คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินลูกหนี้ให้บุตรโดยเสน่หา เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ของโจทก์ จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ดังนั้น จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบหรือไม่ว่าการทำนิติกรรมพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่า ได้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ทำนองว่าเป็นนิติกรรมที่มีค่าตอบแทนนั้น ก็เป็นการนำสืบที่ขัดกับเอกสารซึ่งระบุชัดเจนว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่อาจรับฟังได้
ขณะที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินตามฟ้องให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก เมื่อจำเลยที่ 1 มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องแต่เพียงอย่างเดียวและเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาสองแสนบาทเศษ และยังไม่ชำระให้โจทก์แต่กลับโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่มีทางบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้เป็นทางที่ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินเพียงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องเท่านั้น ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก และโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จึงเป็นการทำนิติกรรมการโอนทั้ง ๆ รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีล้มละลาย และสิทธิเจ้าหนี้มีประกัน
ลูกหนี้ทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งตั้งแต่งวดแรกวันที่ 8 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาตามยอมได้นับแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2537 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2547 จึงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้แล้ว ทั้งการที่เจ้าหนี้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี และลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาลดยอดหนี้เพื่อขอไถ่ถอนจำนองนั้น ก็มิใช่เป็นการกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีหรือเป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ (5) ดังนั้น มูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงขาดอายุความและถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 (1)
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 96 (3) แม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังคงมีทรัพยสิทธิบังคับชำระหนี้จากราคาทรัพย์จำนองของลูกหนี้ที่ 1 ภายในวงเงินจำนอง แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดเกินกว่าห้าปีไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 ประกอบมาตรา 745

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. สิทธิขอส่วนแบ่ง
เมื่อทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นสินสมรส อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดและขายทอดตลาดได้ทั้งแปลง ผู้ร้องคงมีสิทธิขอกันส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเท่านั้น จึงไม่สมควรมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้อง โดยให้ระงับการขายทอดตลาดทรัพย์ไว้ในระหว่างการอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: กรณีภาระจำยอมและสัญญาเช่า ไม่ใช่เจ้าหนี้จึงฟ้องไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ..." อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้จึงเป็นอำนาจของเจ้าหนี้ แต่ตามข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในคำฟ้องนั้น โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามบทบัญญัติมาตรา 237 ดังกล่าวได้ แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้น ได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำกัดเฉพาะเจ้าหนี้ ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินต้องใช้สิทธิทางภาระจำยอม
อำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ โจทก์ที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ภาระจำยอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องของทรัพยสิทธิ โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภาระจำยอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้นได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยสินค้าผิดยี่ห้อ, ความประมาทเลินเล่อของผู้รับมอบสินค้า, และการแบ่งความรับผิดชอบของเจ้าหนี้
การที่จำเลยทำสัญญาขายอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อหนึ่งให้แก่โจทก์ จำเลยก็ต้องส่งมอบสินค้ายี่ห้อนั้น จะส่งมอบสินค้ายี่ห้ออื่นไม่ได้ แม้สินค้านั้นจะมีคุณสมบัติการใช้งานเหมือนกันก็ตาม เมื่อจำเลยส่งมอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนยี่ห้อซึ่งมิใช่ยี่ห้อที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ แต่การที่ ว. พนักงานโจทก์ผู้ตรวจรับมอบสินค้าจากจำเลยตรวจสอบเฉพาะรุ่นของสินค้าและจำนวนเท่านั้น โดยมิได้ตรวจสินค้าให้รอบคอบก่อนว่าเป็นยี่ห้อตรงตามสัญญาซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของ ว. พนักงานโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความประมาทเลินเล่อของ ว. ตัวแทนของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคสอง ประกอบมาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10481/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกลงทะเบียนบุริมสิทธิอาคารชุด และสิทธิการเฉลี่ยหนี้ ต้องกระทำตามกฎหมายก่อนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยในมูลหนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดจะอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเหนือห้องชุดที่พิพาทของจำเลยตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 41 อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิเหนือห้องชุดที่พิพาทในการที่จะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ก็ตาม แต่ผู้ร้องก็มีหน้าที่ต้องบอกลงทะเบียนในมูลหนี้ดังกล่าวหรือส่งรายการหนี้ดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เกิดผลในบุริมสิทธิ การที่ผู้ร้องเพียงแต่แจ้งจำนวนหนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางที่จำเลยค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ไม่นับเป็นการบอกลงทะเบียนหรือส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ อันมีผลทำให้บุริมสิทธิของผู้ร้องที่มีเหนือห้องชุดสิ้นผลไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 285 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะเพียงเจ้าหนี้สามัญที่มีสิทธิเพียงขอเฉลี่ยในเงินที่ได้จากการขายห้องชุดที่พิพาท
ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดีจากทรัพย์สินอื่น แม้มีจำนองเฉพาะบางแปลง
การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8999/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินก่อนถูกยึดทรัพย์: นิติกรรมไม่ฉ้อฉล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเพิกถอน
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. โอนการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ให้แก่ ค. ตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท ต่อมา ค. ได้โอนการครอบครองให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรตั้งแต่ปี 2523 จำเลยที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกรมสรรพากรโจทก์เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต ส่วนการที่จำเลยที่ 1 เพิ่งจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายหลังก็เพียงเพื่อมีชื่อผู้เป็นเจ้าของถูกต้องตามทะเบียน นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้เกิดจากการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8870/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับโอนที่ดินตามคำพิพากษาเหนือกว่าการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้รายอื่น
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาท ยังไม่มีการจดทะเบียนสิทธิโอนที่ดินพิพาท แต่เมื่อได้ยึดมาแล้วต้องนำออกขายทอดตลาด หากมีผู้ซื้อได้ก็ต้องมีการโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ซื้อ จึงมิใช่เพียงแต่ยึดไว้เท่านั้น การที่ศาลในคดีอื่นได้พิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ที่ดินพิพาทจะต้องตกเป็นของผู้ร้องเท่านั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ที่ดินพิพาทหลุดมือจากผู้ร้องตกไปเป็นของผู้อื่น จึงถือได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้โจทก์จะได้นำยึดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง แต่ศาลก็ไม่อาจปล่อยให้มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ เพราะผู้ที่ซื้อได้ไม่มีสิทธิที่จะได้รับโอนเนื่องจากผู้ร้องเท่านั้นที่มีสิทธิจะได้รับโอน ทั้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ก็มีบทบัญญัติไม่ให้การยึดทรัพย์มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้ร้อง
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษากับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคนหนึ่งได้นั้น หมายถึง เจ้าหนี้ผู้ที่จะมาขอเฉลี่ยต้องเป็นผู้ไม่มีอำนาจเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนกรณีที่ผู้ร้องได้สิทธิโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่แล้วจึงไม่มีกรณีที่จะต้องมาขอเฉลี่ยทรัพย์ แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดที่ดินเพื่อบังคับคดีให้กระทบกระทั่งสิทธิ
of 154