พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการมีอำนาจฟ้อง เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระหนี้โดยตรงจากลูกหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองว่าจ้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก่อสร้างถนน และระบบระบายน้ำ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้ซื้อเชื่อวัสดุก่อสร้าง และรับเงินยืมทดรองจ่ายไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรวมเป็นเงิน 778,240 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างงวดที่ 1 มูลค่า 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินตามสัญญาจ้างทันที จำเลยทั้งสองต้องชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้โดยตรง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ไม่มีสิทธิระงับไม่ให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ จำเลยทั้งสองไม่อาจบอกปัดความรับผิดโดยอ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีหนังสือไปถึงจำเลยทั้งสองให้ระงับการจ่ายเงินไว้ก่อนอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจรับเงินตามที่โจทก์มีสิทธิที่จะรับได้ ถือว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การโอนทรัพย์พิพาทเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ทั้งเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 ประกอบมาตรา 114 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ผู้โอนและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนอันเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์พิพาทแม้จะมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี ทรัพย์พิพาทก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ แต่จำเลยที่ 2 กลับโอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนในขณะที่คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 86,908,418.05 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 โอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าเป็นทางที่ทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายต้องเสียเปรียบ อันเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ข้อที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเกินระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้นั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์พิพาทแม้จะมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี ทรัพย์พิพาทก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ แต่จำเลยที่ 2 กลับโอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนในขณะที่คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 86,908,418.05 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 โอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าเป็นทางที่ทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายต้องเสียเปรียบ อันเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ข้อที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเกินระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้นั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย หากมีเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
การฟ้องคดีล้มละลายเป็นการฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย เจ้าหนี้รายอื่นของลูกหนี้แม้ไม่ได้ยื่นฟ้องก็มีสิทธิในทรัพย์สินของลูกหนี้โดยอาศัยวิธีการในกฎหมายล้มละลาย เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้วในคดีนี้ และเจ้าหนี้ที่ยื่นฟ้องจำเลยไว้ต้องไปใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อไป กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.221/2528 และคดีล้มละลายอีก 9 คดี ที่จำเลยถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องเป็นคดีล้มละลายจะต้องพิจารณาคดีอีกต่อไป ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ทั้งคำสั่งจำหน่ายคดีก็มิได้ลบล้างผลของการยื่นคำฟ้องคดีล้มละลายดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายในคดีนี้เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2528 แต่จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายในคดีหมายเลขดำที่ ล.221/2528 แล้วตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2528 การที่จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 25 และ 27 มิถุนายน 2528 ซึ่งอยู่ในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม)
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม) มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น คดีนี้ขณะโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเจ้าหนี้อีกหลายราย การโอนที่ดินพิพาททำให้กองทรัพย์สินของจำเลยลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะได้รับ การโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จึงทำให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น กรณีมีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนได้
การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 (เดิม) มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น คดีนี้ขณะโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเจ้าหนี้อีกหลายราย การโอนที่ดินพิพาททำให้กองทรัพย์สินของจำเลยลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นไม่ได้รับชำระหนี้หรือได้รับชำระหนี้น้อยกว่าที่ควรจะได้รับ การโอนที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1 จึงทำให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น กรณีมีเหตุให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นคู่ความแทนที่ในชั้นบังคับคดี: ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล หากสิทธิเรียกร้องต่อเนื่องจากเจ้าหนี้เดิม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี ก็โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยทั้งสามในมูลหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค สัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องได้ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งของศาลชั้นต้นมาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลจำนวนดังกล่าวแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายห้องชุดเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล เพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งยกเลิกการล้มละลายไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้เดิม เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 136 บัญญัติว่า "คำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 (1) หรือ (2) นั้นไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินแต่อย่างใด" เมื่อกฎหมายดังกล่าวมิได้ยกเว้นไว้ว่าหนี้ใดบ้างหลุดพ้นเพราะคำสั่งยกเลิกการล้มละลายจึงต้องแปลว่าหนี้สินทุกชนิดที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนฟ้องอย่างไรก็คงเป็นหนี้อยู่เช่นเดิมอย่างนั้น ดังนั้น แม้โจทก์มิได้นำหนี้ตามคำพิพากษาไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายแล้ว หนี้ของโจทก์ดังกล่าวย่อมกลับสภาพเป็นหนี้ที่สมบูรณ์อันทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4483/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเรียกค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 154 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อปฏิบัติตามวิธีการเพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีเงินพอที่จะเสียค่าใช้จ่ายนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินไม่เกินร้อยบาทได้โดยพลัน
