คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องความผิดศุลกากรและป่าไม้: การบรรยายฟ้องและลงโทษหลายกรรม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เลื่อยโซ่ยนต์เป็นของต้องห้ามต้องจำกัดตามประกาศของกระทรวงใด ฉบับที่หรือพ.ศ. อะไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 นั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ประกอบกับคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาได้คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ดังนั้นเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ ๆ และระบุการกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรม แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 91มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง ศาลลงโทษจำเลยได้ตามข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ แม้ต่างจากคำฟ้องเดิม
หากข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าต่างจุดประทัดของตนโยนใส่โจทก์ร่วม อันเป็นกรณีที่ต่างคนต่างมีเจตนาทำร้ายโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต่างไปจากคำฟ้องที่ว่าจำเลยทั้งเก้าร่วมกันทำร้ายโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมแล้วเพราะในการกระทำนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งเก้าจะร่วมกันกระทำหรือต่างกระทำผิดตามลำพังจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนก็ย่อมถูกลงโทษเป็นแต่จะลงโทษได้เต็มคำขอของโจทก์และโจทก์ร่วมหรือไม่เท่านั้น ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาดังกล่าวมิใช่ข้อสาระสำคัญและจำเลยทั้งเก้าก็มิได้หลงต่อสู้แต่อย่างใด ศาลย่อมรับฟังลงโทษจำเลยทั้งเก้าแต่ละคนได้ตามข้อเท็จจริงที่ได้ในทางพิจารณานั้นตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7ถึงที่ 9 อุทธรณ์ ทั้งเป็นคดีที่หากศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้ว อาจจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความรับผิดฐานเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องฐานจัดให้มีการเล่นการพนัน และขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเองคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่านี้เป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4449/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องฐานเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นการพนัน ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อความย่อ ศาลฎีกายกประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ในบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จะบรรยายถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นเจ้าบ้านฯ อันเป็นการใช้คำอย่างย่อโดยละข้อความที่จะตามมาเสีย แต่ในเอกสารฉบับเดียวกันนั่นเองเมื่อกล่าวถึงฐานความผิดของจำเลยที่ 1 ก็บรรยายโดยใช้คำเต็มว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นและเมื่อศาลชั้นต้นได้บันทึกใจความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาตรา 19 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าสำนักผู้จัดการให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน จึงย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 นั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพการที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันจึงมิใช่เป็นเรื่องพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังมิได้วินิจฉัยให้ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ไม่ร้ายแรงนัก จึงมีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 และคุมความประพฤติไว้ กรณีเช่นว่าเป็นเหตุในลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 โดยรอการลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานเป็นผู้ร่วมเล่นการพนันอีกฐานหนึ่ง จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้พิพากษาแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดเป็นคำฟ้อง: สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำคู่ความ
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) คำร้องดังกล่าวเป็นคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นคำคู่ความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง มีผลเป็นการไม่รับคำร้องสอด คำสั่งศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม มาตรา 227 และไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องสอดย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำสั่งเป็นต้นไปตามมาตรา 229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจน ศาลไม่รับฟ้อง แม้มีการแก้ไขหลายครั้ง โจทก์อุทธรณ์ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องเพราะคำฟ้องเขียนฟุ่มเฟือย อ่านไม่เข้าใจโจทก์อุทธรณ์อ้างเพียงว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งดังกล่าวและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ กับอ้างว่าโจทก์ใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ศาลตัดสิทธิโจทก์ทั้งที่ทราบว่าคดียังไม่ถึงที่สุดเท่านั้นมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลแรงงานกลางว่าคำฟ้องมิได้เขียนฟุ่มเฟือยและสามารถอ่านเข้าใจได้ พร้อมทั้งเหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือไม่สมบูรณ์ การแก้ไขคำฟ้อง และการดำเนินคดีแทนโจทก์
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9 วรรคสอง มีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการเช่น ให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่ง ทนายความ ในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสองมีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองและการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการ เช่นให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาลแต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่ โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
of 89