คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ: ข้อยกเว้นตามมาตรา 144 และขอบเขตการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยถูกโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยได้ฟ้องขับไล่โจทก์ทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี ส่วนคดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 พิพากษายกฟ้อง การที่ศาลฎีกาได้ส่งคดีที่จำเลยได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่คืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิจารณาและพิพากษาใหม่นั้นคดีดังกล่าวเท่านั้นที่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144(4) ที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ ไม่ ใช่ คดีนี้ซึ่งไม่มีกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำได้ กรณีของโจทก์จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือน และข้อยกเว้นภาษีสำหรับโรงเรือนที่ไม่ได้ให้เช่า
ค่ารายปีที่จะใช้ในการคำนวณภาษีนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะแก้ไขเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมนั้นมิใช่จำนวนอันเป็นการจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้น ฟ้องโจทก์มิได้ยกขึ้นเลยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น จึงต้องถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่มีเหตุพึงกำหนดค่ารายปีเพิ่มขึ้น ส่วนที่กำหนดเพิ่มใหม่จะเป็นค่ารายปีที่ชอบหรือไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่า ค่ารายปีที่ประเมินใหม่นั้นเป็นค่ารายปีที่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้น โจทก์มิได้นำสืบในข้อนี้กรณีต้องฟังว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่นั้นเป็นการประเมินที่ชอบ โรงเรือนที่จะได้รับการยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 9(5) จะต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี และเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่ นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือน โรงเรือนที่พิพาทนั้นมิใช่โรงเรือนที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง การที่ข้อเท็จจริงยุติเพียงว่า โรงเรือนที่พิพาทมิได้ให้เช่านั้นมิได้หมายความว่าโรงเรือนนั้นจะมิได้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นอันจะถือได้เหมือนกับเป็นโรงเรือนซึ่งปิดไว้ตลอดปี ดังนั้นโรงเรือนที่พิพาทของโจทก์จึงไม่อยู่ในข้อยกเว้นที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6111/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือน: อำนาจแก้ไขค่ารายปีและข้อยกเว้นโรงเรือนปิดทำการ
ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 8 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะแก้ไขค่ารายปีเสียใหม่ในแต่ละปีที่จะต้องชำระภาษีได้ ถ้าเห็นว่าค่ารายปีที่กำหนดตามค่าเช่าเดิมมิใช่จำนวนอันสมควรจะให้เช่าได้ในปีที่จะเรียกเก็บภาษีนั้นเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินค่ารายปีแล้วแต่โจทก์อ้างว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่ไม่ชอบ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าค่ารายปีที่ประเมินใหม่สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปีนั้นถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นก็ต้องถือว่าค่ารายปีที่เจ้าพนักงานประเมินใหม่ ชอบแล้ว โรงเรือนที่จะได้รับยกเว้นมิต้องเสียภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 9(5) ต้องเป็นโรงเรือนที่ปิดไว้ตลอดปี การที่โรงเรือนพิพาทมิได้ให้เช่าตลอดปีนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนปิดไว้ตลอดปี กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะได้รับการยกเว้นภาษี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าของขวัญและเครื่องมือช่างโดยไม่ผ่านศุลกากร การตีความข้อยกเว้นอากร และเจตนาฉ้อภาษี
การประกอบอาชีพค้าเพชรเพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไป ถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพ เครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพอันจะได้รับยกเว้นอากร การยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 ยกเว้นให้เฉพาะของส่วนตัว สำหรับผู้นำเข้าใช้เอง เมื่อเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดจำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เอง ดังนั้น ไข่มุก ที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง แม้เพชรและพลอยของกลางจะเป็นของที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรในการนำเข้า แต่เจตนาฉ้อ ภาษีของ รัฐบาล อันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้นเฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรนี้ แม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อ ค่าภาษีของ รัฐบาล ก็เป็นความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าของข้ามแดน การตีความข้อยกเว้นอากร และองค์ประกอบความผิดฐานหลีกเลี่ยงศุลกากร
