คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากสัญญาจะซื้อจะขายและการโอนสิทธิที่ดินโดยไม่มีสิทธิ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พ. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับ ท. ครั้น พ. ถึงแก่กรรม ท. ได้อาศัยสิทธิตามสัญญาดังกล่าว เรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ทายาทของ พ. ไปจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่ตน แต่เมื่อจำเลยที่ 5ไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนให้ ท. ก็หาได้ใช้สิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 โอนให้ไม่ ท. จึงเป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ พ. จนกว่าจะได้จดทะเบียนโอน สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังเป็นของทายาทของ พ. ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 5 อยู่ท. ไม่มีสิทธิยกที่ดินพิพาทให้แก่ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท การที่ ว. โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไม่ทำให้โจทก์ผู้รับโอนมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่า ว. ผู้โอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ดังโจทก์ฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4731/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ ผู้รับโอนย่อมได้สิทธิ แม้การโอนเดิมไม่ชอบ
โจทก์ครอบครองทำกินในที่พิพาทตลอดมา โจทก์เคยบอกจำเลยว่าได้ซื้อที่พิพาทมาจากผู้อื่นจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทโดยสุจริตโดยครอบครองเพื่อตนแล้ว เมื่อเป็นเวลาเกินกว่า1 ปี และจำเลยไม่ได้ฟ้องเอาคืนภายในเวลาดังกล่าว ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจากการเล่นแชร์: ผู้รับโอนเช็คมีสิทธิเรียกร้องได้ แม้มีข้อตกลงจำกัดการเรียกเก็บ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าแชร์ที่จำเลยประมูลได้ แต่จำเลยก็มีภาระต้องชำระหนี้ค่าแชร์ตามจำนวนที่ได้รับมา จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้จากการเล่นแชร์
ข้อต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่ผู้ทรงคนก่อนไปแล้วบางส่วนโจทก์และผู้ทรงคนก่อนรู้ดีอยู่ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีเงื่อนไขในการค้ำประกันการชำระหนี้ค่าแชร์ และผู้ทรงคนก่อนจะไม่นำไปเรียกเก็บเงิน เป็นข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนหาใช่เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลไม่
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ทรงคนก่อนโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900,904, 914 ประกอบมาตรา 989.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทจากการเล่นแชร์: ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกร้องได้แม้มีข้อตกลงจำกัดการเรียกเก็บ
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ค่าแชร์ที่จำเลยประมูลได้ แต่จำเลยก็มีภาระต้องชำระหนี้ค่าแชร์ตามจำนวนที่ได้รับมา จึงเป็นเช็คที่มีมูลหนี้จากการเล่นแชร์ ข้อต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่ผู้ทรงคนก่อนไปแล้วบางส่วนโจทก์และผู้ทรงคนก่อนรู้ดีอยู่ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีเงื่อนไขในการค้ำประกันการชำระหนี้ค่าแชร์ และผู้ทรงคนก่อนจะไม่นำไปเรียกเก็บเงิน เป็นข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนหาใช่เป็นการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากผู้ทรงคนก่อนโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900,904,914 ประกอบมาตรา 989.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้เข้าครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิเว้นแต่เปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
แม้จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ขายและเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่พิพาท จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายมีอยู่ จึงเท่ากับอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เช่นกัน ดังนั้น จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เว้นแต่จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปีโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คพิพาทด้วยเจตนาฉ้อฉล ผู้รับโอนต้องรับผิดชอบหากทราบถึงเหตุระงับการจ่ายเงิน
