คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คเพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน และการฉ้อฉลในการฟ้องร้อง
จำเลยที่ 1 มีอาชีพเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ จำเลยที่ 2 ว.และส.เข้าหุ้นส่วนกันสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์โดยว.ลงทุนด้วยเงินสด จำเลยที่ 2 และ ส. ลงทุนด้วยแรงงานโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึง ได้จากกิจการสร้างภาพยนตร์นั้นส่วนโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ ว.20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนที่ ว. นำมาลง และเป็นทนายความประจำสำนักงานภาพยนตร์ของ ว. จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง มอบให้ ว.โดยมีข้อตกลงว่าว. จะบังคับให้ใช้เงินตามเช็คได้ต่อเมื่อภาพยนตร์ที่ร่วมกันสร้างได้ฉาย ทาง โทรทัศน์ จนมีกำไร เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกให้แก่ ว. ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน เมื่อ ว. ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่จัดการชำระบัญชีกันให้ถูกต้อง แล้วกลับโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์รู้ถึงข้อตกลงในการเข้าหุ้นส่วนดังกล่าว เป็นการยืมมือโจทก์ฟ้องย่อมถือว่าโจทก์กับ ว. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คคืนเงินค้างชำระหุ้นส่วน: การโอนเช็คด้วยเจตนาฉ้อฉลทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีอาชีพเป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ จำเลยที่ 2ว.และส.เข้าหุ้นส่วนกันสร้างภาพยนตร์โทรทัศน์โดยว. ลงทุนด้วยเงินสดจำเลยที่ 2 และ ส. ลงทุนด้วยแรงงานโดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้จากกิจการสร้างภาพยนตร์นั้น ส่วนโจทก์เป็นหุ้นส่วนร่วมกับ ว.20เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนที่ว. นำมาลงและเป็นทนายความประจำสำนักงานภาพยนตร์ของ ว. จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลัง มอบให้ว.โดยมีข้อตกลงว่าว. จะบังคับให้ใช้เงินตามเช็คได้ต่อเมื่อภาพยนตร์ที่ร่วมกันสร้างได้ฉายทาง โทรทัศน์ จนมีกำไร เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ออกให้แก่ ว. ผู้ทรงคนก่อนเพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วน เมื่อ ว. ยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาหุ้นส่วนโดยไม่จัดการชำระบัญชีกันให้ถูกต้อง แล้วกลับโอนเช็คให้โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์รู้ถึงข้อตกลงในการเข้าหุ้นส่วนดังกล่าวเป็นการยืมมือโจทก์ฟ้อง ย่อมถือว่าโจทก์กับ ว. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1833/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คที่ปราศจากมูลหนี้โดยเจตนาฉ้อฉล ทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
จำเลยกู้เงินจาก ส.สามีอ. จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส.โดยมอบให้อ. เป็นผู้รับไปต่อมาก่อนเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ส. ขอร้องให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใหม่โดยบอกว่า อ. มิได้นำเช็คที่ยังไม่ได้ขึ้นเงินที่ธนาคาร ไปมอบให้แก่ ส. จำเลยจึงสั่งจ่ายเช็คให้ใหม่แทนเช็คพิพาท เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ปราศจากมูลหนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก อ. โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส.แล้วนำไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ซึ่งเท่ากับโจทก์กระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าโจทก์กับ อ. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย.
ในการวินิจฉัยในประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอนเช็คพิพาทระหว่างโจทก์กับ อ. ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณา ถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้โจทก์รับสลักหลังเช็คพิพาทจาก อ. เมื่อพิจารณา จากทางนำสืบของจำเลยแล้วปรากฏว่า ต้นเหตุที่โจทก์รับสลักหลังเช็คพิพาทจาก อ.ก็เนื่องมาจากโจทก์กับอ.เป็นญาติ กัน และโจทก์ประกอบวิชาชีพทนายความ อ. ซึ่งทราบเรื่องที่จำเลยออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คพิพาทแล้วไปปรึกษากับโจทก์เพื่อหาทางให้ได้รับเงินตามเช็คพิพาทโดยให้โจทก์รับสลักหลังเช็คนั้นแล้วนำมาฟ้องจำเลย เพราะหากให้ อ.ฟ้องเองจำเลยย่อมต่อสู้อ. โดยอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับ อ. ได้ เช่นนี้ ตามรูปเรื่องถือได้ว่าอยู่ในประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1833/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ การฉ้อฉล และอำนาจฟ้อง
