พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงค้าใหม่ต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 หากไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการที่ยื่นไม่ถูกต้อง การประเมินใหม่จึงเป็นการกระทำที่มิชอบ
ภาษีโรงค้านั้นเมื่อทางอำเภอได้ประเมินและผู้เสียภาษีได้ชำระไปแล้ว เจ้าพนักงานจะประเมินใหม่ได้ ก็แต่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 20 กล่าวคือ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้อื่นรายการนั้นมาไต่สวนและเมื่อได้จัดการเช่นว่านี้ และทราบข้อความแล้ว ก็มีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฎได้ เจ้าพนักงานประเมินาจะประเมินค่าภาษีโรงค้าใหม่โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19, 20 ประมวลรัษฎากร ย่อมเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์ เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไป จึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้ จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์ เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไป จึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้ จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงค้าใหม่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 เท่านั้น
ภาษีโรงค้านั้นเมื่อทางอำเภอได้ประเมินและผู้เสียภาษีได้ชำระไปแล้ว เจ้าพนักงานจะประเมินใหม่ได้ ก็แต่กรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 กล่าวคือเมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและเมื่อได้จัดการเช่นว่านี้ และทราบข้อความแล้ว ก็มีอำนาจที่จะแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏได้เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินค่าภาษีโรงค้าใหม่โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 ประมวลรัษฎากรย่อมเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไปจึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยประเมินค่าภาษีโรงค้าจากโจทก์เป็นการสมควรแล้ว จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเรียกเงินค่าภาษีที่ชำระแล้ว คืนบางส่วน โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยประเมินภาษีมากเกินไป แต่ที่จำเลยเสียภาษีตามที่ประเมินไว้ครั้งแรกก็น้อยเกินไปจึงพิพากษาแก้ลดจำนวนเงินลงมาจากที่จำเลยประเมินไว้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ดังนี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกข้อกฎหมายขึ้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยประเมินค่าภาษีใหม่นั้น เป็นการผิดกฎหมายประมวลรัษฎากร จึงไม่มีอำนาจประเมินใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงรายการปริมาณข้าวผิดพลาดตามประมวลรัษฎากร ไม่ถือว่าไม่แสดงรายการ จึงไม่เสียเงินเพิ่ม 10 เท่า
ผู้ทำการโรงสี ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำบัญชีแสดงรายการปริมาณข้าวซึ่งมีอยู่ ได้มาและขายไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 201 นั้นถ้าไม่แสดงรายการปริมาณข้าวดังกล่าวแล้ว ย่อมเข้ามาตรา 202 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งจะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 10 เท่า แต่ถ้าได้แสดงรายการปริมาณข้าวแล้วแต่ลงจำนวนข้าวผิดไปเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องไม่แสดงรายการตามมาตรา 202 ฉะนั้นจึงจะเรียกเงินเพิ่ม 10 เท่าจากผู้ทำการโรงสีไม่ได้ถ้าเรียกเพิ่มไว้แล้ว ผู้ทำการโรงสีฟ้องเรียกคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'รายละ' ในความผิดประมวลรัษฎากร: พิจารณาความผิดต่างกรรมต่างวาระ
คำว่า "รายละ" ตามม.142 หมายถึงความผิดที่ต่างกรรมต่างวาระตามกฎหมายลักษณอาญา,จัดให้มีการแสดงมหรสพโดยไม่ได้ปิดอากรแสตมป์เลยนั้น เป็นความผิดกะทงเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินลดทุนบริษัทเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(4)(ง) การไม่นำมารวมคำนวณภาษีถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เงินได้พึงประเมินนั้น คือเงินได้ประเภทต่อไปนี้... (4) เงินได้ที่เป็น (ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน" เดิมบริษัทมีทุนจดทะเบียน 35,000,000 วันที่ 27 เมษายน 2549 บริษัทจดทะเบียนลดทุนเหลือ 29,000,000 บาท งบดุลของบริษัทรอบระยะเวลาบัญชีปี 2548 ก่อนการคืนเงินลงทุนมีกำไรสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จำนวน 14,888,824 บาท เมื่อหักเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น 4,900,000 บาท คงเหลือกำไรสะสมก่อนคืนเงินลดทุน 9,988,824 บาท การที่บริษัทจดทะเบียนลดทุนและจ่ายเงินลดทุนหรือเงินลงทุนคืนแก่ผู้ถือหุ้น 6,000,000 บาท จึงเป็นการจ่ายเงินลดทุนซึ่งส่วนที่จ่ายคืนนั้นไม่เกินกว่ากำไรสะสมก่อนคืนเงินลดทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ง) ที่โจทก์ทั้งสามต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15345/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากร
