พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15927/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานเสพยาเสพติด จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน ไม่ใช่แค่ผลตรวจปัสสาวะเป็นบวก
คดีนี้โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นขณะจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีน พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้เพียงว่าตรวจพบสารเสพติดในปัสสาวะของจำเลยเท่านั้น แต่พยานโจทก์ก็ไม่นำสืบให้ชัดแจ้งว่า สารเสพติดนั้นเป็นเมทแอมเฟตามีนหรือไม่ เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ กรณียังเป็นที่สงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์ในการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืน และผลของการขาดอายุความในความผิดเล็กน้อย
ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานมีและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและพาอาวุธปืน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบจึงไม่สามารถลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมความประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ แต่ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 16 มกราคม 2548 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 กันยายน 2549 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลย ก็เพื่อนำข้อเท็จจริงมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย มิใช่มีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบพยานว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ ทั้งศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย และแม้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 ศาลจะมีอำนาจรับฟังรายงานของพนักงานคุมความประพฤติโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบ แต่ก็เพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องโทษและวิธีการที่จะดำเนินการแก่จำเลยเท่านั้น มิได้เป็นการรับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยการกระทำที่ถูกฟ้องด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงจากรายงานของพนักงานคุมประพฤติมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 16 มกราคม 2548 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 กันยายน 2549 จึงเลยกำหนดระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์สำหรับความผิดทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องจับเท็จเป็นเพียงความเห็นทางวิชาการ ไม่สามารถใช้พิสูจน์ความผิดได้โดยแน่ชัด
เครื่องจับเท็จเป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่นำผลการตอบคำถามของจำเลยมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการแล้วประเมินผลจากการวิเคราะห์นั้นว่าจำเลยพูดจริงหรือเท็จ มีลักษณะเป็นเพียงความเห็นในทางวิชาการ ย่อมไม่อาจนำมาพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยเป็นที่แน่ชัดได้ ลำพังเครื่องจับเท็จและความเห็นของผู้ชำนาญด้านเครื่องจับเท็จยังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15626/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าและการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมีพฤติการณ์พิเศษและพยานหลักฐานสนับสนุน
พฤติการณ์การกระทำของจำเลยกับข้อเท็จจริงที่ได้จากเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมซึ่งกระทำการตามหน้าที่และไม่มีเหตุให้กลั่นแกล้งจำเลย น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานแวดล้อมกรณี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1)
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนและพยานหลักฐานอื่นของผู้เสียหายในการยืนยันตัวจำเลย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งโดยหลักต้องห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น และแม้จะเข้าข้อยกเว้น ในการรับฟัง ศาลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมาศาลและพร้อมที่จะเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ระหว่างรอการพิจารณาคดี มีญาติของจำเลยสองคนเข้าไปพูดคุยกับผู้เสียหาย จากนั้นผู้เสียหายออกไปจากศาลโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยานปากผู้เสียหาย การหลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความของผู้เสียหายน่าเชื่อว่าเพื่อช่วยเหลือจำเลย ถือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเอาผู้เสียหายมาเบิกความได้อันเป็นข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (2) และยังถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนและพยานหลักฐานอื่นของผู้เสียหายในการยืนยันตัวจำเลย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งโดยหลักต้องห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น และแม้จะเข้าข้อยกเว้น ในการรับฟัง ศาลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมาศาลและพร้อมที่จะเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ระหว่างรอการพิจารณาคดี มีญาติของจำเลยสองคนเข้าไปพูดคุยกับผู้เสียหาย จากนั้นผู้เสียหายออกไปจากศาลโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยานปากผู้เสียหาย การหลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความของผู้เสียหายน่าเชื่อว่าเพื่อช่วยเหลือจำเลย ถือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเอาผู้เสียหายมาเบิกความได้อันเป็นข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (2) และยังถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบอกเล่าประกอบคำรับสารภาพพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นได้ แม้ประจักษ์พยานขัดแย้ง
ม.ประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายใช้มีดปลายแหลมแทงผู้ตาย รับฟังเชื่อถือไม่ได้เพราะเบิกความขัดแย้งกับที่เคยให้การไว้ในชั้นสอบสวน
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
โจทก์มีบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ของ ล. และ ม. โดย ล. ให้ถ้อยคำว่า ขณะเกิดเหตุเห็น ม. ผู้ตาย จำเลย และ ส. นั่งดื่มสุราแล้วโต้เถียงกัน มี ว. เข้าไปด่าพวกที่ทะเลาะกัน ม. ลุกขึ้นเดินไปทางหน้าบ้าน ผู้ตายเดินตามไปแล้วเดินเข้าป่าละเมาะข้างบ้าน จำเลยลุกจากโต๊ะไล่ตามผู้ตายไปติดๆ แล้วออกมาในมือถือมีดปลายแหลมด้วยอาการรีบร้อนเดินไปทางทิศเหนือ ล. เข้าใจว่าผู้ตายถูกทำร้ายจึงเข้าไปดูพบว่าได้รับบาดเจ็บ จึงเรียกคนช่วยกันนำผู้ตายส่งโรงพยาบาล ต่อมาทราบว่าถึงแก่ความตาย ม. ให้ถ้อยคำว่า ก่อนเกิดเหตุเมื่อมีการโต้เถียงกันจำเลยมีท่าทางจะทำร้ายผู้ตาย จึงชวนผู้ตายออกไป จำเลยไล่ตามผู้ตายไป ส่วนตนไปหลบในสวนยางพารา เห็นจำเลยถือมีดปลายแหลมออกจากป่าละเมาะ โจทก์ไม่ได้ตัว ล. มาเบิกความเพราะ ล. ออกจากบ้านอันเป็นภูมิลำเนาไปนานแล้ว แต่ ล. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำของ ช. พี่ชายจำเลย และของ ม. ส่วน ม. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานสอบสวนในวันเกิดเหตุยังไม่มีเวลาจะแต่งเติมเรื่องราวเชื่อว่าได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนตามจริงตามที่รู้เห็นมา แม้คำให้การของ ล. และ ม. จะเป็นพยานบอกเล่า แต่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ไม่ห้ามมิให้รับฟังเป็นข้อสำคัญ เมื่อรับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นรับมอบตัวและชั้นสอบสวน พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา: คำรับสารภาพต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานประกอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 778 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 21.50 กรัม ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 859/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน และหน้าที่ของโจทก์ในการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานในคดีอาญา: พยานพฤติเหตุแวดล้อมและคำรับสารภาพใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยได้
ป.วิ.อ. มาตรา 226 บัญญัติว่า "พยานวัตถุ พยานเอกสารหรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น..." พยานหลักฐานที่จะใช้อ้างหรือพิสูจน์ในคดีอาญาว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงมิได้จำกัดเฉพาะว่าจะต้องเป็นประจักษ์พยานเท่านั้น หากแต่เป็นพยานประเภทใดก็ได้ที่น่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือบริสุทธิ์ โจทก์ย่อมนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ ดังนั้น พยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณีและคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งซึ่งโจทก์สามารถนำสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ เพียงแต่คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนที่อาจใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้นั้น จะต้องฟังได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยความสมัครใจและตามความสัตย์จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างตามข้อบังคับและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน จำเลยจึงตักเตือนเป็นหนังสือ แต่โจทก์กลับกระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยระบุเหตุผลในการเลิกจ้างให้โจทก์ทราบแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตและกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุงาน อัตราค่าจ้างสุดท้าย และการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำผิด ตลอดจนวันที่จำเลยบอกเลิกจ้างและวันที่การเลิกจ้างมีผล อันเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมครบถ้วน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดดังที่จำเลยอ้าง การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายให้พร้อมทั้งวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิและจำนวนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายครบทุกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะรวบรัดไปบ้าง แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4784/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนข้อหา โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น หากจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาหนึ่งแล้ว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดในอีกข้อหาหนึ่ง การที่จำเลยทั้งสองให้การว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ จึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง แต่โจทก์มิได้นำสืบให้ได้ความเช่นว่านั้น คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (1) และจำเลยทั้งสองยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือคำฟ้องอุทธรณ์มิใช่คำให้การของจำเลยทั้งสองที่ได้ให้การไว้ต่อศาลชั้นต้นก่อนเริ่มพิจารณา ถึงแม้จะมีถ้อยคำหรือข้อความที่อาจแสดงว่ารับสารภาพในความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำให้การของจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับฟังได้โดยปริยายว่าจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ เมื่อคำให้การของจำเลยทั้งสองไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองไม่ได้