คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองผู้รับโอนสิทธิโดยสุจริต
เมื่อจำเลยครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเป็นเวลากว่า 10 ปี. จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทซึ่งจำเลยอาจอ้างสิทธินี้ยันเจ้าของเดิมได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299วรรคสอง. สิทธิของจำเลยอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น. จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วไม่ได้.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนทำการโดยสุจริต. เมื่อจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า.โจทก์รับโอนที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยไม่สุจริต. คดีต้องฟังว่าโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว.จำเลยอ้างกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยทางครอบครองตามมาตรา1382 ยันโจทก์มิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์, การแก้ไขคำฟ้อง, และการอยู่อาศัยหลังหมดสัญญาไม่ได้รับการคุ้มครอง
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท และโจทก์ตั้งทุนทรัพย์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพียง 1,500 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ขอแก้คำฟ้องที่ว่า จำเลยได้เช่าตึกแถว เลขที่ 493/9 เป็นจำเลยได้เช่าตึกแถวเลขที่ 493/12 ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์พิมพ์เลขผิดพลาด เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยในคดีนี้ระบุไว้ชัดว่าจำเลยตกลงรับเช่าตึกแถว 2 ชั้นห้องหมายเลขทะเบียนที่ 493/12 การขอแก้ไขคำฟ้องที่พิมพ์ผิดพลาด ย่อมไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180ที่โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน
หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว โจทก์ได้บอกเลิกการเช่ากับจำเลย การที่จำเลยอยู่ต่อมาอีก ศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยอยู่โดยละเมิด และถือว่าเงินค่าเช่าที่โจทก์รับไปเดือนละ 200 บาทนั้น เป็นค่าเสียหาย ฉะนั้นเมื่อจำเลยอยู่ต่อมา ฟังไม่ได้ว่าเป็นการเช่าแล้วพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นย่อมไม่คุ้มครองจำเลย
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ไม่ได้คุ้มครองถึงการเรียกร้องค่าเสียหายไว้แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินส่วนตัวภริยาได้รับการคุ้มครอง แม้หลังสมรส และการอายัดทรัพย์ต้องมีจำเลยเป็นผู้ถูกฟ้อง
การที่ผู้ร้องซ่อมแซมบ้านซึ่งปลูกในที่อันเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องอีกทั้งผู้ร้องยังสร้างบ้านขึ้นใหม่อีกหนึ่งหลังในที่ดินดังกล่าวภายหลังจากการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยนั้น เมื่อผู้ร้องได้เอาเงินอันเป็นดอกผลของสินส่วนตัวของผู้ร้องเองใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปลูกสร้างแล้วที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดก็ย่อมเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1464(4) และมาตรา 1465 วรรคท้าย โจทก์จะขออายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ไว้ก่อนมีคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย กรณีจึงไม่เข้าตามมาตรา 254(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สินส่วนตัวของภริยานั้น หาได้มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของสามีผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยไม่ดังนั้น จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 282วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้กับกรณีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไป.บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ. ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์. แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด. และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้. อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป.(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499).
