พบผลลัพธ์ทั้งหมด 266 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายใหม่ให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ม. 122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พ.ร.บ.ระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ม.40 วรรค.3 และไม่มีข้อความแห่งใดใน พ.ร.บ.นี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ดังกล่าว (พ.ศ. 2457) ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์ จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ก.ม. อาญา ม. 334 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักเก่าครอบครองก่อนกฎหมายใหม่ ไม่อยู่ในความผิดอาญา แม้กฎหมายใหม่ขยายประเภทไม้หวงห้าม
มีไม้สักแปรรูป ซึ่งได้มาจากต้นสักในที่ดินกรรมสิทธิของเอกชนไว้ในครอบครองก่อนวันใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 นั้น ไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และแม้จะครอบครองต่อมาจนใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ซึ่งบัญญัติว่า "ไม้สักทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ฯลฯ" ก็ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ไม่ได้กล่าวให้มีผลย้อนหลัง ฉะนั้นจึงจะใช้กฎหมายฉะบับหลังให้มีผลย้อน หลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญามิได้ขัดต่อกฎหมาย ลักษณะอาญามาตรา 7 ผู้ครอบครองไม้สักดังกล่าวจึงยัง ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉะบับที่ 3) พ.ศ. 2494./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักเก่าครอบครองก่อนกฎหมายใหม่: ไม่ผิดตามกฎหมายป่าไม้ แม้กฎหมายใหม่ครอบคลุมไม้สักทั้งหมด
มีไม้สักแปรรูป ซึ่งได้มาจากต้นสักในที่ดินกรรมสิทธิ์ของเอกชนไว้ในครอบครองก่อนวันใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 นั้นไม่เป็นผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2494และแม้จะครอบครองต่อมาจนใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ซึ่งบัญญัติว่า'ไม้สักทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภทก.ฯลฯ'ก็ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494 ไม่ได้กล่าวให้มีผลย้อนหลังฉะนั้นจึงจะใช้กฎหมายฉบับหลังให้มีผลย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญามิได้ ขัดต่อกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 7 ผู้ครอบครองไม้สักดังกล่าวจึงยังไม่มีผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2494
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้สักในที่เอกชนก่อนกฎหมายใหม่: ผลย้อนหลังทางอาญาเป็นโมฆะ
มีไม้สักแปรรูปได้มาจากไม้ในที่เอกชนไว้ตั้งแต่ก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3)2494 ซึ่งขณะนั้นไม่เป็นความผิด แม้จะได้มีไว้ต่อมาจนใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) แล้ว ซึ่งแม้เป็นไม้สักขึ้นในที่เอกชนก็เป็นไม้หวงห้ามนั้นการมีไม้นั้นก็ไม่เป็นความผิดเพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่ใช้บังคับย้อนหลังได้หรือไม่: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษเบาเมื่อความผิดยังคงอยู่
จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ได้มี ก.ม.ใหม่คือ พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 เสีย และได้ประกาศใช้มา 9 วันแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าการกระทำของจำเลย ก็เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.สุรา 2493 ด้วยและมีโทษเบากว่า ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน จ.ศ. 1248 แล้ว กรณีต้องตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8 และศาลอาศัยอำนาจตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 วรรค 4 ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.สุรา 2493 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 63/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้กลางคดี ศาลใช้กฎหมายที่เบากว่าลงโทษจำเลย
จำเลยกระทำความผิดในขณะที่ใช้ พระราชบัญญัติภาษีชั้นในจ.ศ.1248
โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติภาษีชั้นในจ.ศ.1248 แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ได้มีกฎหมายใหม่คือพระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ.1248เสียและได้ประกาศใช้มา 9 วันแล้วดังนี้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสุรา 2493 ด้วยและมีโทษเบากว่าที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 แล้ว กรณีต้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 และศาลอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสี่ ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติสุรา 2493ได้
โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติภาษีชั้นในจ.ศ.1248 แต่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง ได้มีกฎหมายใหม่คือพระราชบัญญัติสุราพ.ศ.2493 ซึ่งบัญญัติให้ยกเลิก พระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ.1248เสียและได้ประกาศใช้มา 9 วันแล้วดังนี้ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสุรา 2493 ด้วยและมีโทษเบากว่าที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีชั้นใน จ.ศ.1248 แล้ว กรณีต้องตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 และศาลอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคสี่ ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติสุรา 2493ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดคนต่างด้าวและการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองสองฉบับ: การพิจารณาโทษตามกฎหมายใหม่
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2480 มาตรา 42 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามโดยฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.นี้และกำหนดโทษไว้ แต่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มิได้กำหนดโทษความผิดไว้ คงมีมาตรา 58 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักร ด้วยการเข้ามาโดยฝ่าฝืนมาตรา 11 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มีความผิดต้องระวางโทษ ฉะนั้นเมื่อใช้ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2493 แล้วจะฟ้องคนต่างด้าวหาว่าเข้ามาในราชอาณาจักรสยามฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2480 ศาลย่อมลงโทษตามที่ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองและการกำหนดโทษ: การฟ้องร้องตามกฎหมายฉบับใหม่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 มาตรา 42 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวเข้ามาในพระราชอาณาจักรสยามโดยฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงพระราชบัญญัตินี้และกำหนดโทษไว้ แต่ตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2493 มิได้กำหนดโทษความผิดไว้ คงมีมาตรา 58 บัญญัติห้ามคนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรด้วย การเข้ามาโดยฝ่าฝืนมาตรา 11 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 มีความผิดต้องระวางโทษ ฉะนั้นเมื่อใช้ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 แล้ว จะฟ้องคนต่างด้าวหาว่าเข้ามาในราชอาณาจักรสยามฝ่าฝืน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2480 ศาลย่อมลงโทษตามที่ฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาจำนองใหม่หลังใช้ ป.พ.พ. ทำให้ต้องบังคับตามกฎหมายใหม่ แม้จำนองเดิมจะทำก่อนใช้กฎหมาย
ทำสัญญาจำนองที่ดินกันตั้งแต่ก่อนใช้ ป.พ.พ. ภายหลังเมื่อใช้ ป.พ.พ.แล้ว คู่กรณีได้มาทำสัญญาจำนองกันใหม่โดยเพิ่มเงินที่จำนองและเปลี่ยนตัวผู้จำนอง เนื่องจากผู้จำนองเดิมถึงแก่กรรม ทายาทจึงเข้ามาเป็นคู่สัญญาแทน ดังนี้ ต้องบังคับกันตามป.พ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนย้ายสุราก่อนมีกฎหมายเฉพาะ การกระทำไม่ผิด แม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่
การขนย้ายน้ำสุรา อันไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติภาษีชั้นในพ.ศ.2457 นั้นแม้ในระหว่างพิจารณา ได้มี พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 ออกมาก็ดี ก็ต้องถือว่าขณะจำเลยทำการขนย้ายสุรายังไม่มีกฎหมายบัญญัติถึงวิธีการขนย้ายน้ำสุราดังเช่น จำเลยกระทำว่าเป็นผิด ฉะนั้นการขนย้ายสุราดังกล่าวแล้วจึงไม่เป็นผิด