คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าฤชาธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ในการวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งใช้บังคับขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ที่จะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด10 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ มิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้อุทธรณ์ปฏิบัติไม่ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเวลาให้จำเลยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลก็ดี หรือการที่ศาลอุทธรณ์มิได้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น หรือศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาดังกล่าวเสียเองก็ดี หาใช่คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยฎีกาไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีคนอนาถา: การชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลในนามของโจทก์
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้รับการยกเว้นต่อศาลในนามของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1609/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีคนอนาถา: การชำระค่าธรรมเนียมที่ศาลในนามโจทก์
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์นั้น จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมในศาลชั้นต้นที่โจทก์ได้รับการยกเว้นต่อศาลในนามของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม: การลดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดไม่ถือว่าโจทก์ดำเนินคดีไม่สุจริต
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีการที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ต่ำกว่าที่โจทก์ขอมาในฟ้อง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินวางซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเมื่อผู้ซื้อชำระราคาครบถ้วน และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ขอรับเงินที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดครั้งก่อนคืน ซึ่งตามประกาศขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการขายว่า เมื่อตกลงรับซื้อ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินทันที แต่ถ้าเป็นที่ดินหรือทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจให้ผู้ซื้อวางเงินก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระกับค่าใช้จ่ายการเก็บรักษาภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้ และตามรายงานเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ ดังนี้ เงินที่โจทก์วางไว้ในการซื้อทรัพย์ครั้งก่อนเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อไม่ใช่เงินมัดจำ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ ศาลจึงสั่งริบไม่ได้ และในการขายทอดตลาดครั้งหลังโจทก์ก็เป็นผู้ซื้อทรัพย์ในราคาเดิม โจทก์ชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นและชำระราคาครบถ้วนแล้ว กรณีไม่มีความเสียหายใด ๆจึงต้องคืนเงินที่โจทก์วางไว้ดังกล่าวทั้งหมด เหตุที่ต้องมีการขายทอดตลาดครั้งหลังเพราะโจทก์ไม่ชำระราคาภายในเวลาที่กำหนด โจทก์จึงเป็นฝ่ายที่ทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณาใด ๆ ที่ได้ดำเนินไปโดยไม่จำเป็น จึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3924/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความย้ายภูมิลำเนาแล้วไม่ติดตามผลการส่งหมายนัด ถือเป็นเหตุทิ้งฟ้องอุทธรณ์ได้ ศาลพิจารณาค่าฤชาธรรมเนียม
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2534ศาลชั้นต้นสั่งในวันเดียวกันว่า "รับอุทธรณ์ผู้คัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้อง ให้ผู้คัดค้านนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้ร้องภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์" ผู้คัดค้านได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนดแล้ว ต่อมาวันที่ 26 มกราคม 2534พนักงานส่งหมายรายงานว่า ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ น. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องไม่ได้ จากผลดังกล่าวผู้คัดค้านต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วัน ว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปกล่าวคือต้องแถลงภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2534 ต่อมาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 รองจ่าศาลได้รายงานให้ศาลทราบว่า ผู้คัดค้านไม่ได้แถลงภายในกำหนด ถือว่าผู้คัดค้านจงใจทิ้งฟ้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีละเมิดและการรับผิดของลูกหนี้ร่วม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 บัญญัติให้นายจ้างได้รับการชดใช้จากลูกจ้างเฉพาะค่าสินไหมทดแทนที่นายจ้างได้ชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำไว้เท่านั้นค่าฤชาธรรมเนียมในคดีก่อนที่ผู้เสียหายฟ้องนายจ้างและลูกจ้างให้ร่วมกันรับผิดในละเมิดที่ศาลพิพากษาให้คู่ความชดใช้แก่กันนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161ส่วนค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดนั้นศาลวินิจฉัยให้รับผิดชดใช้กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 428 ถึง 447 ซึ่งมิได้กล่าวถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความจะต้องชดใช้กันในคดีละเมิดไว้ ดังนั้นจะถือว่าค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชดใช้ให้ผู้เสียหายในคดีก่อนเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดไม่ได้ นายจ้างจึงฟ้องขอให้ลูกจ้างชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเป็นจำนวนทั้งหมดไม่ได้ แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวมีผลทำให้นายจ้างและลูกจ้างเป็นลูกหนี้ร่วมของผู้เสียหาย ความรับผิดในระหว่างลูกหนี้ร่วมจะต้องเป็นไปตามมาตรา 296 ซึ่งบัญญัติให้ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กันในกรณีนี้นายจ้างจึงมีสิทธิให้ลูกจ้างชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนที่ชำระเกินไปกว่าความรับผิดคืนจากลูกจ้างได้ตามส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมและการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้อง
การกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ย่อมไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยที่ 2รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมด และจำเลยที่ 2มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม จึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะกำหนดค่าขึ้นศาลชั้นต้นใหม่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนชนะคดี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไม่ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องเสียเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่การฝ่าฝืนกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสามจำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์โต้เถียงในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่กำหนดค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นใหม่โดยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ทั้งสามตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนชนะคดี จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้รับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแค่ไหนเพียงไรนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งหมดมานั้นเป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจ มิใช่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายจึงไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้เอง ศาลฎีกาจึงเห็นควรแก้ไขในส่วนนี้เสียให้ถูกต้อง เพราะการพิพากษาคดีโดยไม่ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะพิจารณา
ข้อเท็จจริงตามคำร้องของทนายจำเลยที่ว่า จำเลยเตรียมค่าฤชาธรรมเนียมมาไม่พอวางศาล ทนายจำเลยบอกให้จำเลย ที่ 1 เบิกเงินจากธนาคาร จำเลยที่ 1 เบิกเงินไม่ทัน ยังถือไม่ได้ ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งศาลจะสั่งขยาย ระยะเวลาให้ได้.
of 34