิดในฐานะผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิด จึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานมูลหนี้ในคดีล้มละลายก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มิใช่พึ่งเอกสารในสำนวนศาล
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจสอบเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีตามที่เจ้าหนี้กล่าวอ้างแต่ประการใด
เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องใด ๆ ให้ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดระยองโดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้สิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องใด ๆ ให้ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดระยองโดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้สิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานจริงในชั้นสอบสวน แม้เป็นมูลหนี้ที่ฟ้องแล้ว
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าหนี้ทั้งหลาย มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าหนี้ที่สวมสิทธิโดยผลของกฎหมายมีสิทธิได้รับแจ้งกำหนดวันขายทอดตลาด
เมื่อโจทก์ขอหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับคดีจำเลยแล้ว ผู้ร้องที่ 1 ก็ได้รับซื้อสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 หลังจากนั้นผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แทนโจทก์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ผู้ร้องที่ 1 ย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 แม้ผู้ร้องที่ 1 จะไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิต่อศาลชั้นต้น แต่ก็ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการบังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบถึงสิทธิของผู้ร้องแล้วก่อนวันขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยโดยได้แจ้งกำหนดวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบแต่ไม่แจ้งแก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ จึงเป็นการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และศาลชอบที่จะต้องมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวและให้ขายทอดตลาดใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7342/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งกำหนดนัดขายทอดตลาดให้ผู้มีส่วนได้เสียที่สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมาย แม้ยังไม่มีคำสั่งศาล
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ในการโอนสินทรัพย์ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องร้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีในศาล ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน...และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องแล้ว ก็ให้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น" ดังนั้น เมื่อผู้ร้องที่ 1 ได้รับโอนสินทรัพย์มาจากโจทก์แล้ว ผู้ร้องที่ 1 ย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาโดยผลของกฎหมาย แม้ผู้ร้องที่ 1 จะไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิต่อศาลชั้นต้น แต่ก็ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อได้รับคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น เมื่อผู้ร้องที่ 1 รับซื้อสินทรัพย์มาแล้ว การขายทอดตลาดได้ราคาต่ำหรือสูงย่อมมีผลต่อการได้รับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นสิทธิโดยชอบที่ผู้ร้องที่ 1 จะเข้ามาดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองในวันขายทอดตลาด ถือว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 แล้วก่อนวันขายทอดตลาดจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทุกคนรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ หาจำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิหรือมีคำสั่งศาลแจ้งมาเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้แจ้งแก่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียจากทางทะเบียนหรือโดยประการอื่น กรณีไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องแจ้งกำหนดวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จึงชอบที่ศาลจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว และให้ขายทอดตลาดใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อได้รับคำสั่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้ทราบซึ่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียนหรือโดยประการอื่น เมื่อผู้ร้องที่ 1 รับซื้อสินทรัพย์มาแล้ว การขายทอดตลาดได้ราคาต่ำหรือสูงย่อมมีผลต่อการได้รับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นสิทธิโดยชอบที่ผู้ร้องที่ 1 จะเข้ามาดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเองในวันขายทอดตลาด ถือว่าผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทราบถึงสิทธิของผู้ร้องที่ 1 แล้วก่อนวันขายทอดตลาดจึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งผู้มีส่วนได้เสียทุกคนรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ หาจำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สวมสิทธิหรือมีคำสั่งศาลแจ้งมาเสียก่อนไม่ เพราะกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้แจ้งแก่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะทราบสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียจากทางทะเบียนหรือโดยประการอื่น กรณีไม่มีข้อยกเว้นตามกฎหมายไม่ต้องแจ้งกำหนดวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องที่ 1 ทราบ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งวันนัดขายทอดตลาดแก่ผู้ร้องทั้งสองผู้ร้องทั้งสองย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินทั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามคำร้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง จึงชอบที่ศาลจะต้องมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว และให้ขายทอดตลาดใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6956/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีเสร็จสมบูรณ์เมื่อเจ้าหนี้ได้รับเงิน การยื่นคำร้องเพิกถอนหลังจากการบังคับคดีเสร็จสิ้นจึงไม่มีสิทธิ
จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับเงินค่าขายทรัพย์พิพาทไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2548 ต้องถือว่าการบังคับคดีสำหรับทรัพย์สินพิพาทได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองและวรรคสาม การที่โจทก์มายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันที่ 14 มีนาคม 2548 เป็นการยื่นภายหลังจากการบังคับคดีได้เสร็จลง โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองแยกต่างหากจากค้ำประกัน เจ้าหนี้ไม่อาจยึดทรัพย์สินจำนองเพื่อหนี้ค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกันเป็นบุคคลสิทธิซึ่งจำเลยเจ้าหนี้มีสิทธิบังคับเอาแก่โจทก์ผู้ค้ำประกันเมื่อ ป. ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของโจทก์ผู้ค้ำประกันก่อนเจ้าหนี้อื่น แตกต่างไปจากสิทธิตามสัญญาจำนองที่ทำขึ้นเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่ได้ทำขึ้นในภายหลังและไม่ได้มีข้อความระบุว่าต้องให้โจทก์รับผิดรวมไปถึงความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันด้วย ประกอบกับโจทก์กู้เงินจำเลยเพื่อนำไปซื้อห้องชุดพิพาทแล้วนำมาจำนองไว้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาจดทะเบียนจำนองห้องชุดพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ของโจทก์ที่มีแก่จำเลยเท่านั้น ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง นอกจากนี้ขณะที่โจทก์ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินให้แก่จำเลยครบถ้วน จำเลยยังไม่ได้ฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ความรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาค้ำประกันจึงยังไม่เกิดขึ้น เมื่อหนี้เงินกู้ของโจทก์อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปและโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนโดยอ้างว่าโจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันอยู่อีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 487/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเป็นผู้มีสิทธิร้องขอ
แม้ที่ดินพิพาทที่ถูกยึดไว้ในคดีนี้มีชื่อ ม. ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง และโจทก์ในคดีนี้ได้ยึดไว้ทั้งแปลงอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ ม. ได้มาในระหว่างสมรส อันเป็นสินสมรสระหว่าง ม. กับลูกหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดในหนี้แม้ได้รับมรดก: สิทธิเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้เต็มจำนวน
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีในคดีแพ่งซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาแล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) กับพวกในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้น ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในคดีนี้ แม้คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวลูกหนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตาย ต้องร่วมรับผิดแก่เจ้าหนี้ในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ลูกหนี้ด้วยก็ตาม ลูกหนี้ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดส่วนตนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้ค้ำประกันคนอื่นและบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มตามยอดหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ค้างชำระมิใช่จำกัดเพียงจำนวนไม่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกแก่ลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ผู้รับโอนไม่รู้
จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ก่อนที่จำเลยทั้งสองจดทะเบียนหย่ากันและบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินตามทะเบียนการหย่าระบุว่า ที่ดินพร้อมบ้านและทรัพย์สินทุกอย่างในบ้านยกให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนขายที่ดินและบ้านเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 รับว่า จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 พนักงานที่ดินกำหนดราคา 200,000 บาท แต่ความจริงไม่ได้มีการชำระเงินกัน แสดงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวระหว่างจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตและข้อตกลงระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการให้โดยเสน่หามิใช่ซื้อขาย ดังนั้น เมื่อกรณีเป็นการให้โดยเสน่หาเพียงแต่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้เป็นผู้รู้ว่าตนเป็นหนี้โจทก์ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนการฉ้อฉลได้ โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์แต่อย่างใดตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย