คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาจากคำถอนคำร้องทุกข์และการพิจารณาโทษสถานเบาสำหรับความผิดต่อเด็ก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 และข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 279 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 279 เมื่อต่อมามารดาผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษาให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาความผิดฐานนี้ออกจากสารบบความเท่านั้น ส่วนข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ การถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานนี้มาแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องพิจารณาและพิพากษาว่าสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำหน่ายคดีในข้อหาความผิดฐานนี้จากสารบบความด้วย จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการตรวจค้นโดยชอบด้วยกฎหมาย การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน และการพิพากษาคดีอาญา
การจับ ส. ที่บ้านได้กระทำโดยมีหมายจับที่พันตำรวจเอก ร. ออกโดยชอบและหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรี เมื่อแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและแสดงหมายค้น ส. ซึ่งยืนอยู่ด้านในรั้วบ้านได้ปิดล็อกกุญแจรั้วหน้าบ้าน แล้ววิ่งหนีเข้าบ้านไปปิดล็อกกุญแจบ้านด้านในอีกชั้นหนึ่งและไม่ยอมเปิดประตูโดยอ้างว่าจะไปมอบตัวในวันหลัง แสดงว่า ส. ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปจับกุม การที่เจ้าพนักงานตำรวจเข้าไปใช้ไม้กระแทกประตูบ้านที่ปิดล็อกกุญแจด้านในไว้จนเปิดออกแล้วเข้าไปจับ ส. จึงเป็นกรณีจำเป็น ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้จัดการตามหมายค้นมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 94 วรรคสอง
ตามสำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นจับกุมที่บ้าน ส. เวลา 18.02 นาฬิกา แสดงว่าลงมือตรวจค้นตั้งแต่เวลา 18.02 นาฬิกาซึ่งยังเป็นเวลากลางวัน เมื่อยังไม่เสร็จจึงมีอำนาจตรวจค้นจับกุมต่อไป ในเวลากลางคืนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(1)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น เมื่อคำเบิกความของ ส. ซึ่งแม้จะยังไม่จบคำถามค้านของทนายจำเลยประกอบพยานเอกสารที่คู่ความทั้งสองฝ่ายอ้างส่งศาลข้อเท็จจริงพอที่จะวินิจฉัยได้แล้วคดีจึงไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6345-6346/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองสิ้นสุดเมื่อฟ้องไม่ทันตามกรอบเวลา และคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
โจทก์ฎีกา แต่ก่อนจำเลยยื่นคำแก้ฎีกา จำเลยถึงแก่ความตาย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเรียก พ. บุตรจำเลยเข้ามาเป็นคู่ความแทน ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ พ. เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย แต่เมื่อ พ. เป็นทายาทของจำเลย ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งตั้ง พ. เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย
คดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้อง ช. ข้อหาบุกรุกที่ดินพิพาท ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุว่า ช. และจำเลยบุกรุกแย่งการครอบครอง โจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว และคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมผูกพันโจทก์และ ช. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องขอให้บังคับจำเลยทายาทของ ช. ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์มีมาก่อนที่ศาลในคดีส่วนอาญาได้พิพากษาไปแล้วและให้ขับไล่จำเลยกับห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์จำกัดเฉพาะผู้มีอำนาจปกครองหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายในคดีอาญา
ผู้เสียหายเป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับนางเสงี่ยมซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันผู้เสียหายจึงไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วม ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้ใช้อำนาจ ปกครองของผู้เสียหายและมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ เป็นบุตรของโจทก์ร่วมกับ ส. แต่โจทก์ร่วมกับ ส. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เสียหายจึงมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ร่วมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้จดทะเบียนว่าผู้เสียหายเป็นบุตร โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง และมิใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เสียหายที่จะมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(1) จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและไม่มีฐานะเป็นโจทก์ที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา มาตรา 350 กรณีจำเลยโอนทรัพย์สินก่อนฟ้อง และโจทก์รู้หรือควรทราบถึงการโอน
ที่ดินแปลงที่จำเลยโอนขายให้ ด. เป็นแปลงเดียวกับที่โจทก์ขอซื้อจากจำเลยแต่จำเลยโอนให้ไม่ได้เพราะชื่อเจ้าของที่ดินยังเป็นของผู้อื่น ซึ่งโจทก์ก็ไม่ได้ละทิ้ง หากยังติดตามที่ดินแปลงพิพาทอยู่ การที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ไปยื่นคำขอให้ยึดทรัพย์จำเลยโดยหนังสือมอบอำนาจมีข้อความชัดเจนว่าให้ยึดบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินแปลงนี้กับทรัพย์สินภายในบ้าน ดังนั้นการที่จำเลยโอนขายบ้านให้ ด. ก่อนที่โจทก์จะดำเนินการขอยึดนั้น โจทก์ก็ควรจะรู้หรือน่าจะรู้ว่าจำเลยขายที่ดินดังกล่าวไปแล้วตั้งแต่วันที่การไปขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลย ซึ่งเมื่อนับถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้วเกินกว่า 3 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 44 ที่กำหนดให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ได้รับสิทธิในที่ดินจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ซึ่งตามระเบียบคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้โอนสิทธิในที่ดินที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 1) ฯ ข้อ 7 และข้อ 8 เป็นกรณีอนุญาตให้มีการซื้อขายที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด หาใช่ไม่อาจทำการซื้อขายโดยเด็ดขาดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5717/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการพิจารณาคดีเมื่อมีคดีอาญาเชื่อมโยง ศาลฎีกาไม่มีอำนาจสั่งรอ หากอุทธรณ์ยังไม่รับพิจารณา
แม้โจทก์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่ปรากฏว่าศาลฎีกามีคำสั่งให้รับคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาและได้มีการส่งคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้ศาลฎีกาพิจารณาแล้วแต่อย่างใด ฉะนั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้รอการพิจารณาคดีไว้ก่อนจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ศาลฎีกาไม่มีอำนาจพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5662-5663/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรอการบังคับคดีเพื่อรอผลคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทแรงงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
ในระหว่างการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยจะยื่นคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ให้รอการบังคับคดีไว้ก่อนเพื่อรอฟังผลคดีอาญาที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าหากคดีอาญาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างแล้ว จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) นั้น หาได้ไม่ เนื่องจากคดีนี้ไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลใด และกรณีตามคำขอของจำเลยดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นวิธีการเพื่อบังคับตามคำพิพากษา จึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5289/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลไม่จำต้องรอคำพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับการลักทรัพย์เพื่อวินิจฉัยค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้กระทำความผิด ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ส่วนจำเลยให้การว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่โดยการลักทรัพย์ของจำเลย ซึ่งจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาแล้ว อันเป็นการยกข้อต่อสู้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายเงินตามที่โจทก์เรียกร้อง ดังนี้ ศาลแรงงานกลางสามารถฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบแล้ววินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญาในข้อเท็จจริงนั้นก่อน แม้ว่าทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่จำเลยอ้างไว้ในคดีแพ่งและคดีอาญา แต่หากจำเลยจะขอให้บังคับทางแพ่งด้วยก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาทรัพย์ฐานละเมิดเท่านั้น จำเลยจะขอให้เลิกจ้างโจทก์ด้วยไม่ได้ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องรอหรือถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
of 312