คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาระจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโมฆะ: เจตนาหลอกลวงในการเลิกภาระจำยอมเพื่อจำนองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของจำเลยเคยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาจำเลยปิดกั้นไม่ยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์ใช้น้ำจากคูน้ำ อ่างเก็บน้ำ และทางเดินออกไปสู่ถนนสาธารณะและนำที่ดินของจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามเดิม เพราะการที่โจทก์และจำเลยจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมนั้นเป็นการช่วยเหลือโจทก์ให้นำที่ดินไปจำนองแก่ธนาคารโดยไม่มีเจตนาที่จะยกเลิกภาระจำยอมกันอย่างแท้จริง แม้โจทก์จะไม่บรรยายฟ้องว่าทางภาระจำยอมกว้างยาวเท่าใด เครื่องสูบน้ำอยู่บริเวณใด ก็เป็นเพียงรายละเอียด เพราะที่ดินของจำเลยเคยจดทะเบียนตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์มาก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและวัตถุประสงค์ในการมีคูน้ำและอ่างเก็บน้ำโดยระบุว่าโจทก์จำเลยรู้ถึงวัตถุประสงค์นั้น จึงช่วยกันเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการขุดคูน้ำและทำอ่างเก็บน้ำ และศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นเรื่องการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในที่ดินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ไว้ด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฟ้องนั้นมีกฎหมายข้อใดบัญญัติให้โจทก์เกิดสิทธิในการใช้น้ำในสถานที่ดังกล่าวโดยจำเลยไม่มีสิทธิขัดขวางบ้างหรือไม่ หากมีบัญญัติไว้ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาปรับบทแก่คดีของโจทก์ได้ ไม่จำเป็นที่ศาลจะพิพากษาให้สิทธิโจทก์เฉพาะบทกฎหมายที่โจทก์อ้างเท่านั้น ทั้งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา141 (5) และมาตรา 142
โจทก์และจำเลยตกลงให้มีการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำในที่ดินของจำเลยตามที่ จ.แนะนำโดยประสงค์จะให้บุตรทุกคนที่ จ.แบ่งปันที่ดินให้ มีน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรมในที่ดินของตน โดยให้บุตรทุกคนที่ได้รับแบ่งปันที่ดินเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายตามส่วนที่ได้รับที่ดิน จำเลยก็ร่วมเฉลี่ยออกค่าจ้างด้วย จนการขุดคูน้ำ ทำท่อลอดถนน และสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวแล้วเสร็จ แสดงว่าจำเลยรับรู้เจตนาของ จ.และยอมรับการกระทำของ จ.จึงมีผลเท่ากับโจทก์และจำเลยยอมรับกันโดยปริยายว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสัญญาต่างตอบแทนว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยมีสิทธิใช้น้ำจากคูน้ำและอ่างเก็บน้ำตลอดระยะเวลาที่โจทก์และจำเลยทำเกษตรกรรมในที่ดินของตนตลอดไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิห้ามโจทก์ใช้น้ำดังกล่าว
การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมเป็นไปเพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้สามารถนำที่ดินของโจทก์ไปจำนองแก่ธนาคารได้เท่านั้น จึงเชื่อได้ว่ามิใช่มีเจตนาจดทะเบียนยกเลิกภาระจำยอมเนื่องจากจะให้ภาระจำยอมสิ้นไปหรือโจทก์และจำเลยตกลงที่จะไม่ให้มีภาระจำยอมอีกต่อไปเพราะภาระจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์แล้ว การจดทะเบียนเลิกภาระจำยอมด้วยเจตนาดังกล่าวจึงเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยกันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงตกเป็นโมฆะ
ปัญหาที่ว่านิติกรรมใดเป็นโมฆะหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดสิทธิแม้เจ้าของที่ดินเปลี่ยน
ป.พ.พ. มาตรา 1387 และ 1388 เพ่งเล็งถึงความสำคัญของที่ดินที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ ไม่ใช่ตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 24324 มาจาก ส. เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2520 จนถึงวันที่ ส.ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2529 เป็นระยะเวลาเพียง 8 ปีเศษ แต่หลังจากนั้นโจทก์ยังคงใช้ทางเดินในที่พิพาทติดต่อมาในช่วงที่จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอีก 2 ปีเศษ ถือได้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยทั้งสามมีทางเดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงของโจทก์มาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ย่อมเกิดภาระจำยอมโดยอายุความได้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: จำเลยต้องเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงอ้างได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ 10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่ง ตามลำดับ
ลักษณะสำคัญของภาระจำยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1387คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภาระจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภาระจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องภาระจำยอมซ้ำ: ประเด็นต่างกัน, ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ใช้เหตุจากลำรางสาธารณะเดียวกัน
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางภาระจำยอมอ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความเป็นทางรถยนต์กว้างประมาณ 4 เมตร แต่อ้างว่าทางพิพาทเดิมเป็นลำรางสาธารณะและตื้นเขินกลายเป็นทาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อทางพิพาทเป็นลำรางสาธารณะซึ่งตื้นเขินจึงไม่อาจอ้างว่าได้ภาระจำยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยอ้างว่าทางสาธารณะซึ่งเดิมเป็นลำรางนั้นกว้างเพียง 1.8 เมตร แต่โจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้รถยนต์ผ่านทางนั้นและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยอีกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางผ่านเข้าออกเป็นเวลากว่า10 ปี ทางกว้าง 2 เมตรจึงเป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ประเด็นในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้จึงต่างกัน คดีนี้มีประเด็นตามคำฟ้องว่า ทางกว้างประมาณ 2 เมตรยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินจำเลยเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ส่วนปัญหาว่าคดีก่อนโจทก์ทั้งสี่อ้างว่าลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายเป็นทางกว้างประมาณ4 เมตร จะคลุมถึงทางรถยนต์ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ว่าอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร หรือไม่นั้น จำเลยให้การในคดีก่อนว่าทางสาธารณะกว้างเพียง 1 เมตร เท่านั้น และโจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์ผ่านทางเข้ามาในที่ของจำเลยกว้างประมาณ 1.8 เมตร จำเลยจึงสร้างกำแพงกั้น ดังนั้นประเด็นที่ว่าทางสาธารณะคลุมถึงทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำทางภาระจำยอม: ประเด็นต่างกัน แม้คดีก่อนอ้างเหตุเดียวกัน ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่าง
คดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า ทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องเดิมเป็นลำรางสาธารณะต่อมาตื้นเขินกลายเป็นทาง โจทก์ทั้งสี่จึงอ้างว่าได้ภาระจำยอมไม่ได้ แต่คดีนี้มีประเด็นว่าทางกว้างประมาณ2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินของจำเลยเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ประเด็นที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยในคดีนี้ จึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงมิใช่ฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6266/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดภาระจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องพิสูจน์การไม่ใช้หรือหมดประโยชน์
การจะรับฟังว่าภาระจำยอมสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า ทางภาระจำยอมมิได้ใช้สิบปีขึ้นไป ส่วนภาระจำยอมสิ้นไปตามมาตรา 1400 โจทก์ก็จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ใช้ที่ดินแปลงอื่นซึ่งซื้อจากบุคคลภายนอกไปสู่โรงงานของเจ้าของสามยทรัพย์นั้น เป็นทางซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ใช้เป็นประโยชน์สำหรับที่ดินแปลงอื่นเพื่อใช้ออกสู่โรงงาน ไม่ใช่สำหรับที่ดินแปลงสามยทรัพย์เพื่อใช้ออกทางสาธารณะ จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าทางภาระจำยอมหมดประโยชน์หรือเสื่อมประโยชน์แก่สามยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6004/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายภาระจำยอมไม่กระทบสิทธิใช้ทางของโจทก์ และความล่าช้าในการฟ้องร้องแสดงว่าไม่ใช่ทางสะดวก
ตามฎีกาของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ปรากฏว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงประการใดบ้าง เพียงแต่กล่าวอ้างลอย ๆ ว่าการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลงเท่านั้น และทางที่เปิดเป็นภาระจำยอมขึ้นใหม่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 24612 ก็ปรากฏว่าเป็นทางเชื่อมต่อกับที่ดินว่างเปล่าพื้นเทคอนกรีตในที่ดินโฉนดเลขที่ 1157 ของจำเลยที่ 1 ออกสู่ถนนโดยสะดวก ทั้งจำเลยที่ 1ก็ดำเนินการปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทเดิมตั้งแต่ปี 2525 หากทางพิพาทเป็นทางที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ผ่านเข้าออกโดยสะดวกอยู่ก่อนแล้วโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็น่าจะรีบดำเนินการฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำทางพิพาทในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ก็เพิ่งมาฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2527 โดยมีโจทก์ที่ 3 ร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยที่ 5ถึงที่ 10 มาเป็นจำเลยร่วมในภายหลังซึ่งเป็นเวลาหลังจากเริ่มทำการก่อสร้างตึกแถวนานถึง 2 ปี และเป็นเวลาหลังจากทำการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเป็นเวลาหลังจากโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไปแล้วอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าทางพิพาทที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ใช้ผ่านเข้าออกมาแต่เดิมนั้นไม่ใช่ทางที่ผ่านเข้าออกโดยสะดวก ถือได้ว่าการย้ายภาระจำยอมจากทางพิพาทเดิมไปยังที่ดินในโฉนดเลขที่ 24612 ของจำเลยที่ 5 ไม่ทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ลดน้อยลง นอกจากนี้ก็ปรากฏว่าตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาในทางพิพาทกว้างประมาณ 3 ถึง 4 เมตร จำนวนตึกแถวที่รุกล้ำเข้ามาก็มีถึง 12 คูหา ซึ่งเห็นได้ว่าหากมีการรื้อตึกแถวในส่วนที่รุกล้ำเข้ามาทุกคูหาย่อมเกิดความเสียหายมากการย้ายภาระจำยอมดังกล่าวจึงเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และเป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม: สิทธิการใช้ทางและขอบเขตการรื้อถอนสิ่งกีดขวางตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมมีข้อความระบุให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถเต็มทั้งแปลงของโฉนดที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงที่ดินด้านหน้าที่ติดถนนก็ปลูกตึกแถวตลอดแนวเต็มเนื้อที่ และโจทก์จะดำเนินการก่อสร้างด้านในหลังตึกแถวดังกล่าวโดยทำถนนคอนกรีตไปจดแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อหลักหินและตัดต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นตามแนวเขตออกและยังมีสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อีก จึงเป็นการขัดขวางการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นเป็นการยอมให้ใช้เดินและใช้รถตามถนนในสภาพที่อยู่เดิม ไม่ใช่ยอมให้โจทก์เชื่อมถนนของโจทก์ จำเลยเข้าด้วยกัน ขัดกับข้อตกลงภาระจำยอมจึงฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ขัดขวางมิให้โจทก์ทำถนนมาเชื่อมกับถนนภาระจำยอม เป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมและจากที่บุคคลภายนอกบอกเลิกสัญญาไม่ยอมซื้อที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยว่า 600,000 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต้องเป็นการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่การเสียค่าตอบแทน
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 ต้องได้ใช้ทางโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอม การใช้ทางโดยเสียเงินค่าตอบแทนแก่เจ้าของที่ดินจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางนั้น โดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินแม้จะใช้ทางมาเกินกว่า 10 ปี ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทาง - ข้อตกลงปากเปล่า - ภาระจำยอมโดยอายุความ - ไม่เป็นภาระจำยอม
จำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของเจ้าของเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ให้เส้นทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าวด้านทิศใต้กว้าง1.5 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินดังกล่าวแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านหลังใช้เป็นทางเดินและเมื่อแรกที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ก็ได้ทำรั้วโดยเว้นทางพิพาทไว้อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป
โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอม
of 43