คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยตามสัญญา vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สัญญามีข้อความตกลงเอาทรัพย์สินออกให้เช่าซื้อ โดยตกลงราคาเป็นเงิน 165,312 บาท กำหนดผ่อนชำระรวม 36 งวด งวดละ 4,592 บาทและกำหนดว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดถือว่าสัญญาเลิกกันทันที เจ้าของริบบรรดาเงินค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระแล้วทั้งหมดเป็นของเจ้าของโดยผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน และผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลัน ใน สภาพเรียบร้อยด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อเอง ยอมให้เจ้าของหรือผู้แทนเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ได้ ถ้าเจ้าของต้องเสียค่าติดตามทรัพย์ ผู้เช่าซื้อต้องชดใช้คืนให้ หรือต้องส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง และเมื่อมีการเลิกสัญญาในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงินให้ริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วเป็นของเจ้าของทรัพย์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อการที่สัญญากำหนดให้เจ้าของมีสิทธิโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้กับบุคคลใดก็ได้และที่สัญญามิได้ระบุกำหนดให้ทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเมื่อจำเลยได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อกลายเป็นสัญญาอื่น ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าเจ้าของขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญานี้ กับค่าเสียหายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ผู้เช่าซื้อจะชดใช้ให้เจ้าของจนครบถ้วน" ถือเป็นข้อสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา และเป็นข้อตกลงยินยอมของคู่สัญญา ย่อมใช้บังคับกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามและข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ข้อสัญญาที่ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้าง"นั้น ค่าเสียหายที่โจทก์ขายทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อไม่ได้ราคาเท่ากับราคาเช่าซื้อ ไม่ใช่เงินที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระตามความหมายของค้างเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามอัตราที่สัญญาดังกล่าวกำหนด คงเรียกได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3076/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากเงินเมื่อเงินสูญหาย แม้เหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 672
จำเลยรับฝากเงินจากโจทก์ จำเลยผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ ฉะนั้น แม้การรับฝากเงินจะไม่มีบำเหน็จค่าฝากและจำเลยจะได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของจำเลยเองก็ตาม เมื่อปรากฏว่าเงินซึ่งฝากนั้นสูญหายเพราะถูกคนร้ายลักไป แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งไม่อาจป้องกันได้ จำเลยก็ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนที่รับฝากไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5087/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองแทนและการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
น. สามีจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเมื่อ น.ตายจำเลยครอบครองต่อมาถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ การที่ น. ไปแจ้งขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ฉะนั้นแม้ น.และจำเลยจะทำประโยชน์ในที่พิพาทมาช้านานเพียงไรก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์เรียกร้องให้คืนที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3980/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้แบ่งสินสมรสเป็นธรรม
ในคดีฟ้องขอให้แยกสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย เมื่อคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้พอเข้าใจได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างก็มีสินเดิม ดังนี้หากจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสินเดิมประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในข้อมีสินเดิมหรือไม่จึงไม่เกิดขึ้น จำเลยไม่มีสิทธินำพยานมาสืบได้ แม้ศาลชั้นต้นให้จำเลยสืบก็เป็นการสืบนอกประเด็น และหากศาลรับวินิจฉัยก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกประเด็นและยังมีประเด็นข้ออื่นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยมาและข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์จำเลยเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาใหม่ โจทก์จำเลยที่ 1 สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5(เดิม) ความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรส กฎหมายลักษณะผัวเมียไม่ได้บัญญัติไว้ว่าให้มีการแยกสินสมรสโดยไม่ได้ฟ้องหย่า แต่ก็ไม่มีบังคับไว้ว่าถ้ายังไม่หย่าจะต้องบริคณห์ทรัพย์สินกันเสมอไปจะแยกมิได้ ฉะนั้นการที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 และ 1484 มาใช้แก่คู่สมรสซึ่งสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(เดิม)จึงไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงการสมรสหรือความสัมพันธ์ในครอบครัวตามความหมายที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4(1) และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4ได้ยกเว้นนั้นแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 โดยเสน่หาโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งสินสมรสดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เยาว์เป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ แม้มีผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินการแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะจะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านยังไม่บรรลุนิติภาวะ แม้จะมีมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินการแทนตามกฎหมายศาลก็ไม่อาจตั้งผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลที่ต้องห้ามตามกฎหมายเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ไม่ใช่เงินปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 แต่มีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
เงินสมทบกองทุนเงินทดแทนที่นายจ้างต้องชำระให้แก่กองทุนเงินทดแทน หาใช่เงินปีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ไม่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากมีวัตถุประสงค์เป็นการเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง ดังนั้นการซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามแบบการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไร
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีระเบียบวิธีปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะไว้แล้ว และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของจำเลยเป็นการเก็งกำไรจากการขึ้นลงของราคาหุ้นมากกว่าประสงค์ให้มีการโอนหุ้นกันจริงจัง จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามแบบของการโอนหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129วรรคสอง ดังนั้น การซื้อขายและโอนหุ้นของโจทก์ให้แก่จำเลยจึงไม่เป็นโมฆะ
of 42