พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนเหตุสุดวิสัย ศาลไม่ต้องไต่สวนหากไม่ได้อ้างเหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ.นั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1 ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5324/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งชำระหนี้ค่าสินค้า ไม่ผูกพันกับคดีอาญาทำลายเอกสาร การพิจารณาคดีแพ่งต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเฉพาะคดี
ในคดีอาญาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันฉีกเอกสารตรงที่มีข้อความและลายมือชื่อผู้รับของในใบส่งของชั่วคราวซึ่งเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของโจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันซื้อสินค้าของโจทก์ไปตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายแล้วไม่ยอมชำระค่าสินค้าให้โจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องฟ้องขอให้ชำระหนี้ค่าสินค้า ประเด็นในคดีทั้งสองจึงเป็นคนละประเด็นกันหาใช่ประเด็นในคดีนี้เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วโดยตรงในคดีอาญาไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ฟังว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดฐานทำลายเอกสาร โดยมิได้หมายความว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระค่าสินค้าตามรายการในเอกสารที่ถูกทำลายให้แก่โจทก์แล้ว เพราะเอกสารดังกล่าวเป็นแต่เพียงหลักฐานแห่งหนี้ หาใช่หลักฐานแห่งการชำระหนี้ไม่ การที่จะถือว่าคดีใดเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ข้อสำคัญต้องเป็นเรื่องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดอาญาของจำเลยซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาเท่านั้น คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น การพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ชำระอากรแล้วรับฟังเป็นพยานได้ การอนุญาตชำระอากรระหว่างพิจารณาไม่เป็นเหตุฎีกา
ระหว่างพิจารณาโจทก์ส่งหนังสือค้ำประกันซึ่งติดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วนเป็นพยานแต่ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ได้นำไปดำเนินการเสียเงินอากรและเงินเพิ่มอากรโดยชอบแล้วถือว่าหนังสือค้ำประกันเป็นตราสารที่ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ปัญหาว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำเอกสารไปเสียภาษีอากรและเงินเพิ่มโดยมิได้สอบถามจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบ จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ประกอบ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การพิจารณาคดีไม่ชอบ, อายุความสัญญาจ้าง, คำให้การแก้ฟ้องแย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน เป็นองค์คณะพิจารณาตามมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานโดยอนุโลม ดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี อันเป็นการผิดระเบียบ จำเลยจะต้องยื่นคัดค้านเสียภายใน 8 วัน ตามมาตรา 27แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2
ศาลแรงงานกลางได้นั่งพิจารณาในวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 17 กันยายน 2533 ถ้าผู้พิพากษาสมทบมิได้นั่งพิจารณาและลงลายมือชื่อในวันนั่งพิจารณานั้นจำเลยย่อมทราบแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบควรคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้าน จะอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาไม่ชอบหาได้ไม่
ตามฟ้องโจทก์กล่าวว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างโจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งอันเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมาฟ้องบังคับจำเลยทั้งสอง เช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในการที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติงานฝ่าฝืนระเบียบทำให้โจทก์เสียหาย เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ส่วนคดีก่อน จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้โจทก์รับจำเลยที่ 1 กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดิม กับขอให้ใช้ค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินบำเหน็จซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
วันนัดพิจารณา ศาลบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2532ว่า โจทก์ให้การปฏิเสธฟ้องแย้ง และได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2532 โจทก์ยื่นคำร้องขอยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ศาลอนุญาตและรับคำให้การ สำเนาให้จำเลย จำเลยที่ 2 รับสำเนาแล้ว มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์จะมิได้ยื่นคำให้การเกี่ยวกับรายละเอียดต่อสู้ฟ้องแย้ง แต่ในฟ้องโจทก์มีรายละเอียดตามประเด็นที่พิพาทกัน คำให้การแก้ฟ้องแย้งก็เป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2โจทก์ย่อมมีสิทธิสืบในรายละเอียดว่าไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแย้งได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานคุมยาสูบตรี มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบรรทุกบุหรี่และควบคุมรถบรรทุกบุหรี่ระหว่างเดินทางจนถึงผู้รับปลายทาง จำเลยที่ 2 ละทิ้งหน้าที่ไม่เฝ้าบุหรี่ เป็นเหตุให้คนร้ายลักรถและบุหรี่ไป โจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายค่าบุหรี่แก่โรงงานยาสูบเป็นเงิน 1,512,394.81บาท ทั้งต้องซ่อมรถที่คนร้ายงัดอีก 7,820 บาท นับได้ว่าเกิดความเสียหายแก่โจทก์อย่างร้ายแรงในผลการกระทำของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและการยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล: ต้องมีการกำหนดนัดพิจารณาคดีที่ชัดเจนเสียก่อน
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณาคดีไว้ และเมื่อโจทก์ทราบกำหนดนัดนั้นแล้วไม่มาศาล
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้นซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้นซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่แจ้งนัดพิจารณาและสืบพยาน ถือเป็นกระบวนการไม่ชอบ ศาลมิอาจยกฟ้องได้
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม กำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 จะต้อง เป็นกรณีที่มีการ ไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาคดีและศาลได้ กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดพิจารณาคดีไว้ ต่อเมื่อโจทก์ได้ ทราบกำหนดนัดนั้นแล้ว ไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเสียได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 66 ศาลชั้นต้นเบิกตัว จำเลยซึ่ง ถูก คุมขังมาพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อหาดังกล่าวมีอัตราโทษอย่างต่ำ จำคุกตั้งแต่ ห้าปีขึ้นไป ซึ่ง ศาลจะต้อง ฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้ กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176แต่ ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดย ที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้น ซึ่ง แม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจสืบพยานได้ เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่ โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยป.วิ.อ. มาตรา 166,181 และแม้จะถือ ว่าโจทก์ทราบกำหนดนัดแล้วเพราะในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุว่า รอฟังคำสั่งอยู่ถ้า ไม่รอให้ถือ ว่าทราบแล้วก็ยังไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องทันที.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี และขอบเขตการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขคำสั่งทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่ายคำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับ และไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2), 247
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: คำร้องขอใช้เงินฝากที่ถูกคุ้มครอง มิใช่การทุเลาการบังคับ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินตามจำนวนที่ต้องชำระตามฟ้องมาส่งศาลเพื่อนำฝากประจำที่ธนาคาร และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือมีคำสั่งศาลเป็นอย่างอื่น ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินไม่เต็มตามฟ้องแก่โจทก์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ว่ามีความจำเป็นและประสงค์จะนำเงินที่นอกเหนือไปจากการคุ้มครองประโยชน์ไปใช้จ่าย คำร้องนี้ถือเป็นคำร้องอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้อง จึงไม่เป็นการสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับและไม่เป็นคำสั่งระหว่างการพิจารณา จำเลยมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระเงินเต็มตามฟ้อง ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมรับยังคงอุทธรณ์กันอยู่ ถือว่ายอดหนี้ยังไม่ยุติ การที่ศาลให้ฝากเงินไว้ต่อไปก็คงเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิม กรณีไม่ถือว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่อาศัยเป็นหลักในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ระหว่างการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 262 และเมื่อคดีปรากฏด้วยว่า ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับโดยมีเงื่อนไขว่าห้ามจำเลยถอนเงินจากธนาคารระหว่างอุทธรณ์ การที่จำเลยขอนำเงินฝากจากธนาคารไปใช้จ่ายจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของการทุเลาการบังคับที่ได้เคยมีคำสั่งไว้ ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4741/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาคดี: ผู้ร้องต้องเป็นคู่ความในคดีเท่านั้น
ผู้ที่จะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ต้องเป็นคู่ความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองนั้น ผู้ร้องสอดเพียงแต่ยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุขาดนัดพิจารณาคดี: ความล่าช้าจากการต่อรองค่าเสียหายอุบัติเหตุรถยนต์ไม่ถือเป็นเหตุสมควร
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการขับรถยนต์ชนกับรถยนต์ของผู้มีชื่อระหว่างทางมาศาล ต้องเสียเวลาตกลงกันเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้มาศาลไม่ทันตามกำหนดเวลานัด แต่ข้อเท็จจริงส่อแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของจำเลยที่ 2 และความล่าช้าในการตกลงเรื่องค่าเสียหายกับผู้มีชื่อเกิดจากการที่จำเลยที่ 2 พยายามต่อรองราคาค่าเสียหาย ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 สามารถจ่ายหรือทำความตกลงกับผู้มีชื่อได้โดยไม่ชักช้า นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังจะต้องให้ผู้มีชื่อซึ่งไม่มีความสันทัดในการเขียนหนังสือเขียนใบรับเงินที่มีข้อความค่อนข้างยืดยาวให้อีก อันเป็นการเพิ่มพูนการเสียเวลาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งความชักช้าดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 มาศาลไม่ทันตามกำหนดนัด เช่นนี้ จึงยังฟังไม่ได้ถนัดนักว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยที่ 2 มาศาลไม่ได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่อาจอนุญาตให้พิจารณาใหม่ตามที่ขอได้