พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนในการรวบรวมหลักฐาน และการนำเสนอรายงานผลการตรวจลายมือในคดีอาญา
ป.ม.วิ.อาญามาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ระบุไว้นั้นได้ เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานในเมื่อเห็นว่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น แต่ไม่ได้บังคับว่าการกระทำเหล่านี้พนักงานสอบสวนจะต้องจัดทำด้วยตนเอง ฉะนั้นพนักงานสอบสวนอาจให้ผู้ในบังคับบัญชาไปกระทำแทนในสิ่งเล็กน้อยก็ได้
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานตรวจพิศูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาล และโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยานนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 243 วรรค 2
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานตรวจพิศูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาล และโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยานนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 243 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐาน & ขอบเขตการใช้ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจพนักงานสอบสวนที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ระบุไว้นั้นได้ เพื่อประโยชน์แห่งการรวบรวมหลักฐานในเมื่อเห็นว่าจะทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น แต่ไม่ได้บังคับว่าการกระทำเหล่านี้พนักงานสอบสวนจะต้องจัดทำด้วยตนเอง ฉะนั้นพนักงานสอบสวนอาจให้ผู้ในบังคับบัญชาไปกระทำแทนในสิ่งเล็กน้อยก็ได้
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาลและโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยาน นั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
ผู้ชำนาญการพิเศษของตำรวจส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือของจำเลยไปให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจนฟ้องจำเลย ต่อศาลและโจทก์อ้างรายงานนั้นเป็นพยาน นั้น มิใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272-1273/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวน: ผู้บังคับการเรือกับการสอบสวนคดีประมง
ผู้บังคับการเรือแห่งราชนาวีไทยผู้กระทำการจับกุม หรือสั่งให้จับกุมคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตน่านน้ำไทยนั้น ย่อมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และเป็นพนักงานสอบสวนคดีนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482
ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482 ซึ่งฟ้องโจทก์บรรยายไว้ด้วยว่า พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่แห่งหนึ่งและผู้บังคับการเรือซึ่งจับกุมจำเลยเป็นผู้สอบสวนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ให้การคัดค้านเรื่องการสอบสวนนี้ หรืออำนาจศาลแต่อย่างใดเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น ก็ต้องฟังว่าการสอบสวนนั้นได้กระทำโดยชอบถูกต้องตามที่กล่าวในฟ้อง
ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย 2482 ซึ่งฟ้องโจทก์บรรยายไว้ด้วยว่า พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่แห่งหนึ่งและผู้บังคับการเรือซึ่งจับกุมจำเลยเป็นผู้สอบสวนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยมิได้ให้การคัดค้านเรื่องการสอบสวนนี้ หรืออำนาจศาลแต่อย่างใดเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น ก็ต้องฟังว่าการสอบสวนนั้นได้กระทำโดยชอบถูกต้องตามที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการจับกุมโดยไม่มีหมายจับ: กำนันและพนักงานสอบสวนกระทำผิดกฎหมาย
กำนันไม่มีอำนาจจับคนโดยไม่มีหมายจับ และพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสั่งให้กำนันจับคนโดยไม่มีหมายจับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจับกุมโดยไม่มีหมายจับ: กำนันและพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจออกคำสั่งจับกุมโดยมิชอบ
กำนันไม่มีอำนาจจับคนโดยไม่มีหมายจับ และพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสั่งให้กำนันจับคนโดยไม่มีหมายจับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขืนหมายเรียกพนักงานสอบสวน: กฎหมายลักษณะพยานถูกยกเลิกโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ.113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น ถือได้ว่าได้ถูกยกเลิกโดยพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา4 และมาตรา 3 กฎหมายอาญาแล้ว เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา334(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน: กรมตำรวจไม่มีสิทธิร้องแทนพนักงานสอบสวนในคดีอาญา
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ และไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้นกรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มีร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลางซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานสอบสวน: เฉพาะพนักงานสอบสวนเท่านั้นที่ร้องขอปล่อยทรัพย์ของกลาง
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่างๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะและไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้น กรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มาร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลาง ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2493)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย: ตำรวจจับกุมและส่งคำให้การให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี
พยานโจทก์ซึ่งเป็นตำรวจจับผู้เล่นการพนันแล้ว ต่างก็เขียนคำให้การของตนส่งให้กรมการอำเภอเจ้าของที่ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ทำการสอบสวน แล้วพนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนต่อไป มีถาม จดคำให้การของผู้ต้องหาเสร็จแล้วส่งเรื่องให้อัยการ ดังนี้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว (อ้างฎีกาที่ 516/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับของผู้ต้องหาที่บันทึกโดยไม่ใช่พนักงานสอบสวน ไม่ผูกมัดในชั้นศาล และการขนย้ายข้าวภายในจังหวัดเดียวกัน
คำรับของผู้ต้องหาต่อนายสิบและพลตำรวจที่บันทึกขึ้นไว้ หาผูกมัดผู้นั้นในชั้นศาลไม่ เพราะตำรวจผู้บันทึกไม่ใช่พนักงานสอบสวน
ฟ้องหาว่า จำเลยเจตนาขนย้ายข้าวภายในเขตต์จังหวัดเดียวกัน แต่เป็นการขนย้ายทางทะเล ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มาตรา 10,13 เพราะมิได้เป็นการขนย้ายออกนอกเขตต์ที่กำหนดไว้.
(อ้างฎีกาที่ 637/2492)
ฟ้องหาว่า จำเลยเจตนาขนย้ายข้าวภายในเขตต์จังหวัดเดียวกัน แต่เป็นการขนย้ายทางทะเล ดังนี้ ย่อมไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มาตรา 10,13 เพราะมิได้เป็นการขนย้ายออกนอกเขตต์ที่กำหนดไว้.
(อ้างฎีกาที่ 637/2492)