พบผลลัพธ์ทั้งหมด 610 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ำประกัน - การคืนหนังสือค้ำประกันโดยความเข้าใจผิด - ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดชอบ - ไม่ถือเป็นการระงับสิ้นหนี้
จำเลยที่1ได้ยื่นซอง ประกวดราคาเสนอขายเสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรงให้โจทก์ตามใบเสนอราคาเมื่อวันที่4มีนาคม2530โดยให้สนองรับคำเสนอราคานั้นได้ภายใน120วันนับแต่วันที่เสนอราคาคือภายในวันที่2กรกฎาคม2530ต่อมาก่อนครบกำหนดระยะเวลา120วันนั้นจำเลยที่1และโจทก์ได้ตกลงขยายระยะเวลาการยืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปจนถึงวันที่4สิงหาคม2530จำเลยที่1จึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามคำเสนอของตนในใบเสนอราคาภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้มีการขยายการยืนราคาออกไปนั้นการตกลง ขยายระยะเวลายืนราคาตามใบเสนอราคาออกไปมิใช่เป็นการผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามประกาศประกวดราคาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการยื่นซองประกวดราคา แม้ในใจจริงจำเลยที่3 เจตนา ค้ำประกันจำเลยที่1ภายในกำหนดระยะเวลา120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530มิได้เจตนาค้ำประกันจำเลยที่1ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาก็ตามแต่ตามสัญญาค้ำประกันก็มิได้กำหนดระยะเวลาค้ำประกันไว้เพียง120วันนับแต่วันที่4มีนาคม2530แต่จำเลยที่3กลับทำสัญญาค้ำประกันโดยแสดงเจตนาว่าจะไม่เพิกถอนการค้ำประกันในระหว่างเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงเจตนาในใจของจำเลยที่3ว่าต้องการผูกพันเพียง120วันจำเลยที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาตามที่ได้ แสดงเจตนาออกมา การที่โจทก์ได้คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันให้แก่จำเลยที่3ด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ซึ่งโจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่3แม้จำเลยที่3ได้รับหนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็น หลักฐานแห่งหนี้คืนไปซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา327วรรคสามว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตามแต่ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่โจทก์ส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันคืนจำเลยที่3จำเลยที่1ยังไม่ได้มาทำสัญญา ซื้อขายกับโจทก์ตามกำหนดนัดให้ถูกต้องจำเลยที่1ยังต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์ตามประกาศประกวดราคาอยู่และจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698จำเลยที่3จึงจะอ้างว่าเมื่อได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันจากโจทก์โดยสุจริตจำเลยที่3ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้โดยการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน18,327,369 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระเงินจำนวน2,898,257.21 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ เฉพาะโจทก์เท่านั้นที่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพิ่มขึ้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 21,904,294.10 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเพิ่มขึ้น จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ได้จนถึงวันที่หักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้ายไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกัน: สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ร่วมและลูกหนี้ชั้นที่ 2
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมี ก.ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ทั้งจำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวด้วย กรณีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 2และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น ส่วนนางกัลยาเป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้น
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 725 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก.ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก.จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่า ก.ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้หมายความว่า ก.จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3ไปด้วยไม่ มาตรา 693 หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก.ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ ก.และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 341 ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66 บาท ไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้เปลี่ยนตำแหน่งงานและเพิ่มความเสี่ยง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ -จ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่ แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ - จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหน้าที่การงาน ตำแหน่งใหม่เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งพนักงานธุรการ แม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่โจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับจ่ายเงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงินอันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่จำเลยที่ 2 มากขึ้น จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งใหม่แม้จะได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8228/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันเพื่อทุเลาการบังคับคดีมีผลเฉพาะชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำขึ้นเพื่อขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ไม่มีผลเป็นหลักประกันในการทุเลาการบังคับคดีในชั้นฎีกาเป็นการล่วงหน้าไปด้วย แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันใช้ข้อความว่าเมื่อคดีถึงที่สุด จำเลยไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ยินยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินซึ่งนำมาวางไว้เป็นประกัน การประกันก็มีผลในชั้นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายถูกยกไปโดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ สัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ด้วยเงิน ของจำเลยย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยอีกต่อไป จำเลยขอคืนหลักประกัน ที่วางไว้ไปในระหว่างฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8062/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และความรับผิดของผูกพันสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์นำคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยที่1หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ซึ่งมีผลให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ก็ตามก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ซึ่งไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1กลับมีอำนาจฟ้องขึ้นอีกโดยอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น จำเลยที่2เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินของตนประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่3เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่2ของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายล้มละลายที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งและแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ก็ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่2และที่3ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้ำประกัน: ค้ำทั้งหมดรวมดอกเบี้ย ไม่จำกัดวงเงิน
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ ระบุว่าเนื่องในการที่โจทก์ยอมให้บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่าลูกหนี้กู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ เช่น ขายลดเช็ค ฯลฯ จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันชำระหนี้ดังกล่าวมาของลูกหนี้ ภายในวงเงิน 2,500,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระหนี้นั้น ไม่ว่าหนี้เครดิตสินเชื่อหรือความรับผิดชอบนั้นจะมีอยู่แล้วในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้า ทั้งนี้จนกว่าเจ้าหนี้ (โจทก์) จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับชดใช้โดยสิ้นเชิง ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 มิได้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,500,000 บาท แต่รวมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7907/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่ระบุวงเงินรวมดอกเบี้ย
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ระบุว่าเนื่องในการที่โจทก์ยอมรับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่าลูกหนี้กู้ยืมเงินหรือก่อหนี้สินประเภทต่าง ๆ เช่น ขาดลดเช็ค ฯลฯ จำเลยที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันหนี้ดังกล่าวมาของลูกหนี้ ภายในวงเงิน 2,500,000 บาทพร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆในสัญญาที่ก่อให้เกิดภาระหนี้นั้น ไม่ว่าหนี้เครดิตสินเชื่อหรือความรับผิดนั้นจะมีอยู่แล้วในเวลานี้หรือต่อไปในภายหน้าทั้งนี้จนกว่าเจ้าหนี้ (โจทก์) จะได้รับชำระหนี้หรือได้รับชดใช้โดยสินเชิง ข้อความดังกล่าวนี้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2มิได้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำกัดเพียง 2,500,000บาท แต่รวมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกันดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7825/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันแยกจากลูกหนี้ตามสัญญาจ้าง แม้มีข้อตกลงชำระเงินแทนทันที
จำเลยที่3มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นตามสัญญาจ้างคงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันเท่านั้นแม้จะมีข้อกำหนดในหนังสือสัญญาค้ำประกันว่าจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนให้โจทก์ทันทีโดยโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระก่อนก็ไม่ทำให้จำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาจ้างและไม่ทำให้จำเลยที่1กลายเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่1และที่2รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาค้ำประกันร่วมกับจำเลยที่3