คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, การแปลงหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และจำเลยที่ 4 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันให้โจทก์ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งให้ถือว่าได้ทำโดยคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 โดยกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกไว้ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วย จึงไม่มีกำหนดอายุความที่จะนำมาพิจารณาได้อีก
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการถอนฟ้องต่อผู้ค้ำประกัน: การยกอายุความของผู้กู้ถูกลบล้างเมื่อถอนฟ้อง ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันหลังการถอนฟ้องผู้กู้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันมูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่นๆด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นอนุญาตและจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่1ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก การตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่ระงับเมื่อจำเลยที่1ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วจำเลยที่4ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้อง และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่2ที่5และที่6ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่1และที่2จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดีและเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่3และที่4ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ยค้างชำระในคดีล้มละลาย ผลกระทบการชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกัน
การที่ว. ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ที่1ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้นั้นย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันไม่มีกฎหมายใดบัญญัติไว้ว่าให้มีผลไปถึงลูกหนี้ด้วยแม้ลูกหนี้ทั้งสองจะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกันกำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะแต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นการที่ว.ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ลูกหนี้ทั้งสองย่อมไม่ถูกผูกพันในเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงฉะนั้นจึงไม่ทำให้อายุความที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากลูกหนี้ทั้งสองสะดุดหยุดลงด้วยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ในอายุความเพียง5ปีเท่านั้น ลูกหนี้ที่1เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจำนวน11ฉบับคิดถึงวันเรียกเก็บค้างชำระเป็นเงินทั้งสิ้น891,808.23บาทนับตั้งแต่วันผิดนัดชำระหนี้รายนี้ลูกหนี้ทั้งสองไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เลยจึงถือว่าดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้มีสิทธิคิดจากเงินที่ค้างชำระดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)กำหนดให้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ได้ภายในอายุความ5ปีดอกเบี้ยที่ค้างเกินกว่า5ปีซึ่งขาดอายุความแม้ยังถือเป็นภาระหนี้ที่ลูกหนี้ทั้งสองค้างชำระแก่เจ้าหนี้และผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องและก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่หนี้ของส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า5ปีก็เป็นหนี้ที่ขาดอายุความต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ดังนั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ดังกล่าวมาหักชำระดอกเบี้ยที่ค้างส่งเกินกว่า5ปีอันเป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกัน ณ วันที่ 29 มกราคม 2531เป็นเงิน 505,379.05 บาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย แสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้ว จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันที หากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีก ก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่และในทางปฎิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเงินเกินบัญชีแล้ว หากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่ การกระทำของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชี พร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วันนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือของโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 300,000บาท นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า จำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน 300,000 บาท เท่านั้นหาใช่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่ 2 รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, สิทธิเรียกร้องหนี้, การมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่2ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้จึงเป็นข้อที่จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่2ด้วยนั้นเป็นการไม่ชอบถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่2ฎีกาของจำเลยที่2ในประเด็นนี้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่2ในข้อนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้สัญญาค้ำประกันและจำนองและคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้หนังสือสัญญาค้ำประกันและหนังสือสัญญาจำนองส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้งกู้เงินกี่ครั้งครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ดังนั้นฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การที่ผ. และน. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์แม้ต่อมาผ. และน. จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจระบุว่ามอบอำนาจให้ป. หรืออ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น2คนพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่างๆของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่างเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์30บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(2)แห่งประมวลรัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจดังนี้การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน30บาทจึงชอบแล้วหาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ30บาทไม่ สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่าตามที่จำเลยที่2บริษัทธ.และท. ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์3จำนวนเป็นเงิน45,920,000บาทนั้นจำเลยที่1ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวและยังค้างชำระเป็นเงิน10,516,643.83บาทรวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน56,436,643.83บาทให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด15ปีทั้งนี้จำเลยที่1ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ100,000บาทหากจำเลยที่1ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่1จำเลยที่1ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับโจทก์ถือได้ว่าเป็นสัญญา2ฝ่ายหาใช่จำเลยที่1ตกลงฝ่ายเดียวไม่และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่1ลูกหนี้คนใหม่ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่2บริษัทธ. และท. ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายการแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้ เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้วดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน5ปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิมหนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้-ค้ำประกัน: การคิดดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เอง ส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดอุปการะจากผู้ตายกับสิทธิรับเงินทดแทน: กรณีผู้ค้ำประกันรถยนต์
ผู้ตายซึ่งเป็นลูกจ้างถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ก่อนตาย ผู้ตายเช่าซื้อรถยนต์ให้โจทก์ใช้สอยประกอบอาชีพและให้โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อเมื่อถึงแก่ความตายทำให้ผู้ตายไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อการที่โจทก์ต้องหาเงินไปชำระค่าเช่าซื้อ เป็นการปฏิบัติในฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนเพราะขาดอุปการะจากผู้ตายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 20 วรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
of 58