พบผลลัพธ์ทั้งหมด 261 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบมูลเหตุการกู้เงิน และการฟ้องภริยาต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปทำการค้าค้างดอกเบี้ย โจทก์จึงเอาดอกเบี้ยและต้นเงินรวมกันทำสัญญากู้ไว้ ดังนี้ เป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่นำมาสู่การทำสัญญากู้เงิน เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจริง และได้มีการตกลงกันให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินแล้วอย่างไร ดังนี้ ย่อมสืบได้หาเป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ ทั้งโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องกล่าวอ้างตั้งประเด็นเรื่องที่นำสืบนั้นมาในฟ้องด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นหนี้ก่อขึ้นระหว่างสมรส เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้หนี้โจทก์ด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เป็นหนี้ร่วม" ก็หมายถึงหนี้ดังระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (1) (2) (3) (4) ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม ส่วนจะเป็นหนี้ร่วมชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 และเป็นหนี้ก่อขึ้นระหว่างสมรส เป็นหนี้ร่วม จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้หนี้โจทก์ด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าคำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เป็นหนี้ร่วม" ก็หมายถึงหนี้ดังระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (1) (2) (3) (4) ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ ไม่เคลือบคลุม ส่วนจะเป็นหนี้ร่วมชนิดใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการมอบอำนาจและยึดทรัพย์สินร่วม: ผลผูกพันต่อภริยา
ภริยารู้เห็นยินยอมในการที่สามีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจและมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้บุคคลภายนอกนำไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการที่บุคคลภายนอกเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารนั้น แม้ภริยาจะมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจด้วยภริยาก็ต้องผูกพันในการกระทำของสามี
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
สามีภริยาร่วมรู้เห็นยินยอมให้บุคคลภายนอกเอาโฉนดที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ไปให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักฐานในการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลภายนอก เมื่อบุคคลภายนอกยังค้างชำระหนี้ธนาคารอยู่ ธนาคารก็มีสิทธิยึดโฉนดไว้ได้ สามีและภริยาเจ้าของโฉนดไม่มีสิทธิเรียกคืนโฉนดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกประเด็น: จำเลยอ้างเหตุไม่มีอำนาจทำสัญญาขายร่วมกับภริยา ซึ่งไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล
โจทย์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขายที่ดินและเรือนโรงที่จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาว่า เนื่องจากจำเลยกับภริยาทำสัญญาหย่ากัน จำเลยไม่อาจจัดการประการใดในการที่ภริยาคัดค้านการซื้อขาย เพราะเป็นสิทธิของภริยา แต่จำเลยยอมขายที่ดินและเรือนโรงเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยไม่มีอำนาจทำสัญญาขายทรัพย์พิพาทให้โจทก์โดยลำพัง เนื่องจากจำเลยกับภริยาไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ เป็นฎีกานอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานอกประเด็น: การที่จำเลยอ้างเรื่องภริยาเป็นเจ้าของร่วมทรัพย์สิน มิได้ยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ในชั้นศาลต่ำกว่า
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขายที่ดินและเรือนโรงที่จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้อ้างเหตุที่ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาว่า เนื่องจากจำเลยกับภริยาทำสัญญาหย่ากัน จำเลยไม่อาจจัดการประการใดในการที่ภริยาคัดค้านการซื้อขาย เพราะเป็นสิทธิของภริยาแต่จำเลยยอมขายที่ดินและเรือนโรงเฉพาะส่วนของจำเลย ดังนี้ จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยไม่มีอำนาจทำสัญญาขายทรัพย์พิพาทให้โจทก์โดยลำพังเนื่องจากจำเลยกับภริยาไม่ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่เป็นฎีกานอกประเด็นที่จำเลยให้การไว้ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินร่วมจากการทำมาหากิน แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์นำยึดที่พิพาทของผู้ร้องในฐานะผู้ร้องเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์อ้างว่าเป็นของผู้ร้อง และผู้ร้องมิใช่ภริยาจำเลย โจทก์ต่อสู้ว่า (1) จำเลยและผู้ร้องได้ร่วมกันทำมาหากินจนเกิดทรัพย์พิพาท จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้อง (2) ทรัพย์พิพาทเป็นสินบริคณห์ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่ายในการทำมาหากินร่วมกับผู้ร้อง ผู้ร้องจึงเป็นลูกหนี้ร่วมตามกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะยึดทรัพย์พิพาทได้ (3) แม้ผู้ร้องจะเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจริงผู้ร้องก็ซื้อมาในระหว่างเป็นภริยาจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย โจทก์ชอบที่จะยึดได้ ดังนี้แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์พิพาท และผู้ร้องมิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ศาลก็วินิจฉัยได้ว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่จำเลยและผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยจึงเป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทร่วมกับผู้ร้องดังข้อต่อสู้ของโจทก์ข้อ 1 และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินเดิมของภริยาเพื่อชำระหนี้สามี: ต้องเป็นหนี้ร่วมเท่านั้น
แม้สินเดิมของผู้ร้องจะเป็นสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากัน โจทก์ก็หามีสิทธินำยึดเพื่อขายทอดตลาด เอาเงินชำระหนี้ได้เสมอไปไม่ โจทก์จะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ก็ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (อ้างฎีกาที่ 1792/2492, 1250/2493, 1059/2495, 460/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้อนุบาลของสามีต่อภริยาที่ไร้ความสามารถ และสิทธิของผู้คัดค้านในการเสนอผู้อนุบาลอื่น
ตามปกติสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลภริยาซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล เมื่อผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดคัดค้านต่อศาล ผู้คัดค้านชอบที่จะนำสืบแสดงเหตุสำคัญให้เห็นว่าศาลควรตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกสินสมรสให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา: การให้ตามสมควรในทางศีลธรรมหรือสมาคม
โจทก์ฟ้องว่าสามีโจทก์นำสินสมรสไปยกให้จำเลยโดยเสน่หา โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ขอให้เพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าเป็นสินสมรสระหว่างสามีโจทก์และมารดาจำเลย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการยกให้นี้เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางสมาคมนิยมเป็นข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 ดังนี้ถือว่า ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการยกให้เป็นกรให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือไม่นี้ ได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยจึงฎีกาปัญหาข้อนี้ได้
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3).
การยกที่ดิน 3 แปลงราคา 100,000 บาท อันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และสามีโจทก์ให้บุตรของสามีโจทก์อันเกิดแต่ภริยาอีกคนหนึ่ง โดยในขณะยกให้ไม่ปรากฏว่าผู้ยกให้มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ย่อมไม่ใช่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3).