คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ดอกเบี้ยทบต้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยธรรมดา
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้งถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลักจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน ถ้าไม่ชำระยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระเงินคืนใน 30 เมษายน 2495 ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2495 หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: สิทธิคิดดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อสัญญาหมดอายุ
โจทก์ (ธนาคาร) ตกลงให้จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระดอกเบี้ยรายเดือน. ถ้าไม่ชำระ.ยอมให้เอาดอกเบี้ยทบต้นและจะชำระเงินคืนใน 30เมษายน 2495 ครั้นถึงกำหนดดังกล่าว. โจทก์มีหนังสือไปทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดในวันที่30 เมษายน 2495. หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาธนาคารพาณิชย์ และความสมบูรณ์ของสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมาย.มีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์. มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรค 2 โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาธนาคารพาณิชย์: สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ใช้บังคับได้หากไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์ มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้งเอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณาจำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ แม้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีธนาคาร และฟ้องเคลือบคลุมไม่เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมาย.มีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์. มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น. กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง. โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้. เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน. สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์. ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา. จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท. คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์. ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์. เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้. ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ศาลฎีกาตัดสินข้อจำกัดเมื่อมีการเลิกสัญญาและผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด: ข้อจำกัดหลังผิดนัดชำระหนี้ และการเลิกสัญญาระหว่างธนาคารกับลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้นเป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไปทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้วการชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้วฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658-659/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดและผลกระทบเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 655 กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นพิเศษ. ทั้งนี้ แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยทบต้นเข้าด้วยกันจะทำให้จำนวนดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ก็ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3.
ข้อตกลงของจำเลยที่ยอมให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นรายเดือน โดยโจทก์เรียกดอกเบี้ยอยู่แล้วในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น. เป็นข้อตกลงตามประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด จึงใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ.
เมื่อการคิดดอกเบี้ยทบต้นจะกระทำได้เพราะมีประเพณีการค้าเช่น ให้คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัด. ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856,859. และลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีอีกไม่ได้.ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป.ทั้งมาตรา 224 วรรคสองก็บัญญัติมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด.
ตามปกติการผิดนัดย่อมเกิดขึ้นทันทีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญา. แต่กรณีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือ การเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่งเมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว. การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือ ให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว. ฉะนั้น เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไป ก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัด.จนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้ว. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11-12/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ขัดมาตรา 653, ดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาที่ผิดนัดเป็นโมฆะ
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยเช็ค เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงิน จึงนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (อ้างฎีกาที่ 767/2505)
สัญญากู้ที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดที่ให้ชำระรายเดือน ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับต้นเงินทันที และยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเป็นต้นเงินซึ่งจะต้องเสียดอกเบี้ยด้วย เป็นการให้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ทันทีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 255 ข้อตกลงนี้เป็นโมฆะ
of 17