พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเพื่อชี้ขาดสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอน จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวเจ้าของที่ดินเดิมอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ ประเด็นแห่งคดีเดิมจึงมีว่า ที่ดินที่จำเลยใช้สร้างสะพานทางเดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินที่สร้างสะพานทางเดินพิพาทกว้าง 1.5 เมตรยาวประมาณ 37.4 เมตร เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทเดียวกันกับฟ้องเดิม ฟ้องแย้งส่วนนี้ย่อมเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินทั้งสองด้านของที่ดินที่ใช้สร้างทางเดินพิพาทในฟ้องเดิมนั้น เป็นที่ดินติดเป็นผืนเดียวกันกับทางเดินพิพาท เท่ากับจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทกว้างยาวกว่าที่โจทก์ระบุมาในฟ้องเดิม และเป็นการตั้งสิทธิว่าถูกโจทก์โต้แย้งสิทธิตามฟ้องเดิมโดยโจทก์อ้างว่าที่ดินที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนนี้ก็เป็นของโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องแย้งในส่วนนี้มีส่วนสัมพันธ์กับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ฟ้องแย้งในส่วนนี้จึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ทายาทฟ้องแย่งคืนที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิเดียวกัน ศาลพิจารณาถึงคู่ความและประเด็นที่วินิจฉัยแล้ว
โจทก์คดีก่อนและโจทก์คดีนี้แม้จะเป็นบุคคลคนละคนแต่ต่างก็เป็นทายาทของถ. และต่างก็ฟ้องคดีเรียกคืนที่ดินพิพาทโดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทผู้สืบสิทธิจากถ. ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนเดียวกันจึงถือได้ว่าโจทก์คดีก่อนและโจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันและการที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องในคดีก่อนโดยอ้างเหตุว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้วฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขออย่างเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: การได้มาโดยครอบครอง & บุคคลภายนอกฟ้องแย้งสิทธิ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ยังผูกพันอยู่ แต่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งให้ พ. ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองเช่นเดียวกันและสำนักงานที่ดินได้ออกใบแทนโฉนดให้แล้วก่อนที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้ คำสั่งศาลดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจเพิกถอนได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าไม่ต้องจดทะเบียนให้ผู้ใด ให้คู่กรณีไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ไม่เป็นการแก้หรือกลับ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง การที่ผู้ร้องไม่สามารถจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามสิทธิของตนเนื่องจากพ. ผู้ร้องในคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ก่อนอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกมีอำนาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่า พ.ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) จึงชอบที่เสนอคดีต่อศาลอย่างคดีมีข้อพิพาทไม่อาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผลของการซื้อขายที่ตกเป็นโมฆะ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา56ได้แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไขก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับที่10)พ.ศ.2533ใช้บังคับซึ่งมาตรา1476ประกอบด้วยมาตรา1477ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่าสำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิได้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่ การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับพ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตามแต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลังจึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขายเมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากพ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถซึ่งพ. ก็รู้เห็นตลอดมาแต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใดกลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า10ปีจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่าที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็กๆปลูกอยู่ซึ่งพง บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไปแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากพ.ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไรอาศัยพ.อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจากพ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใดการที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง770,000บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้านพ.เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่งถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตจำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8386/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท การแย่งการครอบครอง และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากนาง ว. และจำเลยครอบครองทำประโยชน์เกินกว่าหนึ่งปี ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นคำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์จะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปี นับแต่ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8386/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายและการครอบครองเกินหนึ่งปี ไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากนางว.และจำเลยครอบครองทำประโยชน์เกินกว่าหนึ่งปี ตามคำให้การของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีการอ้างสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้นคำให้การของจำเลยจึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์จะต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเกินหนึ่งปี นับแต่ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8380/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ร้องสอดเป็นคู่ความในคดีที่ดินพิพาท: เหตุสมควรตามพฤติการณ์เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)นั้นศาลจะอนุญาตหรือไม่ต้องแล้วแต่เหตุสมควรตามพฤติการณ์ยังไม่มีการสืบพยานจำเลยส่วนพยานโจทก์ศาลก็งดสืบเพราะเป็นความผิดของโจทก์เองซึ่งหากจะรับคำร้องสอดไว้พิจารณาก็จะทำให้คดีเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้เสร็จไปได้ในคราวเดียวโดยไม่ต้องให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องโจทก์จำเลยใหม่เพราะแม้ผู้ร้องสอดจะฟ้องโจทก์จำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งก็จะต้องสืบพยานโจทก์จำเลยซึ่งน่าจะเป็นพยานชุดเดียวกันทำให้ต้องมีการสืบพยานซ้ำอีกเมื่อกรณีมีเหตุที่ผู้ร้องสอดจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่โดยได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณากรณีมีเหตุสมควรที่จะรับคำร้องสอดของผู้ร้องสอดไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท
ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยซึ่งคู่ความรับกันแล้วว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 378 ของจำเลยออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 15 ของโจทก์คือที่ดินพิพาททั้งแปลง การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าที่ดินแปลงที่สามคือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 15 ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่โจทก์นำชี้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่ติดที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 196 และ 202 แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างการยื่นฎีกานั้นจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 การที่โจทก์ขอถือเอาอุทธรณ์ของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทประเด็นสำคัญกว่าสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้ทำตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จาก ล.สามีจำเลย โดยไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายเป็นหนังสือและจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้เพราะโจทก์ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเกินกว่า20 ปี แล้ว ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก ล. จำเลย ล.สามีจำเลย และ บ.บุตรจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ขอให้ศาลยกฟ้อง ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์จำเลยยกประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้เป็นสาระสำคัญ ส่วนเรื่องสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น โจทก์กล่าวอ้างเพียงให้เห็นว่า ล.สามีจำเลยได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า การซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเฉพาะการซื้อขายเท่านั้นศาลอุทธรณ์ยกเรื่องสิทธิครอบครองขึ้นวินิจฉัยไม่ชอบนั้น ในครั้งแรกศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ด้วย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างไม่ฎีกา ปัญหาว่าคดีมีประเด็นว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาในชั้นนี้อีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทเฉพาะการซื้อขายเท่านั้นศาลอุทธรณ์ยกเรื่องสิทธิครอบครองขึ้นวินิจฉัยไม่ชอบนั้น ในครั้งแรกศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ด้วย และพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ในปัญหาดังกล่าว โจทก์จำเลยต่างไม่ฎีกา ปัญหาว่าคดีมีประเด็นว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาในชั้นนี้อีกหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8108/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทที่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกคืนเงินที่ชำระไป
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3) และตามมาตรา1305 บัญญัติไว้ว่าจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา จึงไม่อาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันได้ การที่โจทก์ที่ 1 กับ อ.ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกันเพราะเข้าใจว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมนั้น สามารถซื้อขายและโอนกันได้โดยไม่ทราบมาก่อนว่าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีกฎหมายห้ามโอนไว้ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 และ อ. เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมว่าสามารถโอนกันได้ จึงเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 เดิมย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องใด ๆ ขึ้น คู่สัญญาปราศจากข้อผูกพันในอันที่จะต้องปฎิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกันนั่นเอง จึงไม่มีกรณีการรอนสิทธิและการส่งมอบทรัพย์สินขาดตกบกพร่อง แต่อย่างไรก็ตามเงินราคาที่ดินพิพาทที่ อ.รับไปจากโจทก์ทั้งสองเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้ จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ อ.จึงต้องคืนเงินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะแล้วถือเสมือนไม่มีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากฝ่ายจำเลยโดยอ้างผลแห่งการผิดสัญญา