คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จัดหางาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: พิจารณาความผิดกรรมเดียวต่อเนื่อง ไม่ใช่แยกเป็นหลายกรรม
การได้รับอนุญาตให้จัดหางานนั้นเมื่อได้รับอนุญาตแล้วก็สามารถดำเนินการในการจัดหางานได้ตามเวลาที่กำหนดมิใช่ว่าเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจะจัดหางานให้บุคคลเพียงคนเดียวหรือครั้งเดียวเท่านั้นการพิจารณาว่าจะมีการกระทำผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตหลายกรรมต่างกันหรือไม่นั้นจึงต้องพิจารณาว่าการจัดหางานนั้นได้กระทำต่อเนื่องเป็นคราวเดียวกันหรือไม่มิใช่พิจารณาว่าเป็นการจัดหางานให้แต่ละคนเป็นสำคัญจำเลยจัดหางานให้ผู้เสียหายหลายคนในเวลาที่ต่างกันแต่ก็เป็นเวลาที่ต่อเนื่องติดต่อเป็นคราวเดียวกันมีเจตนาที่จะดำเนินการในการจัดหางานคราวเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องที่ขอให้ลงโทษหลายกรรมก็เป็นเรื่องรับข้อเท็จจริงว่าได้เกิดมีหรือเป็นขึ้นตามฟ้องเท่านั้นหาใช่ว่าเมื่อจำเลยรับสารภาพแล้วจะต้องมีความผิดตามฟ้องเสมอไปไม่การที่จำเลยจะมีความผิดตามฟ้องหรือไม่และเป็นความผิดกรรมเดียวกันหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของศาลที่จะปรับข้อเท็จจริงว่าจะเป็นความผิดกฎหมายใดอย่างไรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185มิใช่จะต้องลงโทษตามที่โจทก์ขอมาเสมอไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจตัวแทนจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางาน ติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตน เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตามกฎหมาย
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1(พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตนเมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำนักงานจัดหางาน: ความรับผิดต่อการลักทรัพย์ของคนรับใช้ - ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยประกอบกิจการสำนักงานจัดหางาน โจทก์ติดต่อให้ทางสำนักงานจำเลยจัดหาคนรับใช้ให้ โดยเสียค่าบำเหน็จแทนคนรับใช้ที่จำเลยจัดหาให้ ต่อมาคนรับใช้ได้หนีออกจากบ้านและลักทรัพย์ของโจทก์ไป ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-537/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจัดหางาน: สำนักงานส่งเสริมอาชีพเข้าข่ายสำนักงานจัดหางานต้องขออนุญาต
สำนักงานของจำเลยรับจัดหางานให้แก่ผู้มาสมัครเข้ารับการอบรมวิชาชีพโดยรับจะฝากเข้าทำงานในสำนักงาน องค์การหรือห้างร้านบริษัทต่าง ๆ การกระทำเช่นนี้ย่อมได้ชื่อว่า เป็นคนกลางระหว่างนายจ้างผู้ต้องการลูกจ้างผู้ต้องการหางานทำโดยคนกลางจะทำให้เปล่าหรือคิดสินจ้างก็ตาม หรือแม้จำเลยจะตั้งสำนักงานนี้เพี้ยนไปว่า สำนักงานส่งเสริมอาชีพ ก็ตาม หรือแม้ถึงว่าจำเลยจะอ้างว่าสำนักงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทจำกัด สำนักงานนี้ก็คงเป็นสำนักงานจัดหางาน ตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วย สำนักงานจัดหางาน พ.ศ. 2475
จำเลยวางแผนหลอกลวงเพื่อฉ้อโกงเอาเงินประชาชนทั่ว ๆ ไป โดยพิมพ์ใบปลิวโฆษณาข้อความอันเป็นเท็จให้ประชาชนหลงเชื่อเพื่อมาสมัครรับการอบรมวิชาชีพ โดยทุกคนต้องส่งมอบเงินให้แก่จำเลยด้วย เมื่อมีผู้หลงเชื่อมาสมัคร จำเลยก็ให้ส่งมอบเงินให้แก่จำเลย แล้วจำเลยก็หาได้ทำการอบรมเป็นกิจลักษณะอย่างใดไม่ จนเป็นที่เห็นว่าผู้สมัครเหล่านั้น จะไม่ได้งานทำตามที่จำเลยโฆษณาไว้ให้หลงเชื่อ ครั้นขอเงินคืน จำเลยก็ไม่มีเงินจะคืนให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ศาลฎีกาพิพากษายืนตามฟ้อง แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องเจตนาหลอกลวง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้ากับพวกซึ่งเป็นคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โดยไม่ได้รับใบอนุญาต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้อง ไม่มีข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่พวกผู้เสียหายเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากพวกผู้เสียหายมาสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ แม้ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งศาลอุทธรณ์มีสิทธิยกขึ้นอ้างได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ. 