คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,471 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานแจ้งข้อความเท็จ-ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ-แจ้งความเท็จ กรณีประกวดราคาอาหารกลางวัน ศาลฎีกาแก้โทษรอการลงโทษ
หนังสือบอกเลิกสัญญาผู้จ้างเหมาประกอบอาหารกลางวันศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จำเลยที่ 1 ทำและแจ้งไปยังโจทก์ที่ 1 ที่ 2 มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อบอกเลิกสัญญา ส่วนหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้มีคำสั่งว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ทิ้งงานก็เป็นหนังสือที่จำเลยที่ 1 ได้ทำขึ้นเพื่อรายงานเรื่องการทิ้งงานต่อผู้มีอำนาจสั่งการไปตามขั้นตอน ไม่ใช่เอกสารที่ทำขึ้นเพื่อรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 162 (4) แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4789/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมโดยมิชอบและการเรียกรับเงินจากผู้ถูกจับกุม ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 และ 157
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 จะต้องได้ความว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ส. โดยชอบ กล่าวคือ จับกุมขณะ ส. กำลังเล่นการพนัน แล้วหลังจากนั้นจึงเรียกรับเงินจาก ส. เพื่อที่จะไม่ดำเนินคดี เมื่อจำเลยกับพวกไม่พบการเล่นการพนันไฮโลในที่เกิดเหตุ การจับกุม ส. จึงเป็นการจับกุมโดยมิชอบ แม้จะมีการเรียกรับเงินจาก ส. การกระทำของจำเลยกับพวกก็ไม่อาจเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 ได้ คงเป็นความผิดตามมาตรา 148 แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องขอลงโทษในความผิดฐานดังกล่าว จึงไม่อาจลงโทษจำเลยได้เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 กับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง คงลงโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทความผิดทั่วไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4594/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ต้องข่มขืนใจหรือจูงใจบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ร่วมกระทำความผิด
ป.อ. มาตรา 148 บัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น..." นั้น การข่มขืนใจหรือจูงใจต้องเป็นการกระทำต่อบุคคลอื่นมิใช่ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน เมื่อ ธ. เป็นผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจําเลย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจหรือจูงใจบุคคลอื่นเพื่อให้มอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจําเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3583/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฟอกเงินของเจ้าพนักงาน กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และฐานส่วนตัว โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน
จำเลยเป็นเจ้าอาวาสวัด ล. ซึ่งตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 บัญญัติให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความใน ป.อ. เมื่อจำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ล. ร่วมกับ น. เบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินโดยทุจริต และร่วมกระทำความผิดฐานฟอกเงิน จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการกระทำความผิด อันเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามความในมาตรา 5 (1) (2) และมาตรา 9 ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จำเลยจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ทั้งนี้ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: แม้ไม่ใช่พนักงานสอบสวนโดยตรง แต่การช่วยปฏิบัติหน้าที่ก็เข้าข่ายความผิดฐานดูหมิ่นได้
แม้โจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ตำแหน่งรองสารวัตรจราจร ไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำการเป็นการเฉพาะตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 38 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำเองเป็นการเฉพาะตัวไปเสียทั้งหมด ดังจะเห็นได้จาก ป.วิ.อ. มาตรา 128 (1) และ (2) ได้บัญญัติให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะร้องขอหรือสั่งให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทนตนได้บ้าง เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมช่วยร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบโดยนั่งเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับให้แก่ผู้ต้องหากระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบกตามที่ตั้งด่านกวดขันวินัยจราจร และผู้ต้องหายินยอมชำระค่าปรับตามที่ร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว อยู่บนโต๊ะใกล้ ๆ กับร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน ถือได้ว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวนซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของร้อยตำรวจโทหญิง ส. พนักงานสอบสวน และมิได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดเจาะจงให้พนักงานสอบสวนต้องเขียนใบเสร็จรับเงินชำระค่าปรับด้วยตนเอง การกระทำของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตามที่พนักงานสอบสวนได้มอบหมายให้กระทำ และข้อความที่จำเลยลงในเฟซบุ๊กของจำเลยซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะว่า โจทก์ร่วมปิดหน้าปิดตายังกะโจร เป็นข้อความที่กล่าวสบประมาทโจทก์ร่วมขณะปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ - การเบิกจ่ายเงินโดยไม่มีโครงการ - การรอการลงโทษ
