พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขาย: ผลผูกพันต่อลูกหนี้เดิม แม้เจ้าหนี้เดิมชำระหนี้แล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ส. กับจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือจำเลยมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลย ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลย แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. ได้ชำระหนี้ในส่วนของตนให้แก่จำเลยเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่ ส. จะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ส. กับโจทก์จึงเป็นการโอนเฉพาะสิทธิเรียกร้องในฐานะเป็นเจ้าหนี้เพียงอย่างเดียว การโอนในลักษณะดังกล่าวนี้เมื่อได้ทำเป็นหนังสือและได้บอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว ก็ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5386/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินหลังชำระหนี้: โจทก์หมดอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ให้จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกชำระหนี้ให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกไม่ชำระ โจทก์จึงขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดี ระหว่างการบังคับคดีจำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ในคดีนี้กับพวกได้ชำระหนี้ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 352/2542 ของศาลชั้นต้นจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์แล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่ถูกจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และคดีนี้โจทก์ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่เพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ค้ำประกันหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: มูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 มีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์และที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารที่สถานีรถไฟเชียงใหม่และลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาเช่ากับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเช่นนี้ มูลแห่งหนี้ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ต้องรับผิดจึงเกิดก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด และเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ชั้นต้นมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 จึงเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 101 และเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในเวลาที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อปรากฏว่าก่อนขอหักกลบลบหนี้ ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ใช้หนี้ให้แก่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 จึงสามารถนำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาหักกับหนี้เงินฝากตามสัญญาฝากทรัพย์ระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้
ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในคดีแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ มีเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 5 ว่า ให้ลูกหนี้ไปดำเนินการให้เจ้าหนี้อื่นยอมรับหลักเกณฑ์ในการรับชำระหนี้และทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในแนวทางเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ต่อมาลูกหนี้ได้ถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องเป็นคดีล้มละลาย และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นคดีนี้ กรณีจึงต้องด้วยเงื่อนไขตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 8 แล้วว่า หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ข้อใดข้อหนึ่งหรืองวดใดงวดหนึ่ง... หรือศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ข้อตกลงอื่นเป็นอันยกเลิก และลูกหนี้ยินยอมชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เต็มจำนวน ดังนี้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัด เจ้าหนี้มีสิทธินำหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3791/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้แจ้งงดบังคับคดีโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม
การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองครั้งที่ 9 ในวันที่ 7 สิงหาคม 2545 ไว้ก่อนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับเป็นกรณีที่โจทก์ของดการบังคับคดีไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (3)(เดิม) ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับคำแถลงของโจทก์ดังกล่าวแล้วมีคำสั่งให้ยกคำแถลงดังกล่าวโดยไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ จากนั้นดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองต่อไป ถือว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับการขยายเวลาเกิน 2 เดือน
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปเกินกว่ากำหนดเวลา 2 เดือน จะมีได้ก็แต่กรณีที่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นบัตรเงินฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป เจ้าหนี้เดิมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร ม. เป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ ว. โดยลูกหนี้สัญญากับธนาคาร ม. ว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ม. ต่อมาธนาคาร ม. ได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ ว. หลังจากนั้นธนาคาร ม. และลูกหนี้ได้ตกลงกันให้ธนาคารเจ้าหนี้เข้ามารับผิดชอบชำระหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแทนลูกหนี้ โดยออกบัตรเงินฝากให้แก่ธนาคาร ม. เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลให้มูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง ธนาคาร ม. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ในฐานะเป็นผู้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคาร ม. จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกการครอบครองที่ดินร่วมก่อนบังคับคดี เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะส่วนของลูกหนี้
ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยและผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่ผู้ร้องและจำเลยได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนมีการบังคับคดีแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญมีสิทธิบังคับคดีได้เท่าที่จำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิขอให้กันที่ดินพิพาทส่วนที่ผู้ร้องครอบครองก่อนนำที่ดินทั้งแปลงออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้ยังมิได้ฟ้องบังคับจำนอง หรือมีจดหมายบอกกล่าว
ผู้รับจำนองมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้รายอื่นๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 โดยหาจำต้องฟ้องร้องขอบังคับจำนองก่อนหรือต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอยู่แล้วไม่เพราะกฎหมายมิได้มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองดังกล่าว และการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ก็มิใช่การฟ้องบังคับจำนองโดยตรง ผู้รับจำนองจึงไม่ต้องมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ดังนั้น ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองในทรัพย์จำนองที่มีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายอื่นยึดไว้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณียึดทรัพย์บุคคลภายนอกในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องรับผิดจากความประมาท
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการรวบรวม จัดการ และจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) หาได้รวมถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่มิได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ด้วยไม่ การที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทที่มิใช่ของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 และมีบุคคลภายนอกร้องคัดค้านการยึดจนในที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ปล่อยโรงงานพิพาทคืนแก่บุคคลภายนอก เช่นนี้ ตามพฤติการณ์และวิสัยของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองย่อมจะต้องรู้อยู่แล้วว่าโรงงานพิพาทมิใช่เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 แม้ผู้ร้องอ้างว่าเป็นความสำศัญผิดของผู้ร้องก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง ส่วนผู้คัดค้านเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ของรัฐ เมื่อไม่มีพฤติการณ์ใดแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ก็ย่อมเข้าใจว่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดินแปลงนั้น กรณีไม่อาจถือได้ว่าการยึดโรงงานพิพาทบนที่ดินจำนองหลักประกันของผู้ร้องเป็นความผิดของผู้คัดค้านผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ดำเนินการขอให้ผู้คัดค้านยึดโรงงานพิพาทเพื่อประโยชน์ของผู้ร้องฝ่ายเดียวจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย