คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตกลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการปิดลำราง: การคืนเงินทุนและการรับผิดในความเสียหาย
สัญญาขุดลำรางเพื่อใช้น้ำร่วมวิธีพิจารณาแพ่งค่าเสียหายโจทก์ไม่ร้อง ศาลให้พอสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตกลงกับการเรียกร้องมรดก: การพิสูจน์กลฉ้อฉลและสิทธิในการฟ้อง
แบ่งมฤดก กลฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13678/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยสิ่งอื่นแทนเงิน การยอมรับของเจ้าหนี้ และผลของการตกลงเพิ่มเติมที่ขัดแย้งกับกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง อันเป็นหลักทั่วไปในเรื่องหนี้ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป" ก็ดี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะในเรื่องเอกเทศสัญญา ลักษณะยืม ที่มีบทบัญญัติว่า "ถ้าทำสัญญากู้ยืมเงินกัน และผู้ให้กู้ยืมยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมไซร้ หนี้อันระงับไปเพราะการชำระเช่นนั้น ท่านให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ" ก็ดี ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญว่าต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ยืมยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ทั้งสิ้น ซึ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสาม มีบทบัญญัติว่า "ความตกลงกันอย่างใด ๆ ขัดกับข้อความดังกล่าวมานี้ ท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น มีความหมายว่า เมื่อผู้ให้กู้ยืมยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมแล้ว หากมีข้อตกลงให้คิดมูลค่าสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นที่ชำระนอกเหนือไปจากจำนวนราคาตามท้องตลาดในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ ก็ถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนี้ การยินยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืมจึงเป็นสิทธิของผู้ให้กู้ยืมฝ่ายเดียวที่จะยินยอมหรือไม่ก็ได้ สัญญากู้ยืมเงิน ข้อ 6 ที่มีข้อความว่า "คู่สัญญาตกลงกันว่า ผู้กู้จะชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินไม่ได้เป็นอันขาด" มิได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด จึงหาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13073/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเปลี่ยนตัวลูกหนี้ในสัญญาเช่าซื้อ ทำให้หนี้เดิมระงับตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยทั้งสองขอโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ยอมรับคำขอของจำเลยทั้งสอง โดยเรียกค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันจากจำเลยทั้งสอง พร้อมทั้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันรายใหม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน เมื่อได้ความว่า โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงทำสัญญาเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้เดิมย่อมระงับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคแรก และมาตรา 350 โจทก์ไม่อาจนำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7899/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม: ศาลต้องสืบราคาบ้านตามตกลงก่อนมิใช่ขายทอดตลาด
โจทก์และจำเลยแถลงรับกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านพิพาท และตกลงกันได้แล้วว่าจะแบ่งกรรมสิทธิ์รวมโดยให้บ้านพิพาทตกเป็นของจำเลย แล้วชำระราคาบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งตามฟ้อง คงมีปัญหาเฉพาะเรื่องราคาบ้านพิพาทซึ่งจำเลยยังไม่ยอมรับราคาตามที่โจทก์ฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1364 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานและพิพากษาให้นำบ้านพิพาทออกขายโดยประมูลราคากันระหว่างโจทก์และจำเลย หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้นำออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละครึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งกรณีเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไร จึงไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานก็ตาม แต่กรณีเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ มิใช่ประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้ จึงเห็นควรให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18043/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในชั้นพิจารณาคดี และการแก้คำให้การหลังจากการตกลงกับผู้เสียหาย
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยทนายความจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดทำคำให้การให้ และศาลชั้นต้นได้สอบถามจำเลยทั้งสองพร้อมบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ประกอบกับจำเลยทั้งสองแถลงว่าประสงค์ที่จะเจรจาเรื่องยอดหนี้ในส่วนแพ่งและขอผ่อนชำระเงินให้ผู้เสียหาย ขอให้นัดพร้อม ต่อมาผู้เสียหายกับจำเลยทั้งสองตกลงกันโดยผู้เสียหายเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท จำเลยทั้งสองขอเวลาหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายสักระยะหนึ่ง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ เมื่อกระบวนพิจารณากระทำในศาลโดยเปิดเผย จึงเป็นการให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจและมิได้สำคัญผิด เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพโดยไม่สมัครใจ จึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้ได้ แม้จำเลยทั้งสองจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อศาลแล้ว การขอแก้คำให้การจำเลยทั้งสองสามารถกระทำได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งสอง อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลถ้าเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 โดยขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การรับสารภาพและให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลเป็นการแก้คำให้การหลังจากที่ได้ให้การรับสารภาพและตกลงกับผู้เสียหายได้แล้ว โดยอ้างเหตุว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิด ผู้ที่กระทำความผิดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทราบคือ พ. กับพวก ซึ่งข้ออ้างของจำเลยทั้งสองแสดงว่าจำเลยทั้งสองรู้แต่แรกแล้วว่าผู้กระทำความผิดเป็นใคร ย่อมไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เช่นนี้ เห็นได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่สามารถหาเงินมาชำระให้ผู้เสียหายตามที่ตกลงกันไว้ได้เพื่อให้มีการสืบพยานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุสมควร ไม่ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ และคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี มิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป เมื่อจำเลยทั้งสองรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การและพิพากษาคดีไปตามคำให้การรับสารภาพจึงชอบแล้ว
ในคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 341 และมีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จำนวน 2,060,000 บาท ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงเงินผู้เสียหายไปและผู้เสียหายยังไม่ได้รับเงินคืนจำนวน 2,060,000 บาท แม้ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้เสียหายแถลงติดใจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในส่วนแพ่งเป็นเงิน 400,000 บาท ก็เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ผู้เสียหายและจำเลยทั้งสองเจรจาตกลงกันเท่านั้น มิใช่ผู้เสียหายไม่ได้รับความเสียหายทางแพ่งตามฟ้อง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็แถลงต่อศาลว่าผู้เสียหายยังติดใจให้จำเลยทั้งสองคืนหรือใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ขอท้ายฟ้อง ดังนี้ โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานหลักฐานในคดีส่วนแพ่งอีก
เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นได้สอบจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยทั้งสองแถลงว่าจะหาทนายความเอง ต่อมาวันที่ 17 ตุลาคม 2554 จำเลยทั้งสองแต่งตั้ง ต. เป็นทนายความ ดังนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง แล้ว ส่วนในวันนัดพร้อมหรือนัดฟังคำพิพากษา ต. ขอถอนตัวจากการเป็นทนายความของจำเลยทั้งสอง และศาลชั้นต้นอนุญาตก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลขอเลื่อนคดีเพื่อให้จำเลยทั้งสองแต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดี แต่จำเลยทั้งสองกลับเจรจาตกลงกับผู้เสียหายเพื่อขอชำระเงินแก่ผู้เสียหายและขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไป แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่ติดใจที่จะให้ทนายความดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในวันดังกล่าว ทั้งต่อมาวันที่ 24 มกราคม 2555 ซึ่งเป็นวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้แต่งตั้งทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณา ดังนี้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง: ข้อความในเอกสารต้องชัดเจนและผู้ส่งต้องตกลงด้วย มิฉะนั้นเป็นโมฆะตามกฎหมาย
ใบกำกับการส่งสินค้าหรือใบเสร็จรับเงินซึ่งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ลูกจ้างของโจทก์ที่นำสินค้ามาส่ง มีข้อความจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และลูกจ้างของโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้ส่งสินค้าไว้ด้วย แต่เอกสารดังกล่าวด้านหน้าตอนท้าย ของเอกสารดังกล่าวเพียงแต่มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า การส่งสินค้าควรประเมินราคาเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และอีกตอนหนึ่งว่า โปรดสังเกตเงื่อนไขในการว่าจ้าง ร.ส.พ. ขนส่งสินค้าอยู่ด้านหลังนี้ ซึ่งด้านหลังของเอกสารดังกล่าวเป็นเงื่อนไขการว่าจ้างร.ส.พ.ขนส่งสินค้าและมีเงื่อนไขตอนหนึ่งระบุว่าการขนส่งพัสดุภัณฑ์อื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ในข้อ ก.และ ข. ผู้ส่งหรือผู้ว่าจ้างยินยอมให้ ร.ส.พ. ชดใช้ค่าเสียหายตามราคาที่เสียหายจริงแต่ไม่เกินวงเงิน 5,000 บาท ต่อเอกสารการขนส่ง 1 ฉบับ ข้อความด้านหน้าตอนท้ายของเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงคำเตือนหรือคำแนะนำให้ผู้ส่งสินค้าปฏิบัติ ไม่มีลักษณะเป็นข้อตกลงที่ชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดระหว่างผู้ขนส่งและผู้ส่งจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 สินค้าประเภทกระดาษอัดรูปและฟิลม์สีที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ขนส่งมีราคาสูง แต่ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่นตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องบอกราคาหรือสภาพแห่งของไว้ในขณะที่ส่งมอบแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในราคาสินค้าที่แท้จริงซึ่งเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 61

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานได้เมื่อทุกฝ่ายตกลง และไม่จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์นำส่งภาพถ่ายสำเนาหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานเอกสารต่อศาล จำเลยที่ 2 ไม่ได้คัดค้านหรือนำสืบโต้แย้งว่าโจทท์มิได้ส่งต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจและนำสำเนาหนังสือมอบอำนาจมาสืบแต่อย่างใด จึงเท่ากับว่าคู่ความที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงให้ศาลยอมรับฟังสำเนาเช่นว่านั้นเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) สำเนาหนังสือมอบอำนาจจึงรับฟังเป็นพยานเอกสารได้ เมื่อเป็นการรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับเอกสาร จึงหาใช่เป็นการรับฟังต้นฉบับเอกสารเป็นพยานหลักฐานอันจะต้องปิดอากรแสตมป์ไม่ และสำเนาหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวก็มิใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสารไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การตกลงของผู้ส่งและผลผูกพันตามใบรับขน
เมื่อพิจารณาใบรับขนทางอากาศด้านหน้า ช่องที่ 9 มีผู้ลงลายมือชื่อใต้ข้อความตัวพิมพ์ที่มีข้อความชัดเจนว่า ผู้ส่งตกลงตามเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศด้านหลังและช่องที่ 3 มีข้อความว่า สินค้าจำนวน 1 กล่อง น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ช่องให้สำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการศุลกากร (TOTAL VALUE FOR CUSTOMS) ซึ่งจะต้องใช้ในการคำนวณภาษีศุลกากร มีข้อความว่า "โปรดดูใบกำกับสินค้า" ส่วนช่องสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง (TOTAL DECLARED VALUE FOR CARRIAGE) ระบุตัวเลข 100 โดยไม่แสดงหน่วยเงินแต่อย่างใด พฤติการณ์ที่ผู้ส่งระบุเพียงตัวเลข 100 น่าเชื่อว่า ผู้ส่งทราบดีว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ผู้ส่งสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งสำหรับสินค้าในหีบห่อไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะจำกัดความรับผิดไว้ในกรณีนี้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 ครั้ง หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าการที่ผู้ส่งกรอกข้อความเช่นนั้น จึงน่าจะเป็นการกรอกรายละเอียดเพื่อให้ผู้ขนส่งคิดค่าระวางขนส่งตามน้ำหนักของสินค้า เพราะหากแจ้งราคามูลค่าสินค้าที่แท้จริงจะต้องเสียค่าธรรมเสียมการขนส่งเพิ่ม และถึงแม้จะเป็นกรณีส่งสินค้าที่มีราคาสูง ผู้ขนส่งก็อนุญาตให้สำแดงราคาไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ และจำกัดความรับผิดไม่เกินมูลค่าที่สำแดง ผู้ส่งน่าจะทราบเงื่อนไขดังกล่าวจึงได้เอาประกันเพื่อความเสี่ยงภัยสูญหาย เสียหายของสินค้าไว้กับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้า จึงเชื่อว่าบริษัท ซ. ผู้ส่งสินค้ารู้และตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ส่งสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาหมั้นไม่เป็นผลผูกพันเมื่อคู่หมั้นไม่ได้ตกลงเรื่องจดทะเบียนสมรส และไม่ได้วางแผนชีวิตคู่ร่วมกัน
การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีเรื่องทะเลาะกันทั้งๆ ที่โจทก์กับจำเลยได้จัดงานแต่งงานใหญ่โต มีแขกไปในงานมากมายและโจทก์กับจำเลยก็ได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันแล้ว ซึ่งการเลิกรากันก็ทำให้เป็นที่อับอายและเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นหญิง ทั้งโจทก์กับจำเลยอยู่กินฉันสามีภริยาเป็นไปโดยไม่ราบรื่น เพราะต่างต้องแยกกันทำงานคนละจังหวัด แทนที่โจทก์จะพยายามทำความเข้าใจกับจำเลยให้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันตามสภาพแต่โจทก์กลับไปแจ้งความว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยทั้งที่เวลาสู่ขอกันไม่มีการตกลงเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่ากรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ทำให้โจทก์ไม่สมควรสมรสกับจำเลย เพราะตามพฤติการณ์แสดงว่าต่างมิได้ยึดถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าที่จะได้อยู่กินด้วยกันตามประเพณีเท่านั้น จึงไม่อาจกล่าวโทษได้ว่า การที่มิได้ไปจดทะเบียนสมรสเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ดังนั้น กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดของจำเลย จำเลยจึงมิได้ผิดสัญญาหมั้น โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดและของหมั้นคืนจากจำเลยได้
of 16