พบผลลัพธ์ทั้งหมด 298 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางเรื่องการงดสืบพยาน เนื่องจากเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิภารจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องทางภาระจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วัน มีเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นมีสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) และมาตรา 247
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีวินัยร้ายแรง: การงดสืบพยานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นหลักที่ต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความแถลงรับกันว่าข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นมีอยู่เป็นไปตามคำฟ้องคำให้การ เอกสารท้ายฟ้องท้ายคำให้การ......แล้วสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษาคดีไปนั้น เห็นได้ว่า ข้อเท็จจริงย่อมจะเป็นไปตามข้ออ้างข้อหาในคำฟ้องและขณะเดียวกันก็เป็นไปตามคำให้การด้วยไม่ได้ ลำพังเอกสารที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกขึ้นอ้าง ยังไม่เพียงพอแก่การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นในคดี จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณา ต้องย้อนสำนวนไปให้พิจารณาพิพากษาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานในคดีแรงงาน: ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหา
คดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง โดยอ้างว่าผู้คัดค้านกระทำการทุจริตต่อหน้าที่การงานอันเป็นความผิดร้ายแรงนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านยังให้การต่อสู้อยู่ว่าไม่เคยทุจริตต่อหน้าที่ศาลแรงงานจะสั่งงดสืบพยานผู้ร้องโดยนำคำให้การของพยานชั้นสอบสวน ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนตลอดจนความเห็นแย้งมาวินิจฉัยว่าการกระทำของผู้คัดค้านมิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรงถึงขนาดเลิกจ้างหาได้ไม่ เพราะไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้รับรองถึงความมีอยู่ ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ถือว่าเป็นเอกสารที่ผู้ร้องส่งศาลโดยไม่มีพยานบุคคลประกอบ ไม่มีผู้รับรอง ชอบที่จะดำเนินการสืบพยานในประเด็นแห่งคดีต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีขับไล่มีผลผูกพันคดีโมฆะสัญญาขายฝาก ศาลงดสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ ปรากฏว่ากรณีเดียวกันนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ (คดีนี้) เป็นอีกคดีหนึ่ง ประเด็นคดีดังกล่าวและประเด็นแรกของคดีนี้ตรงกันว่า การขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของโจทก์ (คดีนี้) รับฟังไม่ได้ พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์ (คดีนี้) ก็เท่ากับศาลฎีกาฟังว่าการขายฝากไม่เป็นโมฆะ ทั้งฝ่ายจำเลยก็อ้างสำนวนดังกล่าวเป็นพยานในคดีนี้ด้วย ข้อเท็จจริงจึงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยประเด็นข้อแรกของคดีนี้แล้ว ไม่จำต้องสืบพยาน และเมื่อประเด็นอีกสองข้อเป็นปัญหาข้อกฎหมาย กับข้อที่เป็นผลมาจากการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ซึ่งไม่ต้องสืบพยานเช่นเดียวกันฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานคดีนี้จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีขับไล่มีผลผูกพันคดีโมฆะสัญญาขายฝาก ศาลงดสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ ปรากฏว่ากรณีเดียวกันนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ (คดีนี้) เป็นอีกคดีหนึ่ง ประเด็นคดีดังกล่าวและประเด็นแรกของคดีนี้ตรงกันว่า การขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นโมฆะหรือไม่ เมื่อในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของโจทก์ (คดีนี้) รับฟังไม่ได้ พิพากษายืนให้ขับไล่โจทก์ (คดีนี้) ก็เท่ากับศาลฎีกาฟังว่าการขายฝากไม่เป็นโมฆะ ทั้งฝ่ายจำเลยก็อ้างสำนวนดังกล่าวเป็นพยานในคดีนี้ด้วย ข้อเท็จจริงจึงเพียงพอที่จะนำมาวินิจฉัยประเด็นข้อแรกของคดีนี้แล้ว ไม่จำต้องสืบพยาน และเมื่อประเด็นอีกสองข้อเป็นปัญหาข้อกฎหมาย กับข้อที่เป็นผลมาจากการวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว ซึ่งไม่ต้องสืบพยานเช่นเดียวกันฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานคดีนี้จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเมื่อสัญญาขาดความสมบูรณ์ด้านอากรแสตมป์ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติ ได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานหลักฐานที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงสั่งงดสืบพยานจำเลย และนัดฟังคำพิพากษาได้กรณีของโจทก์ไม่อาจขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนด ทำให้ศาลงดสืบพยานจำเลยได้อย่างชอบธรรม
วันนัดชี้สองสถาน โจทก์จำเลยและทนายทั้งสองฝ่ายมาศาล ลงชื่อทราบนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดโจทก์นำพยานเข้าสืบได้ 2 ปาก แถลงหมดพยานโจทก์ จำเลยไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยาน 3 วัน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบที่ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยเป็นการชอบแล้ว คำร้องขอระบุพยานไม่เป็นคำร้องเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่เป็นคำคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ จำเลยมิได้ระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน จำเลยไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยานได้แม้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 87(2) ได้ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากไม่ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลา
วันนัดชี้สองสถาน โจทก์จำเลยและทนายทั้งสองฝ่ายมาศาล ลงชื่อทราบนัดสืบพยานโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณา ครั้นถึงวันนัดโจทก์นำพยานเข้าสืบได้ 2 ปาก แถลงหมดพยานโจทก์ จำเลยไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยาน 3 วัน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ ที่ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยเป็นการชอบแล้ว
คำร้องขอระบุพยานไม่เป็นคำร้องเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่เป็นคำคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยมิได้ระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน จำเลยไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยานได้แม้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 87(2) ได้ก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำร้องขอระบุพยานไม่เป็นคำร้องเพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่เป็นคำคู่ความเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยมิได้ระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังพยานหลักฐาน จำเลยไม่มีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยานได้แม้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 87(2) ได้ก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)