1782/2554 ของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัย จึงไม่อาจนำมารับฟังได้ว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายทั้งเก้าซึ่งเป็นคนหางาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจจัดหางานต่างประเทศ ต้องมีใบอนุญาต หากไม่มีหลักฐานการเกี่ยวข้อง ศาลยกฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 บัญญัติว่า จัดหางาน หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยจะเรียกหรือรับค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ฉะนั้น ผู้ที่จะมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้จะต้องเป็นที่ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82 แต่โจทก์ก็มีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกับพวกกระทำการอันเป็นการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหางาน เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยประกอบธุรกิจจัดหางาน ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ผู้ถูกหลอกลวงทราบว่าไม่มีใบอนุญาต ก็ยังเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง แม้โจทก์ร่วมจะรู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตจัดหางานก็ไม่มีผลที่จะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินจำนวน 400,000 บาท จากโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองอันเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จะชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 60,000 บาท ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วไม่เป็นผู้เสียหายอีกต่อไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5670/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางาน-สินเชื่อ: จำเลยไม่ได้จัดหางานโดยตรง แต่เป็นตัวกลางอำนวยความสะดวก
พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ประกอบกับมาตรา 4 นิยามคำว่า "จัดหางาน" หมายความว่า ประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง โดยจะเรียกหรือรับค่าบริการตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึงการเรียกเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดเพื่อจัดหางานให้คนหางาน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทั้งสามเพียงแต่เป็นผู้ติดต่อบริษัท ว. ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตให้จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อให้ส่งผู้เสียหายที่ 1 ไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันตามความประสงค์ ผู้จัดหางานให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ที่แท้จริงคือ บริษัท ว. การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 เพื่อที่บริษัท ร. จะได้ค่าตอบแทนเมื่อธนาคารอนุมัติสินเชื่อ ผลประโยชน์ที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมีเพียงค่าตอบแทนในการจัดหาผู้กู้จากบริษัท ร. รวมถึงค่าพาหนะและค่าป่วยการในการดำเนินการดังกล่าวจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งมิใช่เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่จำเลยทั้งสามเรียกเพื่อจัดหางานให้ผู้เสียหายที่ 1 โดยตรง ไม่ต้องด้วยนิยามคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 ข้างต้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4898/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ เรียกเก็บค่าบริการเกินอัตรา และไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้รับอนุญาต
จำเลยทั้งสองได้รับใบอนุญาตจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จำเลยทั้งสองประกาศและรับสมัครคนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ แล้วเรียกค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายเกินอัตราที่รัฐมนตรีกำหนด และไม่ออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกำหนดให้แก่คนหางาน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคสอง ประกอบมาตรา 47 และการกระทำแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดสำเร็จต่างกรรมกัน
สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 36 (1) เป็นบทบังคับให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานต่างประเทศต้องปฏิบัติ จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่มีสัญญาหรือไม่ได้ทำสัญญาจึงไม่มีสัญญาและหลักฐานส่งให้อธิบดีกรมการจัดหางานพิจารณาอนุญาตก่อนไม่ได้
of 16