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
ถ้าเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าจำนวนเงินที่วางไว้นั้นจะไม่พอ ก็ชอบที่จะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาให้วางเงินอีกตามจำนวนที่เห็นสมควร แต่ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเห็นว่าการวางเงินอีกนั้นไม่จำเป็นหรือมากไป ก็อาจยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดสองวันนับตั้งแต่ได้รับบอกกล่าว ขอให้ศาลกำหนดจำนวนเงินที่จะวางอีก หรือส่วนของจำนวนเงินซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมเสียแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นได้
ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่วางเงินตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรกแห่งมาตรานี้โดยพลัน หรือไม่ยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะงดปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าวแล้วจนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่ากฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะเรียกให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการบังคับคดี แม้ในวรรคแรกของมาตราดังกล่าวจะกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกให้วางเงินไม่เกินร้อยบาทแต่ในวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีให้วางเงินได้อีกตามจำนวนที่เห็นสมควร ซึ่งโดยสภาพหรือตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากให้โจทก์วางเงินจำนวน 100 บาท ย่อมเป็นการไม่เพียงพอ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในชั้นตั้งเรื่องยึดสังหาริมทรัพย์ในอัตรา 1,500 บาท ตามคำสั่งของกรมบังคับคดีนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ทั้งเงินที่วางดังกล่าวก็เป็นเพียงการทดรองค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีไว้ก่อน เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ยึดไว้แล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย โดยคืนเงินทดรองค่าใช้จ่ายให้โจทก์ก่อนหักชำระหนี้อยู่แล้ว โจทก์ย่อมไม่ต้องรับภาระเองอยู่แล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้โจทก์ให้วางเงินค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการตั้งเรื่องยึดทรัพย์จำนวน 1,500 บาท แล้วจึงจะดำเนินการสั่งในคำขอยึดทรัพย์ต่อไป โจทก์ได้รับแจ้งคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวแล้ว แต่โจทก์ไม่วางเงินภายในเวลาอันสมควรเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะงดปฏิบัติตามคำขอของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะได้ยอมวางเงินเสียก่อนตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 154 วรรคสาม กรณีจึงมิใช่ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยึดทรัพย์อันจะต้องยึดภายในเวลาอันควรต้องทำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 283 และเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ตกอยู่ในความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลก่อนล้มละลาย: เป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นคำแถลงขอรับเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้ กรณีจึงต้องถือว่าเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยวางไว้เป็นทรัพย์สินที่ลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอรับไปจากศาลชั้นต้น คงมีสิทธิเพียงยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องนำสืบหลักฐานเอง และหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังรู้ฐานะลูกหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้นั้นว่าต้องกระทำเมื่อใด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอต่อศาลล้มละลายกลางว่าเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เสียนั้นมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ การทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในส่วนนี้จึงชอบแล้ว
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
เจ้าหนี้ทราบว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะมีหนี้สินล้นพ้นตัวถูกฟ้องให้ล้มละลาย เมื่อลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการและศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการปรากฏว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แสดงให้เห็นว่ากิจการของลูกหนี้ไม่อาจดำเนินต่อไปได้ การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่เจ้าหนี้อาจนำไปขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (2) ตอนท้าย แต่เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 (2) ตอนต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากเงิน ความเป็นเจ้าของ และการฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้ที่จำกัด
โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบเป็นสมาชิกกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ โดยมีเงินฝากออมทรัพย์ฝากไว้กับกองทุนเงินสวัสดิการออมทรัพย์ดังกล่าวรวมเป็นเงิน 8,443,700 บาท จึงเป็นสัญญาฝากเงินซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 672 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งเงินคืนเป็นเงินอันเดียวกับที่รับฝาก ผู้รับฝากมีสิทธิที่จะเอาเงินนั้นออกใช้ก็ได้ เงินที่ฝากจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับฝาก ผู้รับฝากคงมีหน้าที่คืนเงินให้ครบจำนวนนั้นเท่านั้น เงินที่ฝากไว้และจำเลยยักยอกไปมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบ จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามมาตรา 420 จำเลยไม่มีความผูกพันเป็นหนี้โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2) โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยห้าสิบจึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย