คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชำระเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ แม้จะมีการชำระเงินแล้ว
หนังสือสัญญาระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขาย ข้อความในสัญญามีความว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินกัน ผู้ขายตกลงขายที่ดินบ้านพร้อมด้วยเรือนและครัวให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ขายได้รับเงินจากผู้ซื้อครบถ้วนในวันทำสัญญาและจะส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อในภายหลัง ดังนี้ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาด เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 และ115 ผู้ซื้อไม่มีสิทธิฟ้องบังคับผู้ขายให้ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายได้ ส่วนหน้าที่ของผู้ขายซึ่งจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะซื้อขาย: ผลของการไม่ชำระเงินค้างวดกับระยะเวลาที่สัญญาสิ้นสุด
เอกสารมีข้อความว่า จำเลยสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี ในราคา 124,000 บาท โดยโจทก์ต้องผ่อนส่งเป็นงวด การผ่อนต้องชำระทุกวันที่ 16 ของเดือน ในตอนท้ายมีข้อความว่า "ถ้าหากพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญานี้ไปแล้ว นางยี่สุ่น สนิทวงศ์ (โจทก์) ไม่สามารถจะนำเงินที่ค้างมาซื้อตามที่ตกลงกันในสัญญานี้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุด" ดังนี้ เห็นว่าผลของการไม่ชำระเงินมีอย่างไร ไม่มีข้อความเขียนไว้ แสดงให้เห็นว่า คำมั่นของจำเลยจะสิ้นสุดลงก็เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี โดยโจทก์ไม่สามารถชำระเงินตามจำนวนที่จะซื้อที่ดินคืนได้ คำว่า นำเงินที่ค้างชำระตามงวดมาซื้อ ย่อมเข้าใจได้ว่าหมายความถึงเงินที่กำหนดไว้เป็นงวด ๆ และยังไม่ได้ชำระตามงวด เหตุนี้ แม้จะค้างชำระเงินตามงวดอยู่ สัญญาก็สิ้นสุดลงต่อเมื่อไม่ชำระเงินที่ค้างจนครบ 1 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะขายที่ดิน: ผลของการไม่ชำระเงินค้างชำระและเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญา
เอกสารมีข้อความว่า จำเลยสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปีในราคา 124,000 บาท โดยโจทก์ต้องผ่อนส่งเป็นงวดการผ่อนต้องชำระทุกวันที่ 16 ของเดือนในตอนท้ายมีข้อความว่า 'ถ้าหากพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญานี้ไปแล้ว นางยี่สุ่น สนิทวงศ์ (โจทก์) ไม่สามารถจะนำเงินที่ค้างมาซื้อตามที่ตกลงกันในสัญญานี้ถือว่าสัญญานี้สิ้นสุด'ดังนี้ เห็นว่าผลของการไม่ชำระเงินมีอย่างไร ไม่มีข้อความเขียนไว้แสดงให้เห็นว่า คำมั่นของจำเลยจะสิ้นสุดก็เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีโดยโจทก์ไม่สามารถชำระเงินตามจำนวนที่จะซื้อที่ดินคืนได้คำว่า นำเงินที่ค้างชำระตามงวดมาซื้อย่อมเข้าใจได้ว่าหมายความถึงเงินที่กำหนดไว้เป็นงวดๆ และยังไม่ได้ชำระตามงวดเหตุนี้ แม้จะค้างชำระเงินตามงวดอยู่สัญญาก็สิ้นสุดลงต่อเมื่อไม่ชำระเงินที่ค้างจนครบ 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีการชำระเงินบางส่วนแล้ว ฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ไม่มีเอกสารสัญญา
โจทก์จำเลยร่วมกันยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขอแบ่งขายที่พิพาท โดยโจทก์จะขายให้จำเลยในราคา 4,000 บาท จำเลยตกลงชำระเงินให้โจทก์ในวันยื่นเรื่องราวนั้น 3,000 บาท ส่วนที่ค้างจะชำระในวันหลัง เรื่องราวที่โจทก์จำเลยร่วมกันยื่นนั้น ไม่ใช่สัญญาจะซื้อจะขาย เป็นเพียงหลักฐานแห่งการซื้อขายที่ดินเท่านั้น
ผู้จะซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินที่จะซื้อขายกันให้ผู้จะขายแล้วบางส่วน เป็นสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกันโดยสมบูรณ์ในแบบที่ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว สัญญาแบบนี้ไม่จำต้องมีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ และโจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำพยานบุคคลมาสืบถึงข้อตกลงในการขายที่ดินนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือเพื่อฟ้องบังคับคดีได้ หากมีการวางประจำหรือชำระเงินแล้ว การรับเงินไม่ต้องมีใบรับเงิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาได้กำหนดว่าจะต้องมีหนังสือสัญญาซื้อขายจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เสมอไปไม่หากการซื้อขายมีการวางประจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ย่อมฟ้องร้องได้เช่นกัน
