พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเฉพาะความสมควรในการตั้งผู้จัดการมรดก ไม่ก้าวล่วงข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สิน
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ผู้คัดค้านยกขึ้นโต้เถียงว่าที่นา 2 แปลงที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ตายได้ยกให้ผู้คัดค้านในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่แล้วนั้นศาลยังไม่อาจก้าวล่วงไปวินิจฉัยได้ ผู้คัดค้านชอบที่จะไปดำเนินคดีเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบิตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใช้บังคับ ให้ใช้กฎหมายเดิมคุ้มครอง
แม้โจทก์ทั้งสองจะถูกคำสั่งให้ลงโทษพักงานและงดทำงานล่วงเวลาภายหลังที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของโจทก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมายรวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้นคือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าช่วงและการคืนเงินค่าเช่า
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามนัย-แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิมตามนัย-แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาททางภาษีอากร: คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางเกี่ยวกับคดีระหว่าง เพ็ง เพ็งนิติ กับ เจริญ นิลเอสงฆ์ และ สุวรรณ ตระการพันธุ์
(เพ็ง เพ็งนิติ - เจริญ นิลเอสงฆ์ - สุวรรณ ตระการพันธุ์)ศาลภาษีอากรกลาง นายพลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา
นายอดิเทพ ถิระวัฒน์ - ย่อ
นายอดิเทพ ถิระวัฒน์ - ย่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทที่ดิน: การครอบครองที่ดินส่วนบุคคลกับที่สาธารณประโยชน์ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ เป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะผู้ถูกฟ้องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท และต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้กำหนดประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ต่อจำเลยที่ 2 ไว้ แต่จำเลยที่ 2ได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยว่า จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาและสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยสุจริตตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์จึงเท่ากับจำเลยที่ 2 ได้ต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียน ส. ที่ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงจดทะเบียนให้ตามคำขอไม่ได้ จนกว่าจะได้ทำความตกลงกันเองหรือนำคดีไปสู่ศาล เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาสั่งการไปตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายต่อไป จำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาตัวแทนจำหน่ายและผลกระทบจากการไม่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอ พี ดี ให้เแก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงิน เอ พี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอ พี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทตัวแทนจำหน่าย สินค้าค้างชำระ ค่าเอพีดี และหน้าที่คืนสินค้า
โจทก์เป็นผู้กำหนดเงินค่า เอพี ดี ให้แก่จำเลยต่อเมื่อจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ไปจำหน่ายโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละของราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อ และโจทก์ส่งมอบแต่ละครั้ง เมื่อจำเลยยังไม่ได้สั่งสินค้าจากโจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบ เงินเอพี ดี ที่โจทก์จะกำหนดให้จำเลยก็ไม่มี การที่จำเลยทดรองจ่ายเงิน เอพี ดี ไป จึงเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยพลการจำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์ โจทก์ให้สิทธิแก่จำเลยในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีกำหนด 2 ปี เมื่อจำเลยกระทำการอันเป็นการผิดข้อตกลงจนโจทก์ต้องบอกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แก่จำเลย และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยคืนสินค้าที่เหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายในกำหนด ทั้งจำเลยได้ทราบข้อความในหนังสือแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยไม่คืนสินค้าแก่โจทก์โดยปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานย่อมทำให้คุณภาพของสินค้าเสื่อมลงได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในสินค้าเหล่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกัน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ และภาระการพิสูจน์เมื่อมีข้อพิพาท
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด ซึ่งเป็นเอกสารมหาชนแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยผู้มีชื่อในโฉนด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าถูกต้อง จำเลยผู้กล่าวอ้างว่าความจริงโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยซึ่งมิได้เป็นไปตามข้อความในเอกสารนั้น มีภาระการพิสูจน์ให้ปรากฏความจริงตามคำกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127.