คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าจ้างก่อสร้าง เริ่มนับจากวันส่งมอบงาน ไม่ใช่วันทำงานเสร็จ
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาก่อสร้างออกไปทำให้ระยะเวลาที่ต่อออกไปนั้นครบกำหนดก่อนวันที่โจทก์ส่งมอบงานงวดสุดท้าย ดังนั้น แม้ว่าการต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะทำให้อายุของสัญญายืดออกไป แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อการนับอายุความที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ เพราะสิทธิเรียกร้องสินจ้างในการก่อสร้างนั้นต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบงานกัน มิใช่นับตั้งแต่วันที่ทำงานเสร็จ เงินค่าปรับที่โจทก์ได้รับคืนไปจากจำเลยที่ 1 เกิดจากจำเลยที่ 1 หักค่าจ้างไว้เป็นค่าปรับเนื่องมาจากสัญญาจ้างก่อสร้างกำหนดเบี้ยปรับไว้ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาส่งมอบงานล่าช้าจึงถูกจำเลยที่ 1 ปรับ ต่อมาภายหลังโจทก์ขอต่ออายุสัญญาอีกแต่ไม่ได้รับการต่อให้ คงได้รับเงินส่วนลดค่าปรับตามมติคณะรัฐมนตรีคืนเท่านั้น การคืนค่าปรับให้ ซึ่งจำเลยไม่มีหน้าที่และไม่ใช่การชำระค่าจ้างโจทก์ตามสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโจทก์มาฟ้องเรียกเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างและเงินค่าจ้างขุดคูน้ำโดยอ้างว่าคณะกรรมการควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้โจทก์ขุดเพิ่มขึ้นจากงานตามสัญญาจ้างในวันที่ 29 มิถุนายน 2526เป็นเวลาเกิน 2 ปี นับแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2524 ซึ่งเป็นวันที่มีการส่งและมอบงานกัน จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่เป็นไปตามรูปแบบ และแก้ไขโทษปรับฐานฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง
ฎีกาทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับจำเลยจะขอถือเอาคำแถลงการณ์ปิดคดีในศาลชั้นต้นเป็น ส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลยไม่ได้ จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านว่า คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ที่วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการ-ตัวแทน: การเชิดตัวแทนทำสัญญาซื้อวัสดุก่อสร้าง จำเลยต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ทำสัญญาจ้างและรับเงินค่าจ้างแทนจำเลยที่ 1 และมอบหมายให้ ส. เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ส. เป็นผู้สั่งซื้อและรับมอบวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจากโจทก์ โดยนำไปใช้ในการก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับจ้างย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างดังกล่าวไปจากโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4009/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนสิทธิสัญญาเช่าและการยินยอมก่อสร้างนอกเหนือสัญญา สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอน
ตามสัญญาเช่าที่ดินที่ จ. เจ้าของที่ดินเดิมทำไว้กับโจทก์ผู้เช่าระบุยินยอมให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์เฉพาะภายในเขตทรัพย์สินที่เช่าเท่านั้น มิได้ระบุว่าถ้าผู้เช่าสร้างท่าเทียบเรือ ล่วงล้ำลำน้ำหน้าที่ดินที่เช่า ผู้ ให้เช่าจะต้องยินยอมลงชื่อด้วย ฉะนั้น การที่ จ.ผู้ให้เช่าเดิมยินยอมลงชื่อรับรองโจทก์สร้างท่าเทียบเรือล่วงล้ำลำน้ำหน้า ที่ดินที่เช่าตามใบอนุญาต กรมเจ้าท่าจึงเป็นการกระทำนอกเหนือสัญญาเช่า ไม่ผูกพันจำเลย ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าจาก จ. และการที่โจทก์ทำคำร้องขอขยายท่าเทียบเรือที่มีขนาดเกินกว่า 500ตันกรอสส์ ก็เป็น การเพิ่มภาระให้จำเลยผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องรับผิดชอบมากขึ้น กว่าความรับผิดตามสัญญาของเจ้าของที่ดินเดิม แม้โจทก์จะมีหนังสือ ถึงจำเลยว่าโจทก์รับเป็นผู้รับผิดชอบเองก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรุกล้ำที่ดินและค่าเสียหายจากการก่อสร้างกีดขวางการใช้ประโยชน์ที่ดินของโจทก์
