พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าของคนกลาง: การซื้อมาแล้วขายต่อ แม้มีข้อจำกัดในการซื้อขาย ก็ยังคงเป็นการค้าของคนกลาง
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ พ.ศ. 2482 กำหนดอาชีพการค้าขายของคนกลางให้ตกอยู่ในมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำว่า "การค้าขายของคนกลาง" นี้หมายความว่า การค้าของคนซึ่งอยู่ในระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคคือซื้อของที่ตนเองมิได้เป็นผู้ผลิตมาแล้วขายต่อไป
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่ง แม้ตายสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดีก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอัน เป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง
ทำสัญญากับโรงงานสุราเป็นผู้ขายส่งสุราประจำอำเภอหนึ่ง แม้ตายสัญญาจะถูกจำกัดในการซื้อในการขายตลอดจนเรื่องราคาที่จะขายก็ดีก็เป็นเรื่องที่ซื้อมาแล้วขายต่อไปอัน เป็นการค้าของคนกลางนั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจริงของสัญญาเช่าสำคัญกว่าข้อความในสัญญา หากผู้เช่าใช้เพื่ออยู่อาศัย แม้สัญญาจะระบุว่าเพื่อการค้า
แม้สัญญาเช่าจะมีข้อความชัดเจนว่า เช่าเพื่อประกอบการค้าแต่อย่างเดียวไม่ใช่เป็นที่อยู่อาศัย เมื่อผู้เช่าต่อสู้ว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัยมิได้ประกอบการค้าและเช่ามานานแล้ว ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ดังนี้ผู้เช่าย่อมนำสืบตามข้อต่อสู้นี้ได้, เพราะศาลจำต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีและความจริงที่ที่ผู้เช่าปฏิบัติประกอบด้วย
จำเลยเช่าตึกแถวอยู่อาศัยหาได้ทำการค้าไม่ เมื่อหมดอายุสัญญาเดิม โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่เติมข้อความว่าเช่าเพื่อประกอบการค้าแต่อย่างเดียวไม่ใช่เป็นที่อยู่อาศัยโดยอ้างว่าเป็น ธรรมเนียมของโจทก์ที่จะกรอกข้อความเช่นนี้ทุกราย,เมื่อจำเลยเซ็นแล้ว ก็คงใช้ตึกห้องที่เช่านี้อยู่อาศัยเช่นเดิมหาได้ใช้ทำการค้าไม่ดังนี้เห็นได้ว่าการเติมข้อความนั้นลงก็เพื่อเลี่ยง กฎหมายเท่านั้นจึงต้องบังคับตามความจริง
จำเลยเช่าตึกแถวอยู่อาศัยหาได้ทำการค้าไม่ เมื่อหมดอายุสัญญาเดิม โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่เติมข้อความว่าเช่าเพื่อประกอบการค้าแต่อย่างเดียวไม่ใช่เป็นที่อยู่อาศัยโดยอ้างว่าเป็น ธรรมเนียมของโจทก์ที่จะกรอกข้อความเช่นนี้ทุกราย,เมื่อจำเลยเซ็นแล้ว ก็คงใช้ตึกห้องที่เช่านี้อยู่อาศัยเช่นเดิมหาได้ใช้ทำการค้าไม่ดังนี้เห็นได้ว่าการเติมข้อความนั้นลงก็เพื่อเลี่ยง กฎหมายเท่านั้นจึงต้องบังคับตามความจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: พิจารณาจากขอบเขตหน้าที่ ไม่ใช่การค้าหรือหากำไร
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่าเป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินที่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่ง ของกระทรวงพาณิชย์จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯอันเป็นธุระกิจ ของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลยเมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืนจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสียจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอกโจกท์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้าหรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตต์อำนาจและหน้าที่ของกระทรวง พาณิชย์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะเพื่อค้าและการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การพิจารณาว่าการเช่าตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหรือไม่
ในสัญญาเช่าเคหะ จำเลยจะต้องชำระเงินค่ากินเปล่างวดที่ 3 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2488 ซึ่งเป็นเวลาที่พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉะบับที่ 2) 2488 ใช้บังคับอยู่ ต้องพิจารณาว่า จำเลยได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ ถ้าจำเลยมิไ้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 ก็มิควบคุมถึง
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้า และผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญากับโจท์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้ จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้า และผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญากับโจท์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้ จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะเพื่อการค้าและการควบคุมค่าเช่า: การพิจารณาว่าการเช่าอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายควบคุมค่าเช่าหรือไม่
ในสัญญาเช่าเคหะ จำเลยจะต้องชำระเงินค่ากินเปล่างวดที่ 3 ใน วันที่ 1 สิงหาคม 2488 ซึ่งเป็นเวลาที่ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2)2488 ใช้บังคับอยู่ ต้องพิจารณาว่า จำเลยได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ หากจำเลยมิได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่2)2488ก็มิควบคุมถึง
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2)2488และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้าและผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2)2488และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้าและผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้พื้นที่เช่าเพื่อการค้าหรือไม่ และผลกระทบต่อความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากสถานที่เช่าโดยอ้างเหตุว่าสัญญาเช่าสิ้นอายุ จำเลยต่อสู้ว่าได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯ เพราะจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัย แต่โจทก์เถียงว่าจำเลยใช้เป็นที่ทำการค้าดังนี้ แม้ในฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายว่าจำเลยได้ใช้สถานที่เช่าทำการค้าก็ดีคดีย่อมมีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการค้า
