คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด แม้หลังมีการเปลี่ยนกฎหมาย
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายในอดีตกับกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการบังคับใช้กฎหมายใหม่
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่ง ก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจกำหนดให้ฝ่ายที่แพ้คดีชำระได้ แม้โจทก์มีทนายความเป็นข้าราชการ
ค่าทนายความเป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงรวมทั้งค่าทนายความนั้นได้ แม้โจทก์เป็นหน่วยราชการมีพนักงานอัยการเป็นทนายความ ศาลก็ใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความให้จำเลย ใช้แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการตำแหน่งสมุห์บัญชีมีอำนาจตรวจสอบภาษีอากร แม้ไม่รายงานอนุมัติสรรพากรจังหวัด การขู่เข็ญเรียกเงินจากผู้เสียภาษีถือเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
จำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นสมุห์บัญชี ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 2 คำว่า "อำเภอ" หมายความว่านายอำเภอหรือสมุห์บัญชีอำเภอและหมายความรวมถึงผู้ทำการแทนจำเลยมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรมีคำสั่งให้สมุห์บัญชีอำเภอมีอำนาจทำการตรวจสอบภาษีอากร โดยให้รายงานขออนุมัติสรรพากรจังหวัดก่อนทำการตรวจสอบฉะนั้น จำเลยจึงมีอำนาจในการตรวจสอบภาษีอากรโดยอาศัยคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากรประกอบกับประมวลรัษฎากร การรายงานขออนุมัติเป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายใน การที่จำเลยไม่รายงานขออนุมัติหาใช่ว่าจำเลยจะไม่มีอำนาจตรวจสอบภาษีอากรไม่ การที่จำเลยไปเรียกตรวจสอบบัญชีภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายมิได้จัดทำบัญชีไว้ จำเลยก็ขู่เข็ญข่มขืนใจเรียกเอาเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะเจ้าพนักงาน: ความแตกต่างระหว่างข้าราชการประจำและกรรมการสภาตำบล
แพทย์ประจำตำบลและครูประชาบาลมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วการที่นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชามีคำสั่งแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยให้ประชาชนในชนบทมีงานทำในฤดูแล้งพ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นการปฏิบัติราชการของอำเภอเช่นนี้ ถือได้ว่าแพทย์ประจำตำบลและครูประชาบาลปฏิบัติงานในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน
ราษฎรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลเมื่อไม่มีกฎหมายระบุให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แม้นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งให้ไปปฏิบัติราชการของอำเภอและราษฎรผู้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาตำบลได้ปฏิบัติงานดังกล่าวแล้ว ก็หาทำให้มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการที่ทำการรังวัดที่ดินผิดพลาด ทำให้เจ้าของที่ดินเสียประโยชน์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมที่ดินจำเลยที่ 1 และเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำแผนที่ ได้ทำการรังวัดและคำนวณเนื้อที่ดินในแผนที่พิพาท ในคดีที่โจทก์ฟ้องผู้มีชื่อผิดพลาดด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่เกินไปจากที่ระบุไว้ในโฉนด ซึ่งความจริงที่ดินของโจทก์มิได้มีเนื้อที่เกินไปจากโฉนดแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ศาลวินิจฉัยฟังว่าที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์และพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำของตัวแทน (ข้าราชการ) ที่ผูกพันนิติบุคคล (โรงพยาบาล) ในการซื้อวัสดุก่อสร้าง
จำเลยที่ 2 มีหนังสือถึงโจทก์แสดงความประสงค์จะขอซื้อคอนกรีตผสมเสร็จตามราคาที่จำเลยที่ 3 ได้มาติดต่อไว้แล้วเพื่อทำถนน ในวันรุ่งขึ้นโจทก์ก็ส่งคอนกรีตผสมเสร็จมาให้ทันทีและทยอยส่งมาให้อีก 2 ครั้ง จนถนนแล้วเสร็จ ซึ่งถ้าหากจำเลยที่ 2 ไม่มีหนังสือแจ้งไปเหตุไฉนโจทก์จะส่งคอนกรีตผสมเสร็จมาให้ ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สนองรับข้อเสนอของจำเลยที่ 2 แล้วโดยสมบูรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างถนนในกิจการของจำเลยที่ 1 ให้แล้วเสร็จภายในเวลากำหนด โดยให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ตัดสินใจในการจัดทำถนนให้เสร็จในกำหนดเวลานั้น เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการในเรื่องทำถนนให้เสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 โดยปริยายในการที่จะต้องสร้างถนนให้ทันตามกำหนดเวลา การที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จจากโจทก์มาสร้างถนนดังกล่าวให้ทันเวลาตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ: ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างการละเว้นหน้าที่กับความเสียหาย
การที่ข้าราชการละเว้นไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางวินัยก็จริงแต่จะถือเป็นหลักแน่นอนตายตัวว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้วต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เสมอไปหาได้ไม่ การที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยกระทำผิดวินัยนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่ตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวร ที่โรงเรียน และนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และ ที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250 เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างการละเว้นหน้าที่กับความเสียหาย
การที่ข้าราชการละเว้นไม่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติราชการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของทางราชการนั้น อาจทำให้ข้าราชการต้องรับผิดในทางวินัยก็จริง แต่จะถือเป็นหลักแน่นอนตายตัว ว่า เมื่อข้าราชการผู้ใดกระทำผิดวินัยแล้วต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 เสมอไป หาได้ไม่การที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในทางละเมิดต่อโจทก์นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าการที่จำเลยกระทำผิดวินัยนั้นเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้โจทก์เสียหาย
จำเลยรับราชการเป็นครู อาจารย์ใหญ่ได้ออกคำสั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นครูเวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ควบคุมคนยามมิให้ละทิ้งหน้าที่แต่ต้องมาอยู่เวรที่โรงเรียนและนอนในห้องที่โรงเรียนจัดไว้ คืนเกิดเหตุจำเลยไม่ได้มาอยู่เวร คงมีแต่ภารโรงทำหน้าที่เป็นคนยาม ระหว่างอยู่ยามรักษาการณ์คนยามได้หลับยาม คนร้ายจึงได้งัดเข้าไปลักทรัพย์ในโรงงานที่ 4 และที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ห่างจากห้องที่ครูเวรนอนออกไปถึง 50 เมตร และ 250เมตร ตามลำดับ ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่ผู้อยู่เวรจะล่วงรู้ได้ ถึงหากจำเลยจะมาอยู่เวรก็ไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดการลักทรัพย์ดังกล่าวขึ้นได้ เพราะไม่มีหน้าที่เป็นคนยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย การที่โรงเรียนถูกลักทรัพย์ จึงไม่ใช่ผลโดยตรง จากการที่จำเลยไม่มาอยู่เวร จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการทุจริตการก่อสร้าง รับรองงานผิดพลาด ทำให้ราชการเสียหาย
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าธุรการของโรงพยาบาลและเป็นกรรมการตรวจการจ้างการก่อสร้างตึก จำเลยทราบดีว่าการก่อสร้างผิดรายการตามแบบแปลนแต่เพิกเฉยเสีย แล้วทำบันทึกตรวจการจ้างรับรองเป็นหลักฐานว่า ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาจ้างจนทางราชการได้อนุมัติจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปครบถ้วนซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162(1) นั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามกฎหมายที่เป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
of 28