เอกสารที่โจทก์ยื่นพร้อมกับแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ฉบับเพิ่มเติมครั้งที่ 1 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาท ที่ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกำไรหรือผลขาดทุนของกิจการโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี รวมถึงผลกำไรหรือผลขาดทุนของโครงการโจทก์ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแต่ละโครงการ เพียงพอให้เจ้าพนักงานประเมินนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ได้ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงเป็นการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 18 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่ได้กำหนดวิธีการคำนวณผลกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไว้แต่อย่างใด ทั้งประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.13/2541 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36 (4) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้เช่นกัน กรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนร่วมด้วย หรือมีการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าหนึ่งโครงการก็ตาม ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ประมวลรัษฎากร พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่ และมาตรา 36 (4) หาได้เป็นบทยกเว้นบทบัญญัติตาม ประมวลรัษฎากร ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรโดยอาศัย ประมวลรัษฎากร จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากร แล้วโจทก์ไม่เสียภายในกำหนด ถือเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 31 ซึ่งการยึดย่อมหมายความรวมถึงการนำเอาเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ค้างจำเลยได้ด้วย แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากร และจำเลยอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ทุเลาก่อนวันที่มีการหักกลบลบหนี้ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยทำการหักกลบลบหนี้จึงเป็นการปฏิบัติไปตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2539 ข้อ 25 แล้ว
พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ไม่ได้กำหนดวิธีการคำนวณผลกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไว้แต่อย่างใด ทั้งประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.13/2541 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์การใช้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36 (4) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้เช่นกัน กรณีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่ามีการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนร่วมด้วย หรือมีการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่าหนึ่งโครงการก็ตาม ย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ประมวลรัษฎากร พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 วรรคสี่ และมาตรา 36 (4) หาได้เป็นบทยกเว้นบทบัญญัติตาม ประมวลรัษฎากร ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินภาษีอากรโดยอาศัย ประมวลรัษฎากร จึงชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากร แล้วโจทก์ไม่เสียภายในกำหนด ถือเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 และมาตรา 31 ซึ่งการยึดย่อมหมายความรวมถึงการนำเอาเงินที่จำเลยต้องคืนให้โจทก์มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ภาษีอากรที่โจทก์ค้างจำเลยได้ด้วย แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากร และจำเลยอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุมัติให้ทุเลาก่อนวันที่มีการหักกลบลบหนี้ ดังนี้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยทำการหักกลบลบหนี้จึงเป็นการปฏิบัติไปตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ.2539 ข้อ 25 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7535/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนรถประจำตำแหน่งถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
ทางราชการจ่ายเงินค่าพาหนะเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเท่ากันทุกเดือนแก่เฉพาะข้าราชการระดับสูงที่มีสิทธิได้รับรถประจำตำแหน่ง ถือเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งคิดคำนวณเป็นเงินได้ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 39 และ 40 (1) ทั้งไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ฯ ทั้งนี้เพราะการได้รับเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายฯ กับการได้รับรถประจำตำแหน่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้เกิดผลทางกฎหมายในอันที่จะถือเป็นเงินได้พึงประเมินหรือไม่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเงินค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ เป็นประโยชน์ที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์โดยตรง ไม่มีข้อบังคับหรือจำกัดการใช้จ่ายเงินนี้ของโจทก์แต่อย่างใดเลย โจทก์อาจนำไปซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ลักษณะใด ประเภทใด ราคาเท่าใดโดยปราศจากข้อจำกัดและอาจเหลือเงินเป็นประโยชน์แก่ตน เมื่อพ้นตำแหน่งก็ยังมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในรถยนต์ที่ซื้อหรือเช่าซื้อเป็นประโยชน์เฉพาะตน แต่การได้รับรถประจำตำแหน่ง ผู้รับเพียงได้ใช้รถของทางราชการซึ่งต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรถราชการ พ.ศ.2523 ข้อ 13 ที่กำหนดว่ารถประจำตำแหน่งให้ใช้ในการปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่ หรือที่ได้รับมอบหมายโดยชอบหรืองานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับงานในตำแหน่งหน้าที่หรือฐานะที่ดำรงตำแหน่งนั้น รวมตลอดถึงการใช้เพื่อเดินทางไปกลับระหว่างที่พักและสำนักงาน และเพื่อการอื่นที่จำเป็นและเหมาะสมแก่การดำรงตำแหน่งหน้าที่ในหมู่ราชการและสังคม คืออยู่ในข้อบังคับให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเป็นสำคัญ เปรียบได้กับกรณีข้าราชการใช้เครื่องใช้สำนักงาน ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศของทางราชการในการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพื่อให้ได้ผลงานตามวัตถุประสงค์ตามระเบียบราชการ ผู้ได้รับรถประจำตำแหน่งต้องเป็นข้าราชการที่มีความรับผิดชอบสูงระดับรองอธิบดี อธิบดีและปลัดกระทรวงถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งที่ทางราชการควรอำนวยความสะดวกให้เพื่อสามารถทุ่มเทเวลาทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ และไม่มีเหตุอันสมควรต้องคิดแยกประโยชน์แก่ทางราชการและตัวบุคคลในกรณีนี้ ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่อาจแยกออกได้เพื่อคำนวณเป็นเงินได้เพื่อให้ข้าราชการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด และเมื่อพ้นตำแหน่งข้าราชการที่ได้รับรถประจำตำแหน่งก็ไม่มีสิทธิในรถประจำตำแหน่งอีกเลย
การที่หลักเกณฑ์การคำนวณค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ ตามหนังสือของกระทรวงการคลังได้รวมถึงค่าซ่อมบำรุงรักษา ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าเบี้ยประกันและค่าพนักงานขับรถนั้น เป็นแต่เพียงวิธีการคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งจะต้องจ่ายหากต้องซื้อรถยนต์เป็นของตนเองแทนรถประจำตำแหน่งให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งที่จะได้เงินดังกล่าวแทนเท่านั้น และหากโจทก์ซื้อรถยนต์กับต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็เป็นกรณีที่โจทก์กับผู้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโจทก์ต่างมีเงินได้และต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนอันเป็นปกติในระบบจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายจึงหาเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
การที่หลักเกณฑ์การคำนวณค่าตอบแทนเหมาจ่าย ฯ ตามหนังสือของกระทรวงการคลังได้รวมถึงค่าซ่อมบำรุงรักษา ค่าน้ำมันหล่อลื่น ค่าเบี้ยประกันและค่าพนักงานขับรถนั้น เป็นแต่เพียงวิธีการคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งจะต้องจ่ายหากต้องซื้อรถยนต์เป็นของตนเองแทนรถประจำตำแหน่งให้เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้มีสิทธิได้รถประจำตำแหน่งที่จะได้เงินดังกล่าวแทนเท่านั้น และหากโจทก์ซื้อรถยนต์กับต้องจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าว ก็เป็นกรณีที่โจทก์กับผู้ได้รับเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากโจทก์ต่างมีเงินได้และต้องเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนอันเป็นปกติในระบบจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามกฎหมายจึงหาเป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8698/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปูนมาร์ลเป็นปุ๋ยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ค) ระบุให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทการขายปุ๋ย โดยที่มิได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ปุ๋ย ไว้แต่เมื่อพิจารณาจากคำจำกัดความตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 3 ปุ๋ย หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช ซึ่งสอดคล้องกับคำว่า ปุ๋ยตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฯ หมายถึง สิ่งที่ใส่ลงไปในดินหรือให้ธาตุอาหารพืชหนึ่งหรือหลายธาตุ ดังนั้น คำว่า ปุ๋ย จึงหมายถึงสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตามที่ใส่ลงไปในดินสำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
ปูนมาร์ลเป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม สามารถเป็นอาหารแก่พืชได้ ปูนมาร์ลจึงเป็นสารอนินทรีย์สำหรับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืชโดยมีผู้ใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยจึงถือว่าเป็นปุ๋ย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าปูนมาร์ลซึ่งเป็นปุ๋ยย่อมได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ค) แห่ง ป.รัษฎากร
