พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606-2616/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้มีการถอนฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทท.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศบริษัทท.ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ขอให้จำเลยคืนเงินค่าใช้จ่ายที่จำเลยรับไปจากโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทด้วยนสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา8(1)อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานส่วนจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในกรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์หรือไม่หรือรับผิดเท่าใดเป็นอีกกรณีหนึ่งมิได้หมายความว่าเมื่อจำเลยปฏิเสธความรับผิดแล้วคดีไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา73วรรคสองห้ามโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลอีกเฉพาะกรณีที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้งอคดีนี้ศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนไปแล้วคดีนั้นจึงไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาแม้จำเลยจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนก็ตามเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาได้ไม่ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อน จำเลยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทตัวการซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์แทนบริษัทตัวการไม่ว่าจำเลยจะได้รับมอบหมายอำนาจแต่เฉพาะการหรือรับมอบอำนาจทั่วไปก็ตามจำเลยย่อมเป็นตัวแทนของบริษัทตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา797การที่จำเลยได้รับอนุญาตให้เป็นผู้จัดหาคนงานตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528ไม่ทำให้ฐานะของจำเลยเปลี่ยนเแปลงไปโดยไม่เป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไปได้ บริษัทตัวการไม่สามารถให้โจทก์ทำงานในต่างประเทศได้ตามปกติจนครบกำหนดตามสัญญาจ้างแรงงานโดยจัดให้โจทก์เข้าทำงานในเดือนแรกส่วนเดือนต่อๆมาโจทก์มิได้เข้าทำงานและมิได้รับค่าจ้างซึ่งมิใช่ความผิดของโจทก์จะถือว่าบริษัทตัวการได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาจ้างแรงงานแล้วหาได้ไม่เมื่อบริษัทตัวการผิดสัญญาต่อโจทก์จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนในประเทศไทยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงานแต่ลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีจากต่างประเทศ: การคัดค้านที่ไม่ชัดเจนไม่เป็นเหตุให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์
หนังสือมอบอำนาจที่ส่งศาลเป็นสำเนาใบมอบอำนาจที่โจทก์กระทำมาจากต่างประเทศ จำเลยคัดค้านว่าโจทก์มิใช่นิติบุคคล และแต่งตั้งผู้รับมอบอำนาจโดยไม่สมบูรณ์แบบ แต่ไม่ได้แสดงเหตุว่าไม่สมบูรณ์แบบเพราะเหตุใด มิได้คัดค้านการมีอยู่และความถูกต้องของสำเนาหนังสือมอบอำนาจต่อศาลตามที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องอย่างถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ถอนฟ้องก่อนจำเลยให้การ ไม่สละสิทธิฟ้องใหม่, สิทธิเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ
ในคดีก่อนนั้นโจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคแรก โจทก์เพียงแต่ยื่นคำบอกกล่าวขอถอนคำฟ้องต่อศาล และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องได้โดยมิต้องสอบถามคู่ความฝ่ายอื่นว่าจะยินยอมหรือไม่อย่างใด การที่โจทก์ยื่นคำบอกกล่าวว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปนั้น ก็มีความหมายแต่เพียงว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีกตามสิทธิของโจทก์ซึ่งตามมาตรา 176 บัญญัติรับรองไว้แต่อย่างใดไม่ ทั้งมิใช่กรณีที่มีการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความกันหรือเทียบได้กับกรณีประนีประนอมยอมความกัน ฟ้องของโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลย เพราะได้ใช้มาก่อนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะที่โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นใน ประเทศไทยแล้ว และขอให้ศาลห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 27 หรือฟ้องคดีเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้ แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทย
จำเลยฎีกาโดยถือตามอุทธรณ์ของจำเลย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