โจทก์สร้างศูนย์การค้า และอาคารพาณิชย์เพื่อให้เช่าและจำหน่ายจึงมีความจำเป็นต้องสร้างถนนภายในบริเวณศูนย์การค้าและอาคารพาณิชย์ เพื่อให้บุคคลที่อยู่อาศัยในศูนย์การค้าและประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางออก นอกจากนี้โจทก์ยังจัดยามเฝ้าดูแล ถนนทางเข้าออกบริเวณศูนย์การค้าตลอดเวลา เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังคงยึดถือครอบครองถนนอยู่ และโจทก์อนุญาตให้จำเลยใช้ถนนและทางเท้าเข้าออกโรงแรมจำเลยซึ่งสร้างติดกับที่ดินโจทก์พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะยกถนนและทางเท้าดังกล่าวเป็นทางสาธารณะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับคดีโจทก์เรื่องค่าเสียหายขาดอายุความไม่ชอบ เพราะจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วนั้นจำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับอายุความเฉพาะการก่อสร้างชั้นลอยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์เท่านั้น มิได้ยกอายุความในเรื่องการก่อสร้างถนน และทำคันซีเมนต์ ปิดกั้นถนนหน้าโรงแรมจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างส่งมอบงานแก่จำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนถูกจำเลยปรับตามสัญญา แม้โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับคืนโดยอ้างว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมิได้ขอให้ศาลลดค่าปรับ ถ้าศาลเห็นว่าโจทก์ผิดสัญญา แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่แท้จริงแล้วสูงเกินไปศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงแล้วคืนให้โจทก์บางส่วนได้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างหลังถูกอายัดเงิน: สิทธิของผู้ว่าจ้างในการเลิกสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายจากการก่อสร้างที่อาจล่าช้า
การที่ผู้คัดค้านกับจำเลยตกลงเลิกสัญญาจ้างกันภายหลัง จากที่ผู้คัดค้านได้รับหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว หาเป็นการเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะเมื่อจำเลยถูกบังคับคดีอายัดเงินค่าเงินก็ไม่มีเงินที่จะสามารถทำงานก่อสร้างในงวดต่อไปได้ตามสัญญาอาจทำให้การก่อสร้างบ้านผู้คัดค้านล่าช้าหรือไม่เสร็จดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเลิกสัญญาจ้างกับจำเลยเพื่อไม่ให้ผู้คัดค้านต้องเสียหาย จึงเป็นสิทธิที่ผู้คัดค้านจะกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้าง: ลูกหนี้ชั้นต้นละเสียอายุความ แต่ผู้ค้ำประกันยังยกอายุความได้
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2525 ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2526 โจทก์ตรวจพบการชำรุดบกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันการชำรุด บกพร่องได้ปรากฏขึ้น คือวันที่ 24 มีนาคม 2527โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยที่ 1 ส่งช่าง ไปซ่อมแซมอาคารพิพาท เมื่อวันที่22-25 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุด บกพร่อง และเป็นการยอมรับหลังจากอายุความครบบริบูรณ์แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ละเสีย ซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้น ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้างบกพร่อง ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ จำเลยต้องจ่ายค่าก่อสร้างบางส่วน ความรับผิดร่วมจากความประมาท
โจทก์ก่อสร้างสะพานไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่รับมอบงานและบอกเลิกสัญญาได้ แต่เมื่อโจทก์ก่อสร้างสะพานเสร็จ ประชาชนได้ใช้ถนนและสะพานมาตลอดเป็นเวลามากกว่า 2 ปี ยังไม่ปรากฏความเสียหายของสะพานแสดงว่าแม้โจทก์จะก่อสร้างสะพานบกพร่องและไม่ตรงตามแบบ แต่งานบางส่วนได้มาตรฐานและส่วนที่ผิดแบบก็ยังใช้งานได้บ้าง การที่จำเลยปล่อยให้ประชาชนใช้สะพานได้เป็นการที่จำเลยเอาผลงานของโจทก์ที่สมบูรณ์ออกใช้ประโยชน์ โจทก์สมควรจะได้รับเงินค่าก่อสร้างบางส่วน การที่โจทก์ตอก เสาเข็มตอม่อ กลางน้ำผิดจากแบบเกิดจากช่างของโจทก์ตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบว่าให้ตอก เสาเข็มแบบใด และช่างของจำเลยควบคุมการตอก เสาเข็มโดยไม่ดูแบบเช่นกัน โดยคนทั้งสองเข้าใจว่าการตอก เสาเข็มตรงตามแบบในสัญญาแล้ว แม้ความผิดพลาดจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่ก็เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของช่างควบคุมงานของจำเลยด้วย จำเลยจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาก่อสร้าง: ขอบเขตความรับผิดชอบความชำรุดบกพร่องหลัง 1 ปี และการบังคับใช้มาตรา 600
สัญญาก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กบนพื้นดินระบุไว้ว่าถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลา1 ปี ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย หมายความว่าแม้จะเลยกำหนดระยะเวลา1 ปีแล้ว หากมีความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันส่งมอบงานที่จ้าง ผู้รับจ้างก็ยังต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดกับงานที่จ้างนั้นตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600 วรรคแรก
of 31