คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิพากษา
จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000 บาท แต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 288,000 บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การ และสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพของผู้เสียหาย
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ อ. ไปทำความตกลงเรื่องชดใช้ค่าเสียหายไว้ การที่จำเลยที่ 2 นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในเรื่องดังกล่าว
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว จำเลยที่ 3 ไม่ได้ประมาทด้วย จำเลยที่ 2 กลับยื่นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 1มิได้ประมาทเพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายประมาทร่วมด้วย โดยกล่าวลอย ๆ เพียงเท่านี้ มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพียงไร และจำเลยที่ 3 มีส่วนจะต้องแบ่งความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงไร ดังนั้น การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ประมาทด้วยหรือไม่ ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทซึ่งมีหน้าที่จัดการศพของผู้ตายทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้กระทำละเมิดแม้ว่าจะมีผู้อื่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปลงศพให้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงนอกเหนือคำให้การ และสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพจากผู้ละเมิด
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเรื่องที่โจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ อ. ไปทำความตกลงเรื่องชดใช้ค่าเสียหายไว้การที่จำเลยที่2นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในเรื่องดังกล่าว ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ประมาทเพียงฝ่ายเดียวจำเลยที่3ไม่ได้ประมาทด้วยจำเลยที่2กลับยื่นอุทธรณ์ว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเพียงฝ่ายเดียวแต่จำเลยที่3เป็นฝ่ายประมาทร่วมด้วยโดยกล่าวลอยๆเพียงเท่านี้ มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดในผลเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่1เพียงไรและจำเลยที่3มีส่วนจะต้องแบ่งความรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพียงไรดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยที่3ประมาทด้วยหรือไม่ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงชอบแล้ว โจทก์ทั้งสองเป็นทายาทซึ่งมีหน้าที่จัดการศพของผู้ตายทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1649จึงมีสิทธิเรียกค่าปลงศพจากผู้กระทำละเมิดแม้ว่าจะมีผู้อื่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปลงศพให้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับพิจารณาประเด็นใหม่ในชั้นฎีกา หากจำเลยมิได้ยกขึ้นในคำให้การและชั้นอุทธรณ์
แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้และโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่3โดยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่เนื่องจากจำเลยที่1ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การและจำเลยที่2ได้อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไว้ในชั้นอุทธรณ์แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ว่าจำเลยที่2มิได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาใสศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยนั้นเป็นการไม่ชอบอย่างไรคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับว่าจำเลยที่2ไม่ได้อุทธรณ์ประเด็นที่ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลและโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากจำเลยที่3โดยคบคิดกันฉ้อฉลในชั้นอุทธรณ์ต้องถือว่าประเด็นข้างต้นที่จำเลยที่2ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกานั้นเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ขอบที่จะรับไว้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4981/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การไม่ชัดเจนเรื่องเจ้าของกรรมสิทธิ์, ภาระจำยอมโดยอายุความ, และขอบเขตทางภาระจำยอม
จำเลยให้การว่า โจทก์จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทตามฟ้องหรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่ทราบและไม่รับรอง เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์เพราะเหตุไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินตามฟ้องหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ชาวบ้านซึ่งรวมถึงผู้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ใช้ซอยพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกโดยเจตนาให้ซอยพิพาทเป็นทางภาระจำยอม และระยะเวลาที่ใช้รวมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมโดยอายุความ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382
ทางภาระจำยอมในส่วนที่อยู่ในที่ดินของจำเลยมีความกว้าง3 เมตร และจำเลยได้สร้างรั้วปิดกั้นทางภาระจำยอมส่วนนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าทางภาระจำยอมตามแผนที่ท้ายฟ้องกว้าง 6 เมตร มีความยาวเท่ากับความยาวของที่ดินตามโฉนดของจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่เป็นทางภาระจำยอมกว้างเท่าใด เพราะตามแผนที่ท้ายฟ้องระบุว่าทางภาระจำยอมอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้าง 3 เมตร และอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2และที่ 3 กว้าง 3 เมตร อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้อง ศาลฎีกาจึงแก้ในส่วนนี้ให้ชัดเจน
ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ทั้งแปด โจทก์ที่ 5 มิได้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่โจทก์ที่ 5ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, การแก้ไขคำฟ้อง, และคำให้การที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องในส่วนที่คิดอัตราดอกเบี้ยถึงวันฟ้องให้ตรงกับวันที่ที่โจทก์ยื่นคำฟ้องตามความเป็นจริง ไม่มีผลทำให้ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใดส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเป็นเรื่องที่จะต้องคำนวณให้ถูกต้องอีกขั้นตอนหนึ่ง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
หนังสือมอบอำนาจเป็นกรณีที่ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ที่มิใช่กิจการเฉพาะตัว แทนตัวการ ตัวการย่อมมอบอำนาจให้ตัวแทนทำกิจการใด ๆ ล่วงหน้า รวมทั้งการฟ้องคดีได้โดยไม่จำกัดเวลา และหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนั้นไม่จำต้องระบุบุคคลที่ต้องถูกฟ้องไว้โดยเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ใด ส่วนตัวการจะมีอำนาจฟ้องบุคคลใดได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะพิจารณาในขณะยื่นคำฟ้องว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของตัวการตามกฎหมายแพ่งหรือไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้รวมทั้งฟ้องคดีเรียกร้องหนี้สิน ฯลฯ ด้วย เนื้อหาในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่ ย.ซึ่งเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปจากโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801 ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตที่โจทก์มอบให้ไปใช้จ่ายเพื่อชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ โจทก์ได้แจ้งรายการใช้บัตรเครดิตที่โจทก์จ่ายแทนไปให้จำเลยตามกำหนดในแต่ละเดือน จำเลยไม่นำเงินมาหักทอนบัญชีกับโจทก์เป็นเวลาหลายเดือน ภาระหนี้ ณ วันที่ 26 เมษายน 2533 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 294,702.43 บาท จำเลยให้การปฏิเสธแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะก่อภาระหนี้โดยใช้บัตรเครดิตของโจทก์ ภาระหนี้ที่โจทก์อ้างเกิดขึ้นจากแหล่งอื่นซึ่งเป็นผู้ทำขึ้น จำเลยจึงไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ผิดสัญญาต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยมิได้อ้างเหตุแห่งการนั้นไว้ในคำให้การว่าจำเลยมิได้เป็นลูกหนี้โจทก์ และไม่ได้ผิดสัญญาต่อโจทก์เพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดซึ่งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี, อำนาจฟ้อง, นิติบุคคลต่างประเทศ, อากรแสตมป์, คำให้การไม่ชัดแจ้ง