โจทก์ได้ รับโอนเช็ค มา จากจำเลยที่ 2 เมื่อกลางเดือนมิถุนายน2527 เช็ค พิพาทสั่งจ่ายวันที่ 14 มิถุนายน 2527 ในขณะที่โจทก์รับโอนเช็ค พิพาทจึงเป็นระยะเวลาที่เช็ค พิพาทถึง กำหนดสั่งจ่ายหรือใกล้ถึง วันสั่งจ่าย จำเลยที่ 2 น่าจะนำเช็ค พิพาทไปเรียก เก็บเงินได้ อยู่แล้ว ไม่มีเหตุผลที่จะต้อง นำมาโอนขายให้กับโจทก์ ทั้งในขณะที่โจทก์รับโอนเช็ค พิพาท โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายได้ มีคำสั่งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตาม เช็ค แล้ว การโอนเช็ค พิพาทจึงมีขึ้นด้วย คบคิดกันฉ้อฉล จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกข้อต่อสู้ที่มีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม เช็ค พิพาทต่อ โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้าง ผู้รับโอนสิทธิได้รับสิทธิเท่าผู้โอน
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง... ผู้รับจ้างยอม ให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้ แก่ ผู้รับจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ของ ผู้รับจ้าง ได้ และให้ ถือ ว่า เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป นี้ เป็น เงิน ค่าจ้าง ที่ผู้รับจ้าง ได้รับ ไป จาก ผู้ว่าจ้าง แล้ว..." ต่อมา จำเลย โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับเงิน ค่าจ้าง ตาม สัญญา ดังกล่าว ให้แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอน ไป ยัง จำเลยร่วมจำเลยร่วม มี หนังสือ ตอบ ไป ยัง ผู้ร้อง ว่า "จำเลยร่วมพิจารณา แล้ว ไม่ขัดข้อง ใน การ โอน สิทธิเรียกร้อง ตาม ที่ผู้ร้อง แจ้ง มา แต่ ผู้ร้อง จะ ได้ เงิน ค่าจ้าง เพียง เท่าที่จำเลย จะ พึง ได้รับ จาก จำเลยร่วม ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวเท่านั้น" ย่อม เท่ากับ ว่า จำเลยร่วม ได้ โต้แย้ง แสดง การสงวนสิทธิ ของ จำเลยร่วม ที่ มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวรวม ทั้ง ตาม สัญญา ข้อ 14 ไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 แล้วสิทธิ ของ ผู้ร้อง ที่ จะ ได้รับ เงิน ดังกล่าว จึง ไม่อาจ เกิน ไปกว่า สิทธิ ที่ จำเลย มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง จำเลยร่วม ย่อม สามารถยก ข้อต่อสู้ ตาม สัญญาจ้าง ที่ ตน มี ต่อ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้โอนขึ้น ต่อสู้ กับ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้รับโอน ได้ เมื่อ จำเลยค้างจ่าย เงิน ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ผู้ เป็น ลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อม ใช้สิทธิ ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 14 หักเงิน จำนวน ดังกล่าว จากค่าจ้าง ที่ จำเลยร่วม จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ ผู้ร้อง เพื่อ นำ ไปจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ผู้ร้องไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา เงิน ที่ จำเลยร่วม ได้ ใช้สิทธิ หักไว้ นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำประโยชน์เหนือที่ดินของเจ้าของที่ดินเดิม และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดินที่ได้รับประโยชน์จากการวางสายไฟฟ้า
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338 ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำกัดการใช้ประโยชน์ที่ดินจากข้อตกลงเดิม การโอนสิทธิทำให้ผู้รับโอนต้องผูกพันตามข้อจำกัดนั้น
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย 2 แถวด้านหน้าและด้านหลัง แล้วปลูกตึกแถวพร้อมกับวางสายไฟฟ้าจากที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหลังผ่านที่ดินแปลงที่อยู่ด้านหน้าเพื่อประโยชน์ในการใช้ไฟฟ้าของตึกแถวด้านหลัง การที่เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินที่แบ่งแยกพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งมีไฟฟ้าใช้แล้วให้กับผู้อื่นโดยราคาที่ตกลงซื้อขายนี้เป็นที่เห็นได้ว่ารวมค่าไฟฟ้าเข้าด้วยแล้วเช่นนี้ ถือได้ว่าผู้รับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวด้านหลังซึ่งเป็นที่ดินติดต่อได้ใช้ค่าทดแทนในการวางสายไฟฟ้าผ่านที่ดินซึ่งอยู่ด้านหน้าแก่เจ้าของเดิมแล้ว จึงเป็นข้อกำจัดสิทธิอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 เจ้าของที่ดินเดิมไม่อาจบังคับให้เจ้าของที่ดินติดต่อย้ายสายไฟฟ้าให้พ้นไปจากที่ดินของตนได้ และข้อกำจัดสิทธิดังกล่าวไม่จำต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1338ก็มีผลบังคับกันได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งรับโอนที่ดินด้านหน้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสายไฟฟ้าออกไปให้พ้นบ้านโจทก์ได้ เพราะการฟ้องจำเลยก็มีผลเช่นเดียวกับการฟ้องเจ้าของที่ดินติดต่อนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหาย ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดหากไม่มีข้อตกลงใหม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่
of 37