คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: กำหนด 1 ปีนับจากวันพ้นกำหนด 60 วัน หรือวันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการพิจารณาอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย และผู้มีความรู้ความสามารถในการตีราคาอสังหาริมทรัพย์ มีจำนวนทั้งหมดไม่น้อยกว่าห้าคนเป็นผู้พิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณีดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 4 มิถุนายน 2533และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับคำอุทธรณ์ในวันเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน คือวันที่ 3สิงหาคม 2533 แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2533 โจทก์ก็ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วัน คือต้องฟ้องคดีภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2534 การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 ซึ่งพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง
สิทธิของผู้ได้รับเงินค่าทดแทนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง มีได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งคือ กรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์หามีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีที่วินิจฉัยเกินกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ไม่
กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิ มิใช่อายุความ การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขการกำหนดราคาเบื้องต้นและโจทก์ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และผลของประกาศ คสช. ต่อการฟ้องคดีที่เสร็จเด็ดขาดแล้ว
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีหน้าที่ที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ คือภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2532 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา 60 วันดังกล่าวคือภายในวันที่28 กรกฎาคม 2533 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้ แม้ต่อมาจะมีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 ข้อ 2 ให้เพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ทวิ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 แต่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 2 หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่ เพราะประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5กำหนดให้การเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 10 ทวิ มีผลใช้บังคับแก่การฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยเท่านั้น แต่การฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดแล้วในปี 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืนและผลของประกาศ คสช. ที่ไม่มีผลย้อนหลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายใน60วันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาตรา25วรรคสองและโจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน1ปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวตามมาตรา26วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีโดยล่วงเลยกำหนดนั้นจึงไม่มีสิทธิฟ้องและประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44ข้อ2ที่ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแก้ไขค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนได้เมื่อเห็นว่าราคาที่ดินที่ถูกเวนคืนสูงขึ้นและราคาที่จ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนไปแล้วหรือราคาเบื้องต้นที่กำหนดและประกาศไปแล้วไม่เป็นธรรมก็หามีผลบังคับให้เป็นคุณแก่โจทก์ไม่เพราะการฟ้องคดีของโจทก์ได้เสร็จเด็ดขาดไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์และฟ้องคดีเวนคืน: หากพ้นกำหนด 1 ปี โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 มิถุนายน 2537 จึงฟ้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเวนคืน: ฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนดวินิจฉัยอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน1 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วแต่กรณี ดังนี้เมื่อโจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 1 วันที่ 20 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 1 มิถุนายน 2537 จึงฟ้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่รัฐมนตรีต้องวินิจฉัยให้เสร็จสิ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน: นับจากวันพ้น 60 วันหลังอุทธรณ์ แม้แจ้งรับเงินค่าทดแทนแล้ว
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ตามมาตรา 25 วรรคสอง ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจ ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี กรณีหนึ่ง และในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสองผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังกล่าวอีกกรณีหนึ่ง กรณีของโจทก์เป็นกรณีหลังคือกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีคือภายในวันที่ 15 เมษายน 2534 แม้โจทก์ได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเพิ่มตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24ธันวาคม 2533 ก็ไม่ทำให้กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีหนึ่งปีเริ่มนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี ดังนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 24 ธันวาคม 2534จึงพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปี โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีค่าทดแทนเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา26 ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกเป็นกรณีที่รัฐมนตรีได้วินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กรณีที่สองเป็นกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จสิ้นภายใน60 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลภายใน 1 ปี นับแต่พ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิน และความยินยอมของคู่สมรสในสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
กฎหมายมิได้บัญญัติว่า ถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณี คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1476 สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย ดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน
โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม2532 จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 ก่อนแก้ไขในปี 2533 ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรส ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน" ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. และ ป.มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.หรือไม่ ถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้น ทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 ที่แก้ไขแล้วในปี 2533 จึงยังไม่ถูกต้อง กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส หากไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นสินสมรส ศาลต้องสืบพยาน
คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476 จำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันจึงไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย คดีมี ประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และถ้าเป็นสินสมรสแล้ว ป. ได้ให้ความยินยอมในการทำ สัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ซึ่งโจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดชี้สองสถานและ งดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาคดีไปนั้นเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดและเป็นการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องศาลชั้นต้นต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. หรือไม่และ ป. ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่แล้วจึงพิพากษาตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 730/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรส และผลของการไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสในการทำนิติกรรม
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าถ้าสามีฟ้องคดีจะต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อนทุกกรณีคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฟ้องคดีต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก็เฉพาะการฟ้องคดีเกี่ยวกับสินสมรสซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1476สำหรับคดีนี้ปรากฎว่าจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยาโดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเกี่ยวกับสินสมรสที่โจทก์กับภริยาต้องจัดการร่วมกันตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวจึงไม่มีประเด็นข้อโต้เถียงว่าทรัพย์สินที่โจทก์ฟ้องเป็นสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายดังนั้นโจทก์ย่อมฟ้องคดีนี้ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเสียก่อน โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทเมื่อวันที่8ธันวาคม2532จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ก่อนแก้ไขในปี2533ซึ่งบัญญัติว่า"ในการจัดการสินสมรสถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่งนิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน"ดังนั้นหากที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป. และป. มิได้ให้ความยินยอมในการทำสัญญาจะซื้อจะชายนิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญามิได้คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.หรือไม่ถ้าเป็นสินสมรสแล้วป.ได้ให้ความยินยอมด้วยหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาย่อมเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยังมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้แน่ชัดดังกล่าวข้างต้นทั้งยังเป็นการวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480ที่แก้ไขแล้วในปี2533จึงยังไม่ถูกต้องกรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 84