จำเลยจะฎีกาโต้แย้งในประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความซึ่งเป็นข้อที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาครั้งก่อนแล้วอีกหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อน และไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจตัวแทนจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางาน ติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตน เมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาต การมอบอำนาจจัดหางานโดยไม่จดทะเบียนเป็นความผิดตามกฎหมาย
คำว่า 'จัดหางาน' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 หมายความว่า 'การประกอบธุรกิจหางานให้แก่คนหางานหรือหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง'เมื่อปรากฏว่ากฎกระทรวงฉบับที่ 1(พ.ศ.2511)ออกตามความในพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511ข้อ 3 กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานติดต่อรับสมัครคนหางานและจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างได้ภายในเขตท้องที่จังหวัดที่สำนักงานจัดหางานนั้นตั้งอยู่เท่านั้นก็ตามแต่ก็มีข้อยกเว้นว่า การจัดส่งคนหางานให้แก่นายจ้างในต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลางอีกชั้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวมีขอบข่ายบังคับรวมทั้งการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศดังนั้นการที่จำเลยตั้ง ถ. เป็นตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศจึงถือได้ว่าเป็นการมอบอำนาจให้ตัวแทนทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหางานของตนเมื่อจำเลยมิได้จดทะเบียนตัวแทน ย่อมเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งการสืบพยาน และการไม่อนุญาตให้สืบพยานต่างประเทศเมื่อไม่จำเป็น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วต่อมาได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสียและสั่งให้ตัวจำเลยมาเบิกความที่ศาลแทนการส่งประเด็นนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ว่าสมควรจะให้สืบพยานหลักฐานใดในศาลหรือนอกศาลตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานหรือจะให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนก็ได้หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นดังมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ายังไม่เป็นการจำเป็นที่จะให้ส่งประเด็นไปสืบจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ยังต่างประเทศ ศาลก็ชอบจะไม่อนุญาตได้แม้ศาลจะสั่งอนุญาตแล้ว ก็เพิกถอนได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้จึงชอบแล้ว
ศาลให้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดี เมื่อจำเลยมิได้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดีดังที่ศาลสั่ง และมิได้ขอเลื่อนคดี การที่ศาลสั่งว่าคดีเสร็จสำนวนโดยไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบเช่นเดียวกัน และหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยไม่
ศาลให้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดี เมื่อจำเลยมิได้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดีดังที่ศาลสั่ง และมิได้ขอเลื่อนคดี การที่ศาลสั่งว่าคดีเสร็จสำนวนโดยไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบเช่นเดียวกัน และหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนบริษัทต่างประเทศไม่ต้องเสียภาษีจากการจำหน่ายเงินค่าสินค้าที่ลูกค้าส่งไปชำระโดยตรงที่ต่างประเทศ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ทำสัญญาขายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศไทยโดยโจทก์ลงชื่อในสัญญาเป็นผู้ขายในฐานะเป็นตัวแทน โจทก์จึงเป็นตัวแทนของบริษัท น. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้จากการขายสินค้า มิใช่เป็นเพียงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อของบริษัท น. เท่านั้นโจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้สำหรับการขายสินค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524)
(วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) มีหุ้นอยู่ในห้างโจทก์ 99.5 เปอร์เซ็นต์โจทก์จึงเป็นตัวแทนตามกฎหมายประกอบธุรกิจแต่บางส่วนให้กับบริษัทดังกล่าว อันถือได้ว่าเป็น "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ มิใช่เป็นแต่ นายหน้า ตัวแทนค้าต่าง หรือตัวแทนอื่น ๆ ที่มีสถานภาพเป็นอิสระ อย่างแท้จริง ซึ่งกระทำการแต่เพียงเป็นสื่อกลางระหว่างวิสาหกิจหนึ่งของรัฐ ผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งกับผู้ที่จะเป็นลูกค้าในรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่ง โจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาดังกล่าว