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร มิได้นิยามความหมายของคำว่า "วิชาชีพ" เอาไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ" ตามความหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบอาชีพใดจะถือว่าเป็นการประกอบวิชาชีพก็ต่อเมื่อจะต้องอาศัยหลักวิชาการแขนงใดแขนงหนึ่งเช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม ฯลฯ หรือวิชาชีพอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนี้ การประกอบอาชีพค้าเพชร ผู้ประกอบอาชีพนี้เพียงแต่อาศัยความรู้ความชำนาญในเรื่องเพชรเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพอื่นธรรมดาทั่วไปเท่านั้น หาจำต้องอาศัยหลักวิชาการเฉพาะทางแขนงใดแขนงหนึ่งดังเช่นวิชาชีพต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นการประกอบอาชีพค้าเพชรจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบวิชาชีพเครื่องชั่งเพชรที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรจึงมิใช่เป็นของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้ในวิชาชีพ อันจะได้รับยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 4ประเภทที่ 5 การยกเว้นอากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503ภาค 4 ประเภทที่ 5 กฎหมายยกเว้นให้แก่ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้าพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จำกัดเฉพาะของส่วนตัวสำหรับผู้นำเข้าใช้เอง ไม่อาจตีความขยายออกไปให้ครอบคลุมถึงของที่ผู้นำเข้าได้นำเข้ามาฝากเป็นของขวัญแก่ผู้อื่นว่ามีผลเท่ากับผู้นำเข้าใช้เองได้ ดังนั้น ไข่มุกที่จำเลยนำเข้ามาเพื่อฝากคนรักของจำเลยจึงมิใช่ของส่วนตัวที่จำเลยนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เอง อันจะได้รับยกเว้นอากรตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นองค์ประกอบความผิดเกี่ยวกับเจตนาพิเศษของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 นั้น เป็นองค์ประกอบความผิดสำหรับความผิดบางฐานเท่านั้น เฉพาะความผิดฐานนำของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรแม้จำเลยจะมิได้มีเจตนาพิเศษที่จะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลก็เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าวได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักลอกนำเพชรและพลอยที่ตกแต่งแล้วอันเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ ซึ่งได้รับการยกเว้นอากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยที่นำเอาเพชรและพลอยเข้ามาในราชอาณาจักรและบรรยายด้วยว่า แม้เพชรและพลอยจะได้รับยกเว้นอากร แต่ต้องผ่านศุลกากรตามวิธีการศุลกากรเพื่อการควบคุมเงินตราและวิธีการนำเข้าของประเภทนี้กับบรรยายว่าจำเลยไม่ได้นำผ่านศุลกากรเสียให้ถูกต้อง จำเลยจึงมีความผิดในเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงข้อห้ามเกี่ยวกับเพชรและพลอยที่นำเข้านั้น ฟ้องของโจทก์จึงบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควร เท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็ฎีกาในปัญหาข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3852/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.ขนส่งทางบก: น้ำหนักรถเกิน 1.6 ตัน ไม่ต้องขออนุญาต
รถยนต์ที่จำเลยใช้เป็นพาหนะในการขนส่งมีน้ำหนักไม่เกินหนึ่งพันหกร้อยกิโลกรัม เป็นการขนส่งที่พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้ใช้บังคับดังนี้การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 23,93,126,151 แห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัย: ผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์, ข้อยกเว้นการรับผิด, และการพิจารณาเกินคำขอ
โจทก์เป็นผู้ช่วยผู้จัดการห้าง ท. ได้รับมอบรถยนต์จากห้างไว้ใช้ โดยโจทก์มีหน้าที่ดูแล รับผิดชอบตลอดจนการซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าวอยู่ในฐานะที่จะเอาประกันภัยได้ ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดัง ที่อ้างในชั้นฎีกาไม่ ดังนั้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัย และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. มอบรถยนต์คันเกิดเหตุของห้างให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการห้างใช้ โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วย เมื่อรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยกับจำเลยได้ กรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยไว้ว่า "การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ" หาได้ระบุว่าผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ไม่ เมื่อ พ. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเอาประกันภัยไว้กับจำเลยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบก พ. จึงมิใช่เป็นบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิด จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอ เพราะศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริงแต่กลับฎีกาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ปัญหาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างป่วย: สิทธิค่าชดเชยเมื่อเหตุป่วยมิใช่ข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงแรงงาน
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานได้กำหนดว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างกระทำการกรณีใดกรณีหนึ่งตามข้อ 47(1)-(6) แต่กรณีของ บ.ลูกจ้างของจำเลยป่วยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานได้ตาม ปกตินั้น เป็นเหตุเกิดตามสภาพร่างกายโดยธรรมชาติ ถือไม่ได้ว่า บ.กระทำการเข้าข้อยกเว้นข้อหนึ่งข้อใดตามประกาศข้อ 47 ดังกล่าวดังนี้เมื่อจำเลยเลิกจ้าง บ. ด้วยเหตุป่วยดังกล่าว บ. จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบุตรบุญธรรมโดยไม่ต้องมียินยอมคู่สมรส เมื่อสามี/ภรรยาขาดการติดต่อ
ขณะที่ ม. ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม โจทก์สามี ม. ผู้ตายไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้ รับข่าวคราวประการใด เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี กรณีต้อง ด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องได้ รับความยินยอมของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1598/25 ดังนี้การจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรมจึงชอบด้วย กฎหมาย.
of 41