การมอบอำนาจให้ก.ฟ้องคดีของโจทก์นั้นเมื่อโจทก์แต่ฝ่ายเดียวได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจให้กระทำกิจการติดตามทวงถามหนี้สินตลอดจนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามแทนโจทก์แล้วแม้ก.ไม่ได้ลงชื่อเป็นผู้รับมอบอำนาจด้วยเพียงแต่มาเบิกความยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจก็ตามหนังสือมอบอำนาจย่อมสมบูรณ์และมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายก.จึงมีอำนาจฟ้องคดีของโจทก์ ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์จึงไม่สมบูรณ์ก.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยทั้งสามก็ยกขึ้นฎีกาได้ หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศมีการรับรองโดยโนตารีปับลิก และหัวหน้าฝ่ายกงศุล-เมืองจากาตาร์ประเทศอินโดนีเซียรับรองอีกชั้นหนึ่งว่าได้มีการจัดทำเอกสารขึ้นอย่างแท้จริงหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวถือว่าถูกต้องตามกฎหมายประเภทดังกล่าวแล้วไม่อยู่ในบังคับที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายก.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซีย มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการด้านประมงจำเลยทั้งสามให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศอินโดนีเซียและมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขอออกใบอนุญาตในการทำการประมงภายในขอบข่ายงานการดำเนินการของบริษัทโจทก์กับเรือประมงต่างด้าวเพื่อการประมงในเขตน่านน้ำของประเทศอินโดนีเซีย(อีซีแซด) ตามกฎหมายหรือไม่จำเลยทั้งสามไม่ทราบและไม่ยอมรับว่าโจทก์สามารถที่จะทำได้คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวจึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้แสดงเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบถึงหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งอนุญาตยื่นคำให้การล่าช้าและการยกเลิกวันนัดสืบพยานโดยปริยาย
วันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม2536 โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ นัดไต่สวน ให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน ไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด" กรณีดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการตัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ดังนั้น กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่27 ธันวาคม 2536 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์นั้น ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยาย ที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 27 ธันวาคม 2536 ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย จำเลยไม่มาศาลในวันดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าว และการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน เพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการตามคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การที่ถูกต้อง การนัดสืบพยานย่อมยกเลิกหากยังไม่ได้ไต่สวนคำร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่27ธันวาคม2536และจำเลยทราบนัดแล้วแต่ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่21ธันวาคม2536ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องวันที่7พฤศจิกายน2536จึงได้ติดต่อโจทก์โจทก์นัดให้จำเลยมาทำยอมที่ศาลวันที่17ธันวาคม2536ครั้นถึงกำหนดนัดโจทก์ไม่มาศาลโจทก์หลอกลวงจำเลยเพื่อให้พ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันเดียวกันว่า"สำเนาให้โจทก์นัดไต่สวนให้จำเลยนำส่งภายใน7วันไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด"ดังนี้จำเลยต้องนำส่งสำเนาให้แก่โจทก์ภายในวันที่28ธันวาคม2536ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะส่งหมายให้แก่โจทก์ได้หรือไม่หรืออาจจะต้องปิดหมายตามคำสั่งของศาลชั้นต้นกรณีถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ เมื่อยังไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่หรือมีเหตุสมควรประการอื่นใดศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การตามที่จำเลยร้องขอเมื่อศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนไว้แม้จะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการนัดไต่สวนคำร้องวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในวันที่27ธันวาคม2536ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยายจนกว่าศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วเสร็จและมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การเสียก่อนการที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่27ธันวาคม2536ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยจำเลยไม่มาศาลถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งและวรรคสองเพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าวและการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกันเพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนพิจารณา: ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่ง
วันนัดสืบพยานโจทก์วันที่27ธันวาคม2536ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่21ธันวาคม2536โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันดังกล่าวว่า"สำเนาให้โจทก์นัดไต่สวนให้จำเลยนำส่งภายใน7วันไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด"กรณีดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การทั้งข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใดศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อนก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการนัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การดังนั้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่27ธันวาคม2536ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์นั้นย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยายที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่27ธันวาคม2536ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยจำเลยไม่มาศาลในวันดังกล่าวถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งและวรรคสองเพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าวและการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกันเพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว
of 72