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ มีหน้าที่กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการองค์การบริหารส่วนตำบล วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลตาม มาตรา 59 และมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ไม่ได้มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความในเอกสาร แม้จำเลยที่ 1 อนุมัติให้เบิกจ่ายเงินหมวดลูกหนี้เงินยืมงบประมาณประเภทรายจ่ายเกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการ ที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น ๆ อนุมัติให้ยืมเงินตามสัญญาการยืมเงิน และอนุมัติให้จ่ายเงินตามฎีกาเบิกเงินในโครงการโดยไม่มีการดำเนินการโครงการดังกล่าว ก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 162 (1) และ (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ในเคหสถานโดยแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาแก้เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และทำร้ายร่างกาย
ตามมาตรา 1 (1) แห่ง ป.อ. กำหนดบทนิยามคำว่า "โดยทุจริต" หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำโดยทุจริตจึงมิได้จำกัดว่าต้องเป็นการแสวงหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไปเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมมีหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดของตนหรือเป็นการเอาไปเพื่อทำลายหลักฐาน จึงเป็นการเอาทรัพย์นั้นไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ และถือว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองอันเป็นการลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริตแล้ว
การที่จำเลยทั้งสามไปที่ร้านที่เกิดเหตุโดยอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขอตรวจค้นและใส่กุญแจมือโจทก์ร่วมไพล่หลังมิได้กระทำเพื่อเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 339 (1) ถึง (5) ในการที่จะเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไป แต่เป็นการทำเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมขัดขืนหรือหลบหนี ดังนั้น การลักเอาฮาร์ดดิสก์ของโจทก์ร่วมไปจึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นในภายหลัง การใช้กำลังประทุษร้ายโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่เป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้นยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือให้พ้นจากการจับกุม อันจะเป็นความผิดข้อหาร่วมกันปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืน แต่เป็นเพียงความผิดข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานในเวลากลางคืนโดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงานและโดยมีหรือใช้อาวุธปืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเบียดบังทรัพย์โดยเจ้าพนักงาน, รับของโจร, การใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่, และการกำหนดราคาค่าเสียหาย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาพระพุทธรูปดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ จำเลยที่ 2 จึงต้องคืนพระพุทธรูปดังกล่าวแก่วัดผู้เสียหาย หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคา ส่วนของการใช้ราคานั้น ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคสอง บัญญัติว่า "ราคาทรัพย์สินที่สั่งให้จำเลยใช้แก่ผู้เสียหาย ให้ศาลกำหนดตามราคาอันแท้จริง..." คดีนี้โจทก์คงมีแต่บันทึกคำให้การของ ป. ผู้กล่าวโทษว่า พระพุทธรูปปางมารวิชัย 2 องค์ ราคาประมาณ องค์ละ 1,500,000 บาท และบันทึกคำให้การของ ว. ว่า พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีมูลค่าประมาณ 5,000,000 บาท มาใช้เป็นข้อมูลและหลักในการกำหนดราคาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ เท่านั้น ป. และ ว. เป็นราษฎรในท้องที่เกิดเหตุ ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตีราคาพระพุทธรูปหรือเป็นผู้ทำการงานหรือผู้ประกอบการในการซื้อขายพระพุทธรูป ราคาหรือมูลค่าพระพุทธรูปที่กล่าวถึงเป็นเพียงการกะประมาณตามความรู้สึก อีกทั้งพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ เป็นวัตถุโบราณ ราคาหรือมูลค่าจึงมากบ้างน้อยบ้างเป็นไปตามใจของแต่ละคนที่ได้เกี่ยวข้องพบเห็น ยังไม่แน่นอน ไม่ปรากฏพยานหลักฐานอื่นในสำนวนที่พอจะกำหนดราคาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ให้แน่นอนได้ ศาลจึงไม่อาจกำหนดราคาอันแท้จริงของพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ที่ต้องใช้คืนได้ ศาลฎีกาจึงไม่กำหนดให้ใช้ราคาพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3299/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินที่ได้จากโครงการที่เกิดจากการกระทำความผิดมูลฐาน แม้ผู้กระทำผิดถูกฟ้องในความผิดอื่น ก็สามารถบังคับตามกฎหมายป้องกันฟอกเงินได้
ข้อเท็จจริงตามทางวินิจฉัยของศาลแขวงดุสิตปรากฏชัดแจ้งว่า กลุ่มจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นเอกชน ได้ร่วมกับเจ้าพนักงานรัฐกระทำการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 151 และมาตรา 157 แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 มิได้เป็นเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดได้เพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดของเจ้าพนักงาน เพียงแต่กรมควบคุมมลพิษโจทก์ในคดีดังกล่าวเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นคดีฉ้อโกงที่มีโทษต่ำกว่า ทั้งยังเป็นคดียอมความได้ เช่นนี้เมื่อการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 19 เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (5) แม้โจทก์จะเลือกแยกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 19 ที่เป็นเอกชนในฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความผิดมูลฐานที่มีการกระทำเกิดขึ้น ก็หาเป็นเหตุเปลี่ยนแปลงการกระทำความผิดมูลฐานให้แปรเปลี่ยนไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2936/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน และฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้ากับพวกร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือได้กระทำการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296 แล้ว หาจำต้องบรรยายฟ้องว่า ผู้กระทำความผิดได้รู้หรือไม่ว่าผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำตามหน้าที่ เนื่องจากไม่ใช่องค์ประกอบความผิดฐานดังกล่าวหากแต่เป็นข้อเท็จจริงที่อาจทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคสาม เท่านั้น
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 148