พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาท/ผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส vs. สินส่วนตัว: ทรัพย์มรดกที่ได้มาระหว่างสมรสก่อน/หลังการแก้ไขกฎหมายแพ่ง
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม6รายการเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมการพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มาเมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับร. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมาตรา1466แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับมีมาตรา1471บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวและมาตรา1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรสจึงเป็นสินสมรสอันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ5เดิมก็ตามก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกเพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิมจึงจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1471มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม4รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน4รายการนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งแม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกทำให้ไม่มีอำนาจขอตั้งผู้จัดการมรดก และเป็นเหตุให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกได้
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้คัดค้าน โดยไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่นอีก ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่มีอำนาจที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่นอีกผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีอำนาจที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา1727วรรคหนึ่ง คดีนี้เดิมผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสายธนะผลซึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน1แปลงโฉนดเลขที่885เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกดังกล่าวจึงขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่12กุมภาพันธ์2534ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของผู้ตาย ต่อมาวันที่21พฤษภาคม2534ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่885ซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายทั้งนี้เพราะผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านแล้วขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องหลังจากนั้นวันที่11ตุลาคม2536ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ว่าคดีที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องผู้คัดค้านขอให้ทำลายพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ให้แก่ผู้คัดค้านนั้นถึงที่สุดตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่509/2534ของศาลชั้นต้นโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกอีกต่อไปคำร้องของผู้ร้องขอจัดการมรดกเป็นความเท็จทำให้ศาลมีคำสั่งไปโดยผิดหลงขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้ทำกินร่วมก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาทอื่นขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองทำกินในทรัพย์มรดกร่วมกับเจ้ามรดกและมารดาจำเลยทั้งสองก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม 10 ปีเศษ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก็ยังครอบครองทรัพย์มรดกนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเกิน 10 ปีแล้ว โดยโจทก์และผู้ร้องสอดไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่แรก ฉะนั้นสิทธิของโจทก์และผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคท้าย สิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองโดยสมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่น ๆ ซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้วไม่
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ ทรัพยสินมรดก และการฟ้องขับไล่ การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อนกับคดีนี้แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใดเท่าใดดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาทกับขอให้ขับไล่จำเลยที่7และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดกแต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750วรรคหนึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: การแบ่งที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด ไม่สามารถบังคับแบ่งตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างบางคนได้
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์กับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในมรดกแทนทายาทคนอื่นด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงซึ่งจำเลยจะต้องแบ่งที่ดินด้านทิศตะวันออกให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิ ของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ เพราะที่ดินทุกส่วน ทายาททุกคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของ สมควรให้เจ้าของรวมทุกคน ได้มีส่วนรู้เห็นและตกลงในการแบ่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวให้แบ่งที่ดินตามที่จำเลยตกลงกับโจทก์เพียงสองคน คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และสิทธิในทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งเท่ากันระหว่างทายาท
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่ 2618 และบ้านทรงไทย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การสละมรดกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ข้อ 14,15 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และสิทธิในทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งเท่ากัน
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่2618และบ้านทรงไทยการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 การสละมรดกนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา1672แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่28กรกฎาคม2481ข้อ14,15และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495มาตรา40กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก