พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการและการรับคำขอรับชำระหนี้ แม้พ้นกำหนด หากลูกหนี้จงใจปกปิดข้อมูลเจ้าหนี้
การที่ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการโดยมิได้แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมกับคำร้องขอ ทั้งๆ ที่ได้ปรากฏชื่อเจ้าหนี้ตามเอกสารต่างๆ ของลูกหนี้ที่ทำไว้เป็นหลักฐานสำคัญในการประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดินของลูกหนี้ พฤติการณ์แห่งคดีส่อเจตนาของลูกหนี้ว่าจงใจไม่แสดงรายชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้มาพร้อมคำร้องขอตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/6 วรรคสี่ อันเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะทำให้ศาลล้มละลายกลางไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มาก่อนหน้านี้ กรณีนับว่ามีเหตุตามกฎหมายให้รับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจาณาแม้จะได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/26 แล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายหลังยกเลิกคดีล้มละลายเดิม แม้ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
การยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละบาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) มีผลตามมาตรา 136 แต่ไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สิน โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ดังกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้หรือไม่ มีผลให้โจทก์ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้นยังคงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามสิทธิที่โจทก์มีอยู่ต่อไปเหมือนดังก่อนที่มีการฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลาย แม้มีการยกเลิกการล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิฟ้องได้ หากลูกหนี้ยังคงค้างหนี้
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 (2) มีผลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 136 แต่ก็หาทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินแต่อย่างใดไม่ ทั้งไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ดังกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้หรือไม่ มีผลให้โจทก์ซึ่งไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ตามสิทธิที่มีอยู่ต่อไปเหมือนดังก่อนที่มีการฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์จึงมีสิทธินำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่จำเลยค้างชำระมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9075/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้เป็นการบังคับคดีโดยบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยขอให้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ซึ่งเป็นการร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 แม้จะถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนองซึ่งผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ค) (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการฟ้องบังคับจำนองโดยวิธีทั่วไป เพราะทรัพย์จำนองดังกล่าวได้ถูกโจทก์ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ไว้แล้ว และแม้โจทก์กับผู้ร้องจะเป็นบุคคลคนเดียวกัน แต่การที่ผู้ร้องร้องขอรับชำระหนี้จำนอง เป็นการร้องขอเข้ามาตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้ในฐานะที่แตกต่างกัน เมื่อผู้ร้องมิได้ขอให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ผู้ร้องจึงไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ที่รับโอนสิทธิไม่ต้องยื่นคำร้องสวมสิทธิก่อน
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น... ก็เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องมาสามารถบังคับคดีในคดีแพ่งในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ได้ หาจำต้องยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากค่าชดเชยแรงงาน: เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดเงินส่วนของคู่สมรส
เงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีของศาลแรงงานกลางนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนนั้นเป็นเงินค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าชดเชยและค่าเสียหายตามสิทธิที่ผู้ร้องพึงได้ตามกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่ผู้ร้องผู้เป็นลูกจ้าง แม้ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องของตนมาฟ้องนายจ้าง แต่เมื่อผู้ร้องชนะคดีจนได้เงินดังกล่าวมาก็เป็นการได้มาระหว่างสมรส เงินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) จำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สมรสของผู้ร้องจึงมีสิทธิในเงินดังกล่าวกึ่งหนึ่ง แม้ว่าในคดีของศาลแรงงานกลางนั้นผู้ร้องมิได้แถลงเพื่อยินยอมให้เงินดังกล่าวเป็นสินสมรส ก็หามีผลแต่อย่างใดไม่ เนื่องจากทรัพย์สินใดเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาหรือไม่นั้นเป็นไปโดยผลของกฎหมาย หาใช่เป็นเพราะความยินยอมของผู้ร้องไม่ เมื่อเงินดังกล่าวเป็นสินสมรสและตกเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตามกฎหมายแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิขออายัดเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนการอายัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ข้อโต้แย้งการเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ดี การพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งของคู่ความโดยคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ดีเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าการขายทอดตลอดของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมทั้งคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ขัอต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยได้
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
โจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด โจทก์จึงไม่ได้เป็นผู้ขายซึ่งต้องห้ามมิให้เข้าสู้ราคาตาม ป.พ.พ. มาตรา 512
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
เหตุที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ก็เนื่องจากผู้ร้องอ้างว่าได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสมรส แม้หย่าแล้วเจ้าหนี้ยังบังคับคดีได้
สัญญากู้ยืมเงินเป็นหนี้ที่จำเลยซึ่งเป็นภริยาผู้ร้องก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส และเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ ถือได้ว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างผู้ร้องและจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) แม้ภายหลังจำเลยกับผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่าและแบ่งสินสมรสกันก็ไม่กระทบสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะดำเนินการบังคับคดีแก่เงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้อง โจทก์จึงมีสิทธิอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของผู้ร้องเพื่อนำมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดียึดทรัพย์หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผู้ร้องมีสิทธิก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาจะซื้อจะขาย และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนตามคำพิพากษาได้อยู่ก่อนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดชำระหนี้อันเป็นการกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 การที่ผู้ร้องยังไม่ชำระเงินตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยมีผลเพียงทำให้ผู้ร้องยังไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตอบแทนเท่านั้น ไม่มีผลให้สิทธิของผู้ร้องที่จะเรียกให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหมดไป