คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำหมิ่นประมาท: ความหมายพิเศษ vs. ความหมายธรรมดา และอายุความ
ศาลล่างฟังว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ไม่มีความหมายเป็นถ้อยคำที่ใส่ความโจทก์ โจทก์ฎีกาว่า ถ้อยคำนั้นมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นความหมายพิเศษเป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์เช่นนี้เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: การตีความ 'ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง' ตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย
ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตามความในพ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 ม.8 นั้นหมายความว่าถ้าผู้ใดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษามาแล้วตั้งแต่ 2 ครั้งหรือกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ก็เรียกว่าไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
จำเลยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาฐานลักทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมาต้องคำพิพากษาจำคุกฐานลักทรัพย์อันเป็นเหตุร้ายคดีนี้ขึ้นอีก กรณีจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม พ.ร.บ. กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 ม.8ด้วย (ฎีกาที่ 714/24+)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: การตีความ 'ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง' ตาม พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย
ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตามความใน พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 นั้นหมายความว่าถ้าผู้ใดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษามาแล้วตั้งแต่ 2 ครั้งหรือกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ก็เรียกว่าไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
จำเลยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาฐานลักทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมาต้องคำพิพากษาจำคุกฐานลักทรัพย์อันเป็นเหตุร้ายในคดีนี้ขึ้นอีก กรณีจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 ด้วย (ฎีกาที่ 714/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำ: การตีความ 'ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง' ตาม พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย
ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ตามความใน พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 นั้นหมายความว่าถ้าผู้ใดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษามาแล้วตั้งแต่ 2 ครั้งหรือกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ก็เรียกว่าไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง
จำเลยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาฐานลักทรัพย์มาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อมาต้องคำพิพากษาจำคุกฐานลักทรัพย์อันเป็นเหตุร้ายในคดีนี้ขึ้นอีก กรณีจึงเข้าเกณฑ์ความผิดตาม พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479 มาตรา 8 ด้วย (ฎีกาที่ 714/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' เป็นข้อเท็จจริง ห้ามฎีกา
พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ พ.ศ. 2490 ไม่ได้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม" ไว้ ฉะนั้นอาวุธปืนใดเป็นอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีอาวุธปืนธรรมดาไว้ในครอบครองผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ มาตรา 7, 72 ปรับ 225 บาท ฯลฯล
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม จึงพิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตาม มาตรา 55, 78 ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 1000 บาท เพิ่มโทษและลดแล้ว คงจำคุก 22 วัน ปรับ 666 บาท 66 สตางค์ โทษจำ คุกให้ยกเสีย ดังนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 220./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้น-อุทธรณ์วินิจฉัยต่างกัน ฎีกาต้องห้าม
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 ไม่ได้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'อาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' ไว้ ฉะนั้นอาวุธปืนใดเป็นอาวุธปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีอาวุธปืนธรรมดาไว้ในครอบครองผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7,72 ปรับ 225 บาท ฯลฯ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม จึงพิพากษาแก้ว่าจำเลยผิดตามมาตรา 55,78 ให้จำคุก 1 เดือนปรับ 1,000 บาทเพิ่มโทษและลดแล้ว คงจำคุก 22 วัน ปรับ 666 บาท 66สตางค์ โทษจำคุกให้ยกเสีย ดังนี้จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความประกาศสมุหเทศาภิบาลเทียบกับ พ.ร.บ.การประมง และการริบของกลางจากการประมงผิดกฎหมาย
คำว่า " ปลา" ก็ดี "วังหาดทรายสูง" ก็ดี ที่ปรากฎในประกาศสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานีฉะบับลงวันที่ 20 กันยายน 2462 มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สัตว์น้ำ" และ "ที่จับสัตว์น้ำ" ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และประกาศของสมุหเทศาภิบาลดังกล่าวยังใช้บังคับได้
ของกลางที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ ตามมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.การประมงที่แก้ไขใหม่บังคับ ให้ริบเสียทั้งสิ้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 631/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อกำหนดในฟ้องและประกาศท้ายฟ้องเพื่อกำหนดความผิดฐานใช้เครื่องมือประมงที่ห้าม
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยทำการประมงโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยใช้เครื่องมือที่ห้ามเด็ดขาดตามประกาศท้ายฟ้อง แต่เมื่อปรากฎว่าตามประกาศท้ายฟ้องนั้นมิได้มีกำหนดห้ามเครื่องมือที่อ้างนั้น ว่าเป็นเครื่องมือที่ห้ามเด็ดขาด ดังนี้แม้จำเลยจะรับสารภาพตามฟ้อง ก็จะฟังว่าจำเลยกระทำผิดฐานใช้เครื่องมือที่ห้ามโดยเด็ดขาดไม่ได้ เพราะต้องถือประกาศท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยจำเลยจึงคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.การประมง 2490 มาตรา 18-62 ไม่ใช่ผิดตามมาตรา 32-65 ฉะนั้นการริบเครื่องมือของกลางจึงอยู่ในดุลยพินิจของศาลตามมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขห้ามโอนกรรมสิทธิในที่ดินพระราชทานต้องตีความอย่างเคร่งครัด และมีขอบเขตจำกัดเฉพาะเงื่อนไขที่ระบุไว้
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมฤดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีที,วอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า "..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน.." นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า " เรื่องเช่นนี้ " จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชการใด ๆ นั้นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทาน: การตีความต้องจำกัด และมีข้อแตกต่างตามแต่ละรัชกาล
การตีความข้อยกเว้นจากหลักทั่วไป ต้องตีความโดยจำกัดเงื่อนไขห้ามการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้ก่อนตายหรือโดยพินัยกรรมจะมีอยู่ได้ก็โดยจำกัดอย่างเคร่งครัด
พระราชหัตถเลขาพระราชทานที่ดิน มีข้อความว่า ยกที่ดินให้เป็นสิทธิแก่ผู้รับผู้เดียว ถ้าผู้รับไม่มีตัวลงเมื่อใดก็ให้ที่ตกเป็นของผู้ที่ควรจะได้รับมรดกตามความพอใจของผู้รับหรือตามพระราชกำหนดกฎหมายต่อไปอีกประการหนึ่งในเวลาที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ถ้าผู้รับจะขายที่รายนี้ให้แก่ผู้ใดต้องบอกให้พระองค์รู้ก่อน เมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้วจึงขายได้ ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดแล้วว่าเมื่อพระองค์ท่านเสด็จสวรรคตแล้ว ผู้รับก็มิต้องขอพระบรมราชานุญาตอย่างใดในการโอน
พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงสั่งไว้ในเรื่องพระทรงพลราบขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตขายที่ดินซึ่งได้รับพระราชทาน ให้แก่นายพีทีวอง เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2471 ซึ่งมีข้อความว่า'..สำหรับกระทรวงเกษตรนั้น จะจัดการตามหน้าที่ ให้ในเรื่องเช่นนี้ได้ต่อเมื่อเจ้าของที่มีหนังสือสำคัญแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขาย ก็ให้จัดการไปได้ถ้าไม่มีหนังสือต้องไม่รับรู้เสียทีเดียว ให้ไปนำหนังสือมาก่อน...'นั้น เป็นพระบรมราชโองการเพื่อวางวิธีการปฏิบัติสำหรับที่ดินที่พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 6 พระราชทานแก่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทของพระองค์ซึ่งยังสับสนกันอยู่เท่านั้น คำว่า'เรื่องเช่นนี้'จะแปลความไปให้หมายถึงที่ดินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ไม่ว่าในรัชกาลใดๆ นั้นหาได้ไม่
of 23