เมื่อจำเลยใช้อาคารเพื่อการค้า จึงไม่เป็นเคหะตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2486และไม่อาจยกพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 มาใช้บังคับเพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งใช้ภายหลังเวลาที่จำเลยได้ครอบครองอาคารมาอย่างละเมิดฉะนั้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2490 ก็จะนำมาย้อนหลังบังคับไม่ได้ในกรณีเช่นนี้
เมื่อจำเลยใช้อาคารเพื่อการค้า จึงไม่เป็นเคหะตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2488 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า 2486และไม่อาจยกพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2489 มาใช้บังคับเพราะเป็นกฎหมายที่เพิ่งใช้ภายหลังเวลาที่จำเลยได้ครอบครองอาคารมาอย่างละเมิดฉะนั้น พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าปี 2490 ก็จะนำมาย้อนหลังบังคับไม่ได้ในกรณีเช่นนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185-1187/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'อยู่อาศัย' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การใช้พื้นที่เพื่อการค้าควบคู่กับการอยู่อาศัย
แม้จำเลยจะรับว่าอยู่อาศัยในที่เช่าก็ตาม ยังฟังไม่ชัดลงไปว่า เป็นการอยู่ในฐานะ "อยู่อาศัย" ตามพระราชบัญญัติ หรือเพียงอยู่ในฐานะที่เข้าไปประกอบกิจ
(อ้างฎีกาที่ 1099 - 1147/2491)
(อ้างฎีกาที่ 1099 - 1147/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกเพื่อค้ากับความเป็นที่อยู่อาศัย: สิทธิคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
อุทธรณ์ของจำเลยมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า ในกรณีที่ผู้เช่าทำสัญญาเช่าตึกเพื่อทำการค้า ผู้เช่าจะนำสืบว่าได้เช่าเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯลฯ (ฉะบับที่ 2) 2490 ได้หรือไม่นั้น นับว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลที่สมควรจะให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า การแจ้งความเท็จ และสิทธิในการคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าที่ ก.ม.ลักษณะอาญา ม. 237 คุ้มครองไว้นั้น ย่อมหมายถึงเครื่องหมายที่ได้ใช้แล้วกับสินค้าที่ได้ใช้แล้วกับสินค้า รอยรูปขีดเขียนที่ประดิษฐ์ขึ้นแล้ว เก็บไว้โดยยังมิได้ใช้ในการค้าอย่างใด ๆ นั้น หาได้รับความคุ้มครองตาม ก.ม.ไม่
ในคดีมูลละเมิดฐานะทำให้โจทก์เสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพนั้น โจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำให้โจทก์ต้องเสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพ เพียงแต่ได้ความว่าโจทก์ถูกตำรวจจับไป เนื่องจากคำซักทอดของผู้อื่นซึ่งจำเลยแจ้งความให้จับ โดยจำเลยไม่ทราบว่าเกี่ยวเนื่องถึงโจทก์ด้วยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อนายทะเบียนโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนนั้น เป็นการใช้สิทธิในการคัดค้านโดยสุจริต
ในคดีมูลละเมิดฐานะทำให้โจทก์เสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพนั้น โจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำให้โจทก์ต้องเสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพ เพียงแต่ได้ความว่าโจทก์ถูกตำรวจจับไป เนื่องจากคำซักทอดของผู้อื่นซึ่งจำเลยแจ้งความให้จับ โดยจำเลยไม่ทราบว่าเกี่ยวเนื่องถึงโจทก์ด้วยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อนายทะเบียนโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายดีกว่าผู้ขอจดทะเบียนนั้น เป็นการใช้สิทธิในการคัดค้านโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า การแจ้งความ และสิทธิคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าที่ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 237 คุ้มครองไว้นั้น ย่อมหมายถึงเครื่องหมายที่ได้ใช้แล้วกับสินค้า รอยรูป,ขีดเขียนที่ประดิษฐ์ขึ้นแล้ว เก็บไว้โดยยังมิได้ใช้ในการค้าอย่างใดๆ นั้น หาได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่
ในคดีมูลละเมิดฐานทำให้โจทก์เสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพนั้นโจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำให้โจทก์ต้องเสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพ เพียงแต่ได้ความว่าโจทก์ถูกตำรวจจับไป เนื่องจากคำซัดทอดของผู้อื่นซึ่งจำเลยแจ้งความให้จับ โดยจำเลยไม่ทราบว่าเกี่ยวเนื่องถึงโจทก์ด้วยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อนายทะเบียนโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายดีกว่า ผู้ขอจดทะเบียนนั้น เป็นการใช้สิทธิในการคัดค้านโดยสุจริต
ในคดีมูลละเมิดฐานทำให้โจทก์เสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพนั้นโจทก์จะต้องสืบให้ได้ความว่า จำเลยได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำให้โจทก์ต้องเสียหายต่อร่างกายและเสรีภาพ เพียงแต่ได้ความว่าโจทก์ถูกตำรวจจับไป เนื่องจากคำซัดทอดของผู้อื่นซึ่งจำเลยแจ้งความให้จับ โดยจำเลยไม่ทราบว่าเกี่ยวเนื่องถึงโจทก์ด้วยนั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อนายทะเบียนโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายดีกว่า ผู้ขอจดทะเบียนนั้น เป็นการใช้สิทธิในการคัดค้านโดยสุจริต