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน. การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์. เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง. ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้. แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา. ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การของจำเลยไม่ถือเป็นการยกข้อต่อสู้เรื่องการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมเช่าฯ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเช่าห้องพิพาทของโจทก์เพื่อประกอบการค้ามีกำหนด 3 ปี จำเลยให้การว่า จำเลยได้ทำสัญญาเช่าห้องพิพาทของโจทก์ เพื่อทำการค้าและอยู่อาศัยเป็นระยะเวลา 3 ปีจริง คำให้การนี้มิได้มุ่งหมาย ที่จะยกข้ออยู่อาศัยขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่สุจริตของผู้ฟ้องร้องและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนย่อมได้รับความคุ้มครอง
พฤติการณ์ที่แสดงถึงความไม่สุจริต
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินของโจทก์ ซึ่งมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ไปทำการโอนขาย เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ไม่สุจริต โจทก์จะอ้างเอาความไม่สุจริตของโจทก์มาขอให้เพิกถอนการโอนจากจำเลยผู้ที่รับโอนที่พิพาทนั้นไว้โดยสุจริต และโดยเสียค่าตอบแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครอง และอำนาจศาลในการงดพิจารณา
ในภาวะแห่งการปฏิวัติ ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ต่อไปธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งหรือกระทำการภายในขอบเขตที่ระบุไว้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายซึ่งย่อมมีผลเป็นธรรมดาว่า ไม่เป็นมูลที่ผู้ใดจะนำมาฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ ศาลย่อมไม่รับฟ้องเช่นว่านั้น หรือถ้ารับฟ้องไว้แล้วก็มิได้หมายความว่าศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้เพราะคำสั่งรับฟ้องเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี ไม่อยู่ในบังคับที่ศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143,145 เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2508 ซึ่งบัญญัติมิให้บุคคลใดฟ้องร้องว่ากล่าวนายกรัฐมนตรีและผู้กระทำการตามคำสั่งนั้น จึงเป็นวิธีการอันพึงดำเนินเมื่อมีการฟ้องร้องคดีอันเป็นกรณีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมิใช่บทบัญญัตินอกเหนือขอบเขตแห่งมาตรา 17 และไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคล ผู้ปฏิบัติเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 เป็นกฎหมายที่ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินมาตรา 17 โดยเฉพาะ มิใช่กฎหมายที่บัญญัติกรณีหนึ่งกรณีใดขึ้นเป็นการตัดสิทธิที่บุคคลจะดำเนินคดีทางศาล จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้างมาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใดๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่ มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียการที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำ ความชักช้าประวิง ยุ่งยากศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดี ไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณาศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าห้องเพื่อเก็บสินค้า ไม่ถือเป็นที่อยู่อาศัย จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะ
จำเลยเช่าห้องพิพาทใช้เป็นที่เก็บสินค้าและสัมภาระซึ่งมีไว้ขายแม้จะมีบริวารของจำเลยหลับนอนในห้องพิพาทก็เพื่อเฝ้าดูแลรักษาสินค้าเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลยห้องพิพาทจึงไม่เป็นที่อยู่อาศัยจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอ้างว่าอาศัยแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเช่าแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ดังนี้แม้โจทก์จะกล่าวถึงมูลกรณีเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ทีแรกโดยการเช่าหรืออาศัยก็ตาม ก็เป็นเพียงการกล่าวถึงมูลกรณีเดิมซึ่งไม่ใช่สารสำคัญเพราะจำเลย จะอยู่โดยการเช่าหรืออาศัยโจทก์ก็ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกจาก ห้องพิพาทโดยชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 แล้ว แสดงว่าการเช่าหรือการอาศัยสิ้นสุดแล้วการอยู่ต่อมาจึงเป็น การละเมิด การที่ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยจึงไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันนัดสืบพยานจำเลยโจทก์ไม่มาศาล ศาลสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยได้ 1 ปากจำเลยขอเลื่อนไป ถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดต่อมา โจทก์มาศาลถือว่าโจทก์มาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่โจทก์จะนำพยานของตนเข้าสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรค 3 อนุมาตรา (1)เพราะจำเลยยังสืบพยานไม่หมดโจทก์จึงมีสิทธินำพยานของตนเข้าสืบตลอดจนระบุอ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองรูปร่างสินค้า: แม้มีลักษณะเหมือนกัน แต่หากไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์ ก็ไม่ถือเป็นการละเมิด
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) เป็นบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องเครื่องหมายการค้า มิได้บังคับในเรื่องรูปทรงลวดลายของสินค้าหรือสิ่งผลิตจึงมิใช่เป็นบทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ ซ้ำกันหรือมีแบบรูปเหมือนคล้ายกัน
เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิในการประดิษฐ์สินค้าแม้จำเลยจะผลิตสินค้ามีรูปลักษณะอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองผู้เช่าในที่ดินควบคุมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยได้เช่าที่พิพาทซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินซึ่งผู้ให้เช่าและผู้เช่าตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันประกาศพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ฉะนั้นที่พิพาทจึงเป็น 'ที่ดินควบคุม' ตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัตินี้ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่จำเลยและบริวาร
of 30