จำเลยกู้เงินจาก ส.สามีอ. และสั่งจ่ายเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่ ส.โดยมอบให้อ. เป็นผู้รับไป ก่อนเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ส. ขอร้องให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ใหม่โดยบอกว่า อ.มิได้นำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่ส. จำเลยจึงสั่งจ่ายเช็คให้ใหม่แทนเช็คพิพาท และได้ชำระหนี้ตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ปราศจากมูลหนี้เมื่อโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจาก อ.โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันระหว่างจำเลยกับ ส. แล้วนำไปเข้าบัญชีที่ธนาคาร ซึ่งเท่ากับโจทก์กระทำโดยไม่สุจริต ถือได้ว่าโจทก์กับ อ. คบคิดกันฉ้อฉลจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำเช็คพิพาทมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลย ในการวินิจฉัยในประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าการโอนเช็คพิพาทระหว่างโจทก์กับ อ. ได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยหรือไม่ ศาลจำต้องพิจารณาถึงมูลฐานซึ่งเป็นต้นเหตุให้โจทก์รับสลักหลังเช็คพิพาทจาก อ.เมื่อพิจารณาจากทางนำสืบของจำเลยแล้วปรากฏว่า ต้นเหตุที่โจทก์รับสลักหลังเช็คพิพาทจาก อ.ก็เนื่องมาจากโจทก์กับอ.เป็นญาติกัน และโจทก์ประกอบวิชาชีพทนายความ อ. ซึ่งทราบเรื่องที่จำเลยออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คพิพาทแล้วไปปรึกษากับโจทก์เพื่อหาทางให้ได้รับเงินตามเช็คพิพาทโดยให้โจทก์รับสลักหลังเช็คนั้นแล้วนำมาฟ้องจำเลย เพราะหากให้ อ.ฟ้องเองจำเลยย่อมต่อสู้อ.โดยอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยกับ อ. ได้เช่นนี้ ตามรูปเรื่องถือได้ว่าอยู่ในประเด็นข้อต่อสู้ของจำเลย ศาลย่อมนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คขีดคร่อมและการต่อสู้เรื่องการฉ้อฉลของผู้รับโอน
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายให้แก่บริษัท พ. หรือผู้ถือแม้จะมีการขีดคร่อม แต่มิได้ระบุห้ามโอน จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วน, อำนาจตัวแทน, ภาระจำยอม, การฉ้อฉล, สิทธิฟ้อง
สัญญาเข้าหุ้นส่วนได้ทำที่บริษัท ต. มีข้อความว่าบริษัท ต. โจทก์และ ส. ตกลงเข้าหุ้นกันทำการค้าเกี่ยวกับที่ดินเพื่อหากำไรโดยได้มอบให้โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินหนึ่งแปลง และให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อในสัญญานั้นโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญบริษัท ต. แต่ใต้ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 มีข้อความอยู่ภายในวงเล็บว่าบริษัท ต. โดยจำเลยที่ 1 กำกับไว้ด้วย เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินมาแล้วในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บริษัท ต. ได้ให้ใส่ชื่อ จ. กรรมการคนหนึ่งของบริษัท ต. เป็นผู้ซื้อและเป็นเจ้าของในโฉนดร่วมกับโจทก์ด้วย ครั้นเมื่อขายที่ดินดังกล่าวแล้วโจทก์และบริษัท ต. ต่างได้รับส่วนแบ่งกำไรไป มิใช่จำเลยที่ 1 รับส่วนแบ่งกำไรไปเป็นส่วนตัว แสดงว่าบริษัท ต. ยอมรับเอาสัญญาและยอมผูกพันตามสัญญาดังกล่าวแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. แม้ในสัญญาแบ่งขายที่ดินจะระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียวก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายจากสัญญาเข้าหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ สินสมรส การฉ้อฉล และสิทธิคู่ความในคดีบังคับคดี
การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว การที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย ผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน ผู้ร้องหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ และที่ผู้ร้องอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยเป็นนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากเป็นดังข้ออ้าง ผู้ร้องก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นเสียก่อนจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่ คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้ เมื่อเข้ามาแล้วจำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์สินสมรสและการเพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉล ผู้ร้องต้องฟ้องเพิกถอนก่อนจึงจะขอปล่อยทรัพย์ได้
การขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าว การที่ผู้ร้องอ้างว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยผู้ร้องกับจำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน ผู้ร้องหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ และที่ผู้ร้องอ้างว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลย เป็นนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉลทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากเป็นดังข้ออ้าง ผู้ร้องก็จะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลนั้นเสียก่อน จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความหาได้ไม่
คดีร้องขัดทรัพย์ จำเลยจะเข้ามาในคดีหรือไม่ก็ได้เมื่อเข้ามาแล้ว จำเลยก็มีฐานะเป็นคู่ความ มีสิทธิได้ค่าฤชาธรรมเนียม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสุจริตของผู้ทรงเช็คและการยกเว้นข้อต่อสู้เรื่องการโอนเช็คโดยฉ้อฉล
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตแต่ไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ที่จำเลยให้การว่าทำเช็คพิพาทหายไปไม่เป็นเหตุผลที่จะให้รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วย ชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ใช้ อายุความ 10 ปี หากมิใช่การฉ้อฉล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 114 มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 30