คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7448/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นสหกรณ์ของสมาชิกเพื่อบังคับคดี: สิทธิเจ้าหนี้ vs. ปกป้องทุนสหกรณ์
การที่จำเลยตกลงให้นำเงินค่าหุ้นที่จำเลยมีอยู่ในสหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด ไว้เป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้โดยยอมให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด หักชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นได้ทันทีเมื่อหนี้ถึงกำหนด คงมีผลเพียงให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ จำกัด มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินค่าหุ้นก่อนเจ้าหนี้อื่น เงินค่าหุ้นดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 285 และมาตรา 286 ทั้งตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ ก็มิได้บัญญัติให้เงินค่าหุ้นเช่นว่านี้ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี จำเลยจึงไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วยเหตุดังกล่าวได้ ส่วนที่ พ.ร.บ.สหกรณ์ฯ มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ของสมาชิกใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกในระหว่างที่สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นยังไม่สิ้นสุดลงนั้น ก็โดยมุ่งหมายที่จะคุ้มครองทุนของสหกรณ์ที่ได้มาจากค่าหุ้นของสมาชิกมิให้ลดน้อยถอยลงเพราะเหตุที่สมาชิกเป็นหนี้บุคคลภายนอก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของสหกรณ์เท่านั้น หาใช่บทกฎหมายที่ห้ามเจ้าหนี้มิให้ใช้สิทธิเรียกร้องในค่าหุ้นของสมาชิกเป็นการเด็ดขาดตลอดไปไม่ การอายัดเงินค่าหุ้นของสมาชิกไว้ก่อนโดยให้สหกรณ์ส่งเงินค่าหุ้นเมื่อสมาชิกผู้นั้นพ้นจากสมาชิกภาพเพื่อป้องกันสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามิให้เสียหาย จึงย่อมกระทำได้และไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้และดำเนินบังคับคดีได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลที่ดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 ทรัพย์สินซึ่งรวบรวมมาได้นั้นบทบัญญัติมาตรา 123 ให้อำนาจผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะนำออกขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้
ผู้คัดค้านที่ 1 ขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อผู้ร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ การกระทำของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นไปตามกฎหมายและมติเจ้าหนี้
การรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 117 ถึงมาตรา 123 โดยทรัพย์สินซึ่งรวบรวมได้มานั้นมาตรา 123 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่จะนำออกขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ เมื่อผู้คัดค้านขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ที่มีต่อผู้ร้องในมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งดังกล่าวโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับคะแนนเสียงเจ้าหนี้ในการประชุมเพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ศาลฎีกายกอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลาง
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านเกี่ยวกับการนับจำนวนเจ้าหนี้ที่ลงคะแนนในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ของจำเลยนั้น มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องมาเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน เจ้าหนี้ฟ้องได้ & คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้
สัญญากู้เงินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ข้อ 1 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว" ข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้เรียบร้อยแล้ว" ดังนี้เห็นได้ว่า หนี้ตามสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนไขให้จำเลยต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนที่แบ่งแยกเป็นของจำเลยได้ก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใดเพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ก่อนฟ้องโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ แต่จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องมีข้อตกลงต่อกันไว้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6228/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน: กำหนดเวลาชำระหนี้ไม่แน่นอน ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกหนี้ได้ทันที
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงในสัญญาระบุว่า "ข้อ 1 ผู้กู้ตกลงกู้และผู้ให้กู้ตกลงให้กู้เงินจำนวนทั้งสิ้น 160,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และในวันนี้ผู้กู้ได้รับเงินสดจำนวนดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว ข้อ 2 ผู้กู้ตกลงส่งมอบเงินกู้ตามสัญญาในข้อ 1 โดยไม่มีดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ภายในระยะเวลาที่ผู้กู้ได้ขายที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของผู้กู้ในที่ดินโฉนดเลขที่ 5027 ระวางที่ เลขที่ดิน 329 หน้าสำรวจที่ 943 ตำบลบางแค (บางเชือกหนังฝั่งใต้) อำเภอภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ตามจำนวนที่ดินที่แบ่งแยกโดยประมาณ 4 ไร่ เรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินได้เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 1 ส่วนสัญญาข้อ 2 เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง แต่การกำหนดเวลาชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในสัญญาข้อ 2 ดังกล่าว ไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินเสร็จสิ้นแล้วจำเลยจะสามารถขายที่ดินได้หรือไม่ หรือจะขายที่ดินนั้นได้เมื่อใด เพราะเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่มิใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้ กำหนดเวลาชำระหนี้โดยการกำหนดเงื่อนไขไว้เช่นนี้จึงไม่แน่นอน ผลเท่ากับเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116-6117/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเหนือทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี: ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 734 วรรคสอง เป็นกรณีที่มีการจำนองทรัพย์หลายสิ่งเพื่อประกันหนี้รายหนึ่งรายเดียวโดยมิได้ระบุลำดับไว้ เมื่อผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับแก่ทรัพย์สินทั้งหมดพร้อมกันจึงแบ่งกระจายภาระแห่งหนี้ไปตามจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สินนั้นๆ แต่ผู้ร้องมิใช่ผู้รับจำนองที่ใช้สิทธิดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญจึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ต่อเมื่อชำระหนี้จำนองให้แก่ผู้ร้องแล้วยังคงมีเงินเหลือจากการขายทอดตลาดเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิยกเหตุตามมาตราดังกล่าวขึ้นอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุการบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษา การขอเฉลี่ยทรัพย์ถือเป็นการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของการบังคับคดีตามกฎหมายให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี การที่ผู้ร้องนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงขั้นตอนการบังคับคดี ไม่ทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ขยายออกไป
ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการยึดซ้ำจึงไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษา ผู้ร้องย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ เพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 อย่างหนึ่งเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง การที่ลูกหนี้โต้แย้งสิทธิของเจ้าหนี้โดยอ้างเหตุจากผู้โอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทั้งสองว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำในโครงการหมู่บ้าน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้างและรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างมูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าวัสดุก่อสร้างและเงินยืมทดรองจ่ายที่ค้างชำระแก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้มีหนังสือตอบรับการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้โอนย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิจะมาระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ โจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองโดยตรง การที่จำเลยทั้งสองบอกปัดความับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
of 154