ในการรับเงินค่ากระบือตามกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องมีใบรับเงินมาแสดง คู่กรณีย่อมนำพยานบุคคลมาสืบถึงการรับเงินกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายและผลของการชำระเงินมัดจำ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกระบือ 3 ตัว ราคา 6,000 บาท โจทก์ชำระเงินค่ากระบือให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยรับว่าจะส่งกระบือทั้ง 3 ตัวให้แก่โจทก์ แต่แล้วจำเลยไม่นำกระบือไปให้โจทก์ตามที่ตกลงกัน ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อขาย เมื่อโจทก์ชำระเงินค่ากระบือให้แก่จำเลย ถือได้ว่ามีการชำระหนี้แล้ว โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จากการเช่าซื้อ: สิทธิของผู้เช่าซื้อเมื่อซื้อจากพ่อค้าสุจริตและชำระเงินครบถ้วน
ผู้เช่าซื้อทรัพย์สินจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโดยสุจริต และได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว ทรัพย์สินนั้นย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าในทำนองเดียวกันกับผู้ให้เช่าได้ขายทรัพย์นั้นให้แก่ผู้เช่า จึงถือได้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น และไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินหลังธนาคารปฏิเสธเช็ค: การเริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เช็ค
เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3แล้ว จำเลยจะมีทางพ้นผิดได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามมาตรา 5 เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าธนาคารมิได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าวธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน กับกรณีเรื่องนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่ผู้ทรงเช็คแล้ว และการชำระเงินก็ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 5 เพราะธนาคารไม่ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา และเมื่อไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา จึงไม่มีทางจะถือว่าพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้ คดีจึงเป็นอันเลิกกัน พิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นที่สุด เมื่อมีการชำระเงินแล้ว โจทก์หมดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ทำสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้าง โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัย และว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทกันแล้ว ดังนี้ประเด็นที่สำคัญที่จะต้องวินิจฉัยเบื้องต้น คือ โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมระงับข้อพิพาทกันไว้แล้วจริงหรือไม่ ถ้าได้ทำไว้จริงก็ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป
เมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 1 ได้ปลดเปลื้องไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วก็ไม่มีความรับผิดที่จะให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันใดอีก แม้โจทก์จะไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 ก็ตาม โจทก์หมดสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสัญญาจ้างทำของ, อายุความ, และการชำระเงินก่อนส่งมอบงาน
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า "โดยหนังสือนี้ กรมโยธาเทศบาล (โดยหลวงสัมฤทธิวิศวกรรม อธิบดีกรมโยธาเทศบาล) ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขุมพร (โดยนายแสวง ทิมทอง) เป็นโจทก์ฟ้องนายชิต เทศพิทักษ์ ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานฯ ซึ่งไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขฯ เป็นเหตุให้สะพานฯ ชำรุดและพัง ฯลฯ" เป็นการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร โดยตำแหน่งหน้าที่เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ไม่ใช่มอบอำนาจให้นายแสวง ทิมทอง เป็นส่วนตัว ฟ้องจำเลย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 35/2504)
กรมโยธาเทศบาลมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทน ปลัดจังหวัดในฐานะผู้รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ที่ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้นนั้น หมายถึง การฟ้องร้องในเมื่อได้รับมอบการที่ว่าจ้างนั้นแล้ว
การที่ผู้จ้างชำระค่าจ้างให้ผู้รับจ้างไปก่อนงานเสร็จโดยยังมิได้รับมอบงานที่ทำ งานนั้นวินาศลงและผู้ว่าจ้างเรียกเงินคืน เป็นกรณีเรียกเงินฐานผิดสัญญา มิใช่ฐานลาภมิควรได้จะนำอายุความตามมาตรา419 มาใช้ไม่ได้
of 19