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์แต่เพียงว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 76 ทวิ และภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ โดยโจทก์มิได้โต้แย้งจำนวนเงินได้ที่บริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) ได้รับตามที่เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งให้โจทก์ทราบโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้านจำนวนเงินดังกล่าวในชั้นศาล
โจทก์ทราบที่มาของการประเมินทุกขั้นตอนของจำเลยที่ให้โจทก์ในฐานะตัวแทนของบริษัท น. (ประเทศญี่ปุ่น) เสียภาษีในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ทวิ และโจทก์เข้าใจดีแล้ว ดังนั้นแม้คำสั่งของจำเลยให้โจทก์เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะไม่กล่าว ให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือที่มาของจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ จะต้องชำระก็ไม่เป็นการเคลือบคลุมและไม่เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ในการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามประมวลรัษฎากร มาตรา 70 ทวิ นั้น ต้องเป็นผู้จำหน่ายเงินกำไร และเงินที่จำหน่ายนั้นต้องเป็นกำไรโดยแท้จริงหรือที่ถือได้ว่าเป็นกำไร เงินที่ลูกค้าในประเทศไทยที่ส่งไปให้แก่ บริษัท น. ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเงินค่าสินค้าซึ่งลูกค้าเป็นผู้ส่งเองโดยทางเลตเตอร์ออฟเครดิต ถือไม่ได้ว่ามีการจำหน่ายเงินกำไรด้วยเพราะโจทก์มิได้เป็นผู้จำหน่ายเงินจำนวนดังกล่าว โจทก์ จึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 4/2521และคำพิพากษาฎีกาที่ 358/2524)
(วรรคสี่ ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3854/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลไทยพิจารณาคดีที่เกิดในสถานีร่วมต่างประเทศ, การลักลอบนำเข้า, และการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
สถานีรถไฟปาดังเบซาร์อยู่ในประเทศมาเลเซียห่างเขตแดนประเทศไทย 500 เมตร ภายในสถานีมีด่านศุลกากรของไทยและมาเลเซียเมื่อเวลา 8 นาฬิกานายตรวจศุลกากรประจำด่านของไทยยึดเห็ดหอม ไม่ปรากฏเจ้าของมาจากที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟซึ่งอยู่ติดสถานีเพื่อเก็บในด่านศุลกากร ขณะรอคนเปิด ประตูห้องจำเลยเข้ามาแสดงตัวเป็นเจ้าของขอคืน แล้วเกิดทำร้ายกันขึ้น เมื่อเป็นความผิดตามกฎหมายภาษีศุลกากรกับความผิดซึ่งเกี่ยวเนื่องกันคือต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและเอาของกลางไปดังนี้ ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
จำเลยนำเห็ดหอมไปวาง ณ ที่ทำการพนักงานตรวจรถไฟ ยังไม่เป็นความผิดฐานนำสินค้าต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรตาม พระราชบัญญัติศุลกากร ฯ ม.27 แม้เพียงขั้นพยายามกระทำผิด และเมื่อไปนำกลับคืนมาจึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมาย มาตรา142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย คำนวณจากเบี้ยเลี้ยงชีพ-เงินเดือน, การบังคับตามกฎหมายสัญญาต่างประเทศ, สินจ้างบอกกล่าวเกินคำขอ
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10 มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทางการค้าต่างประเทศ: อำนาจฟ้องคดีนามทางการค้าในไทย และหน้าที่การนำสืบหลักฐาน
โจทก์อยู่ต่างประเทศ อ้างสิทธิคำว่า HILTON เป็นนามทางการค้าของโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยใช้นามเดียวกันโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 กรณีเช่นนี้หาได้มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้องและต่อสู้ด้วยว่านามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่
จำเลยให้การว่าไม่รับรองและขอปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับการใช้นามทางการค้าตามฟ้องและต่อสู้ด้วยว่านามที่จำเลยใช้ไม่ใช่นามเดียวกับโจทก์ จำเลยไม่รับรองและปฏิเสธการเป็นนิติบุคคลและวัตถุประสงค์ของโจทก์ รวมทั้งเรื่องการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีด้วย จึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติตามคำฟ้องได้โจทก์จึงยังมีหน้าที่นำสืบอยู่ ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่มีการสืบพยานหาได้ไม่