คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อทรัพย์สินเปลี่ยนมือไปแล้ว
ขณะที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำ น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่นไปแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่จะถูกบังคับคดี การยึดและการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้โดยสุจริต ก็ไม่มีผลผูกพันที่ดินพิพาท ซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นไปก่อนแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องเรียกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทได้มาสอบถามเสียก่อน ส่วนโจทก์จะได้รับความเสียหายอย่างไรก็สามารถไปฟ้องร้องว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องต่างหากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้ค่าเสียหาย แม้ทรัพย์สินถูกเวนคืน ก็ต้องบังคับคดีตามส่วนที่เหลือ
ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอน การโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากเพิกถอนการ โอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้โจทก์ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นแก่โจทก์ จำเลย ทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล แต่ก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาดังกล่าว ที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ เมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวถูกเวนคืนทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่เปิดช่อง ให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาในลำดับต่อมา คือ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกัน ชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนของคำพิพากษาศาลฎีกาและเป็นการบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้เงิน เมื่อทรัพย์สินถูกเวนคืน สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอื่นชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้าง และสัญญาเช่าสร้างได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์หากเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างให้โจทก์ได้ ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์แม้ก่อนศาลมีคำพิพากษาที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารได้ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ แต่จำเลยที่ 2 หรือที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าสร้าง สัญญาเช่าสร้างจึงยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนไป หากมีการยกเลิกการเวนคืนที่ดินสัญญาเช่าสร้างก็ยังคงมีผลอยู่เช่นเดิม ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนเมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างถูกเวนคืนอันทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างไม่เปิดช่องให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในลำดับต่อมา คือจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การยกเว้นการเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาที่ไม่สอดคล้องกับราคาประเมิน
จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์เคยประเมินราคาที่ดินทั้งสองแปลงไว้ประมาณ8,000,000 บาท แต่ขายทอดตลาดไปในราคา 5,600,000 บาท โดยโจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกในราคาต่ำกว่าที่ดินแปลงที่สองถึง 1,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกันและก่อนขายทอดตลาดจำเลยก็ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินราคาที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 5,432,700 บาท ว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่โจทก์ประเมินไว้และต่ำกว่าราคาตามความเป็นจริงในท้องตลาด เป็นการขายโดยไม่สุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ข้ออ้างตามคำร้องดังกล่าวเป็นเรื่องโต้แย้งราคาขายซึ่งอาจแตกต่างจากการซื้อขายกันตามปกติได้ ส่วนการประเมินราคาก็เป็นการกำหนดราคาไว้ในเบื้องต้นซึ่งไม่แน่นอนแล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ คำร้องของจำเลยจึงมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หรือเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์ได้
จำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ จำเลยเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอก คงมีความหมายเพียงว่าถ้าจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์โดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลย แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่ได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ดังนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง แต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข โจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอกคงมีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่เสนอโดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีข้อความใดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน หลังจากเจ้าพนักงานบังคบคดีงดการบังคับคดีไว้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคบคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3690/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนโอนที่ดินก่อนการบังคับคดี: เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อสิทธิเกิดก่อน
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้ขายทอดตลาดไปแล้ว เพราะเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิจะบังคับยึดที่ดินอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องดังกล่าว การซื้อขายอันเป็นผลมาจากการยึดที่ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยเช่นกันแม้ผู้ร้องจะมิได้คัดค้านว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบอย่างไร แต่ในคำร้องของผู้ร้องพอแปลความได้ว่าการยึดที่ดินและการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวไม่ชอบเพราะผู้ร้องมีสิทธิดีกว่าและขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิกฤตเศรษฐกิจไม่ปลดเปลื้องหนี้ - การบังคับคดีจำนองยังชอบด้วยกฎหมาย
การเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจมีผลกระทบต่อลูกหนี้บางคนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินที่ตนมีต่อสถาบันการเงินได้เหมือนเช่นปกติ แต่จะถือเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเสียทีเดียวไม่ได้ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปโดยเฉพาะจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ยืมไว้กับโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ728 การชำระหนี้ของจำเลยจึงอยู่ในวิสัยที่พึงปฏิบัติได้ จะอ้างวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศมาปลดเปลื้องเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองบางส่วนและการหักหนี้ การบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วม
คดีปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท (ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันไว้) โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป กรณีจึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป และต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ 7,280,180.66 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และมูลหนี้ดังกล่าวจำนวน 1,500,000 บาท เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนอง คำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประจำตำแหน่งข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้
of 270