ปูนมาร์ลเป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม สามารถเป็นอาหารแก่พืชได้ ปูนมาร์ลจึงเป็นสารอนินทรีย์สำหรับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืชโดยมีผู้ใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ยจึงถือว่าเป็นปุ๋ย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการขายสินค้าปูนมาร์ลซึ่งเป็นปุ๋ยย่อมได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ค) แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387-8391/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องคดี ผลคือฟ้องแย้งตกไป
หนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำนวนแรก ระบุข้อความไว้ว่าโจทก์ โดย อ. หุ้นส่วนผู้จัดการ ขอมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย ในการนี้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนทนายความ รวมทั้ง...การรับเงินหรือเอกสารจากคู่ความหรือศาล และการดำเนินการในชั้นบังคับคดีเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สินหรืออื่นๆ ได้จนเสร็จการ การใดที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบเขตแห่งหนังสือฉบับนี้ให้มีผลผูกพันโจทก์เสมือนกับโจทก์ได้ทำด้วยตนเองทุกประการ ส่วนหนังสือมอบอำนาจที่ให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนที่สอง จำเลยที่ 1 และที่ 4 ในสำนวนที่สาม จำเลยที่ 1 และที่ 5 ในสำนวนที่สี่ จำเลยที่ 1 และที่ 6 ในสำนวนที่ห้า ข้อความที่ว่าให้มีอำนาจฟ้องรวมถึงผู้เกี่ยวข้องเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีล้มละลาย รวมทั้งข้อความอื่นคงเป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ดังนี้ การมอบอำนาจดังกล่าวของโจทก์ในแต่ละสำนวนคดีเป็นการมอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องร้องดำเนินคดีนี้และคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยที่ 1 โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียว จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ของ ป.รัษฎากร กำหนดในข้อ 7 ว่า กรณี (ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท โจทก์จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท แต่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเพียง 10 บาท หนังสือมอบอำนาจจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ในขณะที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐาน ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118 กรณีย่อมฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ธ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งห้าสำนวนคดีแทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยรวมไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา และต้องฟังว่า ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ด้วยเหตุผลเดียวกัน การที่ ธ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ผลจึงเท่ากับว่าไม่มีตัวโจทก์เข้ามาฟ้องคดี กรณีเช่นนี้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ย่อมตกไป เพราะการดำเนินกระบวนพิจารณาตามฟ้องแย้งนั้นจะต้องมีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยตามฟ้องแย้งอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้บริการขนส่งทางบกได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ) และประเด็นการงดลดเบี้ยปรับ
โจทก์ประกอบกิจการรถยนต์บริการรับ - ส่งผู้โดยสาร ณ อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพ ผู้โดยสารจะติดต่อว่าจ้างโจทก์และโจทก์ได้รับค่าโดยสารจากผู้โดยสารตามอัตราที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนด โดยรถยนต์ที่ใช้มีทั้งที่เป็นของโจทก์เอง เช่าจากบุคคลอื่น และรถร่วม รถยนต์ที่เป็นของโจทก์ พนักงานขับรถจะได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 12 ของค่าโดยสาร ส่วนรถยนต์ที่เช่าจากบุคคลอื่น พนักงานขับรถจะได้ค่าตอบแทนร้อยละ 80 และ ร้อยละ 77 ของค่าโดยสาร เนื่องจากพนักงานขับรถจะต้องรับผิดชอบค่าเช่า ค่าซ่อม ค่าทางด่วน ค่าน้ำมัน ค่าแบตเตอรี่และค่ายางรถยนต์เอง สำหรับรถร่วมนั้นเป็นรถยนต์ของบุคคลอื่นที่นำมาวิ่งรับ - ส่งผู้โดยสารในนามของโจทก์ ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 75 ของค่าโดยสาร โดยจะคำนวณและจ่ายค่าตอบแทนให้ทุก 15 วัน เมื่อการรับ - ส่งผู้โดยสารกระทำในนามของโจทก์ และโจทก์เป็นผู้รับค่าโดยสารแล้วแบ่งให้แก่พนักงานขับรถและเจ้าของรถร่วมในอัตราร้อยละที่ตกลงกันไว้ การให้บริการของโจทก์จึงเป็นการให้บริการขนส่ง และเมื่อเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ณ)
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องของโจทก์มิได้ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับ อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า กรณีมีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง