คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่ง (ลูกหนี้ร่วม) ต่อความเสียหายของสินค้าที่สูญหาย
โจทก์จำเลยเข้าร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง โดยจำเลยกระทำในนามและตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนโจทก์หักค่าขนส่งบางส่วนไว้ซึ่งถือได้ว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบกิจการขนส่งนั้นเมื่อสินค้าที่โจทก์จำเลยได้รับมอบหมายให้ขนส่งจากเจ้าของสินค้าผู้ส่งสูญหายไปเพราะความผิดของลูกจ้างจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งร่วมกันโดยเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมและจำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้ในคำให้การแจ้งชัดถึงเรื่องลูกหนี้ร่วมแต่โดยสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์บ่งระบุแจ้งชัดถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเป็นเรื่องลูกหนี้ร่วมอยู่แล้ว การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดต่อเจ้าของสินค้าอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616ประกอบกับมาตรา 438 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้แก่เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ส่งสำหรับสินค้าที่สูญหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดอยู่แล้ว ธรรมเนียมประเพณีการขนส่งที่ว่า เมื่อไม่ได้มีการตีราคาสินค้าไว้ก่อนว่าราคาเท่าใด ผู้ขนส่งไม่ควรต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเกินหีบห่อละ 500 บาทนั้น หามีผลลบล้างบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมกัน กรณีสินค้าสูญหายจากการกระทำของลูกจ้าง
โจทก์จำเลยเข้าร่วมกันประกอบกิจการขนส่ง โดยจำเลยกระทำในนามและตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนโจทก์หักค่าขนส่งบางส่วนไว้ซึ่งถือได้ว่ามีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบกิจการขนส่งนั้นเมื่อสินค้าที่โจทก์จำเลยได้รับมอบหมายให้ขนส่งจากเจ้าของสินค้าผู้ส่งสูญหายไปเพราะความผิดของลูกจ้างจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยต้องร่วมกันรับผิดต่อเจ้าของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งร่วมกันโดยเป็นลูกหนี้ร่วมกันและต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน
แม้โจทก์ไม่ได้ระบุในคำฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมและจำเลยก็ไม่ได้ต่อสู้ในคำให้การแจ้งชัดถึงเรื่องลูกหนี้ร่วมแต่โดยสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องของโจทก์บ่งระบุแจ้งชัดถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเป็นเรื่องลูกหนี้ร่วมอยู่แล้ว การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยต้องรับผิดต่อเจ้าของสินค้าอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ประกอบกับมาตรา 438 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ผู้ขนส่งต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดให้แก่เจ้าของสินค้าซึ่งเป็นผู้ส่งสำหรับสินค้าที่สูญหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิดอยู่แล้ว ธรรมเนียมประเพณีการขนส่งที่ว่า เมื่อไม่ได้มีการตีราคาสินค้าไว้ก่อนว่าราคาเท่าใด ผู้ขนส่งไม่ควรต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเกินหีบห่อละ 500 บาทนั้นหามีผลลบล้างบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันจากการขนส่งคนโดยสารด้วยรถยนต์หลายคัน โดยแต่ละคันถือเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์อันเป็นเครื่องอุปกรณ์การขนส่งจำนวน 3 คัน ออกวิ่งรับส่งคนโดยสารและเก็บค่าโดยสาร โดยนำรถยนต์คันหนึ่งซึ่งได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ออกวิ่งทับเส้นทางรถประจำทางในสัมปทานของบริษัทอื่นซึ่งเป็นลักษณะของการแข่งขัน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14 และนำรถยนต์อีกสองคันซึ่งเป็นรถที่สังกัดอยู่ในสัมปทานรถประจำทางของจำเลยที่ 1 ออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนด อันเป็นความผิดตามมาตรา 10 ดังนี้รถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด การขนส่งของรถแต่ละคันเป็นความผิดต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งโดยรถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์อันเป็นเครื่องอุปกรณ์การขนส่งจำนวน3 คันออกวิ่งรับส่งคนโดยสารและเก็บค่าโดยสาร โดยนำรถยนต์คันหนึ่งซึ่งได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ออกวิ่งทับเส้นทางรถประจำทางในสัมปทานของบริษัทอื่นซึ่งเป็นลักษณะของการแข่งขัน เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 มาตรา 14 และนำรถยนต์อีกสองคันซึ่งเป็นรถที่สังกัดอยู่ในสัมปทานรถประจำทางของจำเลยที่ 1 ออกวิ่งนอกเส้นทางที่กำหนด อันเป็นความผิดตามมาตรา 10 ดังนี้ รถยนต์โดยสารแต่ละคันเป็นองค์สำคัญแห่งความผิด การขนส่งของรถแต่ละคันเป็นความผิดต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งสินค้า กากน้ำตาลขาดหาย ความรับผิดของผู้ขนส่ง หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผลผูกพัน
จำเลยรับจ้างขนส่งกากน้ำตาลให้แก่โจทก์ กากน้ำตาลขาดหายไป ปรากฏว่าเมื่อขนลงเรือ โจทก์กะประมาณน้ำหนักเอาเมื่อรับของจึงจะมีการชั่ง ตวง วัด จึงเกิดการคลาดเคลื่อนไม่แน่นอน และเมื่อสูบกากน้ำตาลขึ้นจากเรือมีกากน้ำตาลเหนียวติดเรือ และน้ำที่ปนน้ำตาลแห้งระเหยไปด้วย ดังนี้ จำนวนน้ำหนักกากน้ำตาลที่ขาดไปจึงเป็นการเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองซึ่งจำเลยพิสูจน์ได้ มิใช่จำเลยเป็นผู้ทำให้ขาดไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616
เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์ฟ้องก็ปราศจากหนี้ที่จะรับสภาพ ไม่มีผลบังคับแก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาตหลังใบอนุญาตถูกเพิกถอน: ความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ. 2497
แต่เดิมจำเลยได้รับอนุญาตทำการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทาง 3 สาย คือ (1) สายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช (2) สายภูเก็ต-ทุ่งสง และ (3) สายกระบี่-ทุ่งสง ต่อมาอธิบดีกรมการขนส่งทางบกได้เพิกถอนใบอนุญาตทำการขนส่งประจำทางสายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช เสีย แต่จำเลยยังคงรับคนโดยสารเพื่อสินจ้างต่อจากกระบี่ผ่านทุ่งสงไปยังอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อันอยู่ในเส้นทางสายภูเก็ต-นครศรีธรรมราช ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว เช่นนี้ จึงเป็นการประกอบการขนส่งในเส้นทางที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ. 2497 มาตรา 65 กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นแต่เพียงการประกอบการขนส่งเกินเลยเส้นทางกระบี่-ทุ่งสง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทสัญญาจ้าง: จ้างทำของ vs. จ้างแรงงาน และอายุความผิดสัญญาขนส่ง
จำเลยตกลงรับจ้างทำการชักลากไม้ของโจทก์จำนวน 60 ท่อน จากป่าระหารไปส่งให้แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างที่บ้านท่าพุทรา ซึ่งเป็นการขนเฉพาะไม้รายนี้ให้โจทก์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยโจทก์คิดค่าจ้างให้จำเลยเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานนั้น ในจำนวนไม้ตามที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ ในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 60 บาท หาใช่เป็นสัญญาที่จำเลยมีหน้าที่จะต้องทำการขนไม้รายอื่น ๆ ให้โจทก์อยู่ตลอดเวลาที่จ้างตามที่กำหนดไว้นั้นไม่ สัญญาที่จำเลยทำจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ หาใช่เป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 การชำรุดบกพร่องจะต้องเป็นความชำรุดบกพร่องแก่ตัวทรัพย์ที่จำเลยทำการขนส่งมอบแก่โจทก์ จำเลยขนไม้ไปส่งมอบให้โจทก์ไม่ครบจำนวน จึงเป็นเรื่องที่จำเลยผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ กรณีไม่เข้ามาตรา 601 ตามสัญญาจ้างชักลากไม้ก็มีความว่า หากปรากฏว่าไม้ที่จ้างกันนี้สูญหายหรือเสียหายด้วยประการใด ๆ จำเลยผู้รับจ้างจะต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าไม้ที่ขาดหายไปนั้นจากจำเลยได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเหตุละเมิดของลูกจ้าง และการเรียกค่าเสียหายจากความพิการและขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง(ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารถประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665-1670/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.ขนส่งฯ มาตรา 14: ผู้ขับรถที่ไม่ได้รับใบอนุญาตไม่มีความผิดตามมาตรานี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะแต่ทางพิจารณาไม่ได้ความว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ จำเลยเป็นแต่ลูกจ้างคนขับรถยนต์โดยสารสาธารณะของนายจ้างเท่านั้น แม้จำเลยจะขับรับผู้โดยสารล่วงล้ำเข้าไปในเส้นทางที่รถบริษัทอื่นได้รับใบอนุญาตการขนส่งประจำทางก็ตาม คนขับหรือจำเลยซึ่งมิใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 14
พระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14 บัญญัติห้ามเฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเท่านั้น จะขยายความไปถึงคนอื่นด้วยไม่ได้ เพราะเป็นความผิดอาญา
แม้การเก็บค่าโดยสารมีลักษณะเป็นการแข่งขันก็จริง แต่เมื่อจำเลยมิใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะ ก็ขาดองค์ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง พ.ศ.2497 มาตรา 14
กรณีบุคคลสองคนขึ้นไปร่วมกันทำความผิดนั้น โจทก์จะไม่ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาด้วยก็ได้ แต่โจทก์ต้องบรรยายฟ้อง มิฉะนั้นก็ไม่มีข้อหาหรือประเด็นว่าจำเลยกระทำผิดร่วมกับพวกหรือไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่ง มาตรา 14 เป็นความผิดเฉพาะตัวบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะเท่านั้น ไม่อาจมีการร่วมกันกระทำผิดกับผู้ที่มิได้รับใบอนุญาตการขนส่งสาธารณะด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า และสิทธิของผู้รับตราส่งในการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยตรง
ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้า อันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่นซึ่งตนหากได้มอบหมายของนั้นไปอีกทอดหนึ่ง
ถ้าของนั้นได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดผู้ขนส่งทั้งนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในการสูญหายบุบสลายหรือส่งชักช้า
ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆ ทำนองนั้นก็ดี ซึ่งผู้ขนส่งออกไปให้แก่ผู้ส่งนั้น ถ้ามีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งประการใด ความนั้นเป็นโมฆะเว้นแต่ผู้ส่งจะได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้ง
แม้สินค้าที่ส่งจะมีประกันภัยไว้ เมื่อสินค้าเกิดความเสียหายเพราะความผิดของผู้ขนส่ง ผู้รับตราส่งย่อมฟ้องผู้ขนส่งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้โดยตรง หาจำต้องฟ้องผู้รับประกันภัยก่อนไม่
of 22