คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนสมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรนอกสมรสเมื่อมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและเจ้ามรดกมิได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิได้รับมรดก ดังนี้ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรค 2 จำเลยฎีกาไม่ได้
บุตรของหญิงอันเกิดแต่ชายที่มิได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นผู้ร้องสอดขอแบ่งมรดกโดยอ้างว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเกิดแต่เจ้ามรดกและจำเลยซึ่งเป็นมารดา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ศาลไม่แบ่งมรดกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกคืนสินสอดเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส: ต้องเป็นฝ่ายผิดในการไม่จดทะเบียน
สิทธิของขายที่จะเรียกคืนสินสอดตาม ป.พ.พ.ม.1436 ในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้นต้องปรากฎว่า หญิงเป็นฝ่ายผิดไม่ยอมจดทะเบียน
อ้างฎีกาที่ 659/87
ชายหญิงสมรสกันโดยไม่ตั้งใจจดทะเบียนนั้น ภายหลังชายจะมาฟ้องเรียกสินสอดคืนไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนสินสอดทองหมั้นและการถือครองที่ดินร่วม กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ชายหยิงสมรสกันแล้ว +ฝ่ายละเลยไม่ไปจดทเบียนรับว่าเปนความผิดของหยิง+ดังนี้ ขายจะฟ้องเรียกและของหมั้นคืนไม่ได้.
ที่ดินแล้วไส่ชื่อผู้อื่นไนหน้าด้วย ย่อมไม่มีสิทธิขอถอนออก ที่ดินย่อมเปนสิทธิ+จำเลยฟ้องขอไห้สาลสแดงว่า+เจ้าของไนที่ดินแต่ผู้ สาลพิพากสาไห้ที่ดินเปนของโจทและจำเลยคนละครึ่งได้+การนอกประเด็นนอกคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะสามีภรรยาก่อนจดทะเบียนสมรส และสิทธิในทรัพย์มรดก
เปนสามีภรรยากันตามกดหมายมาก่อนแล้วมาจอดทเบีนยสมรสพายหลัง ก็นำสืบถึงการเปนสามีภรรยากันก่อนจดทเบียนได้ ไม่เปนการสืบแก้ไขเอกสาร.
จำเลยไห้การว่าได้เปนสามีภรรยากันมาแต่ปี 2467 แล้วมาจดทเบียนปี 2484 ดังนี้ จำเลยสืบพยานว่าได้แต่งงานกันชอบด้วยกดหมายแต่ปี 2467 ได้ไม่นอกประเด็น.
ฟ้องว่าโจทเปนภรรยาผู้ตายควนได้รับมรดกผู้ตาย ขอไห้ห้ามจำเลยไม่ไห้เกี่ยวข้องดังนี้ แม้สาลล่างตัดสินยืนกันมา ก็ดีกาไนข้อเท็จจิงได้ (โดยเปนคดีเกี่ยวด้วยสิทธิไนครอบครัว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2483

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะสมรส/หมั้น: การไม่จดทะเบียนสมรสและข้อพิพาทเรื่องของหมั้น
ได้แต่งงานกันตามประเพณีแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ถือได้หเพียงว่าเป็นสัญญาจะสมรสหรือหมั้นเท่านั้นในกรณีเช่นนี้ถ้าชายฟ้องเรียกของหมั้นจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นผู้ผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉุดคร่าโดยเจตนาให้กลับไปอยู่กินฉันสามีภรรยา แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไม่เป็นความผิด ม.276
ชายฉุดคร่าหญิงซึ่งเคยได้เสียกับตนโดยทางลับและเข้าใจว่าเป็นภรรยาด้วยเจตนาจะให้ไปอยู่ด้วยกันตามเดิมอีกดดังนี้ไม่มีความผิดตาม ม.276

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเป็นสำคัญในความผิดฐานกระทำอนาจาร แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
สามีฉุดมือลากภรรยาขึ้นรถโดยไม่มีเจตนาจะกระทำอนาจารแก่ภรรยา แม้การสมรสจะมิได้จดทะเบียนตามกฎหมายก็หามีผิดฐานกระทำอนาจารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส ถือเป็นสินสมรส แม้จะลงชื่อในใบไต่สวนก่อนแต่งงาน
มารดาลงชื่อบุตร์ในใบไต่สวนก่อนแต่งงานแต่ได้โฉนดเมื่อแต่งงานแล้ว เปนสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13964/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังจดทะเบียนสมรส: การแบ่งสินสมรสและผลกระทบจากกฎหมายที่ดิน
ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (1) และ 1472 วรรคหนึ่ง หลังจากสมรสโจทก์ร่วมกับจำเลยปลูกสร้างรีสอร์ต ร้านอาหาร และต่อเติมบ้านเป็นร้านเสริมสวย สิ่งปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส แม้โจทก์จะเป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้างก็ตามแต่ก็ต้องได้รับการช่วยเหลือจากจำเลย ที่สำคัญสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโจทก์กับจำเลยใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจร่วมกัน ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ใช้ที่ดินพิพาทปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว กรณีเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท สิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมบนที่ดินพิพาทไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน คงเป็นสินสมรสที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยร่วมกัน จำเลยไม่ยอมเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนให้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกที่ดินพิพาทคืน ส่วนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส เมื่อโจทก์จำเลยยังมีสถานะเป็นสามีภริยาต่อกันตามกฎหมาย โจทก์จำเลยต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 กรณีนี้ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 คือให้โจทก์จำหน่ายเฉพาะที่ดินพิพาทภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด หากไม่ปฏิบัติตามให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น ส่วนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทเป็นสินสมรส จำเลยยังไม่ต้องคืนแก่โจทก์ แต่หากโจทก์ประสงค์จะขายสิ่งปลูกสร้างพร้อมที่ดินที่พิพาทโดยจำเลยยินยอมก็สามารถทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาทจากการปลูกสร้างร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยแล้วจึงจดทะเบียนสมรส ต่อมาหย่าขาดจากกัน โจทก์ออกเงินปลูกสร้างบ้านพิพาทเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน บ้านพิพาทเป็นสินสมรส ขอให้บังคับจำเลยแบ่งบ้านพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง จำเลยให้การว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการปลูกสร้าง ขอให้ยกฟ้อง คดีมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิขอให้จำเลยแบ่งบ้านพิพาทให้กึ่งหนึ่งหรือไม่ แม้พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบจะฟังไม่ได้ว่าบ้านพิพาทเป็นสินสมรส เนื่องจากมีการปลูกสร้างก่อนจดทะเบียนสมรส แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา โจทก์กับจำเลยร่วมกันปลูกสร้างบ้านพิพาทโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยแบ่งบ้านพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นหรือเกินไปกว่าคำขอ
of 16