คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของตัวการ: หลักการคำนวณกำไรสุทธิและการประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ไม่ว่า พ.ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสองประกอบมาตรา 71 (1) หรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 66 และมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ ต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ประกอบมาตรา 71 (1) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุล บัญชีกำไรขาดทุน และหลักฐานทางบัญชีต่าง ๆ ของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่าง ๆ ตามสมุดบัญชีงบดุล และงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้ และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้น ไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ฉะนั้น การที่ พ.ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 66 และมาตรา 67 เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีก แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้ จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษี-อากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยระบุราคาเท็จในสัญญาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะหากมีการชำระราคาครบถ้วน
โจทก์และจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินและตึกแถวกันในราคา1,500,000บาทแต่ได้ทำสัญญาซื้อขายโดยระบุในสัญญาโอนว่าซื้อขายกันในราคา300,000บาทเมื่อปรากฏว่าจำเลยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวไปครบถ้วนตามราคาที่ซื้อขายกันจริงแล้วเช่นนี้จำเลยจะกลับมาฎีกาว่าสัญญาซื้อขายโจทก์แจ้งราคาเพียง300,000บาทเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมและค่าภาษีจึงเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การกำหนดราคา, เงินล่วงหน้า, และการเสียภาษี
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อ ระบุว่าให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคือแร่ทั้งหมดตกเป็นของบริษัท ท.เมื่อได้ชั่งน้ำหนักชื้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้ ราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุโดยผู้ขายอาจระบุเอาวันตลาดดีบุกปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นวันราคาตลาดปีนังก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นราคาตลาดปีนัง ก็ให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อ และเมื่อได้รับคำขอจากผู้ขายบริษัท ท.จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาท จำนวนไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อสุทธิประมาณได้จากปริมาณของแร่ดีบุกที่ผู้ขายส่งมอบให้แต่ละครั้งและที่ผู้ขายยังมิได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดเป็นราคาตลาดปีนัง ราคาซื้อสุทธิที่ประมาณนี้ให้คำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้า สัญญาซื้อขายแร่เช่นนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่ระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอน ฝ่ายผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังโดยถือราคาแร่ของตลาดปีนังในวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบแร่ถ้าผู้ขายไม่กำหนดภายในเวลาดังกล่าวให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบแร่เป็นราคาแร่ที่ซื้อขายกัน เหตุผลที่ต้องมีข้อตกลงเช่นนี้ก็เพื่อมิให้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะราคาแร่ขึ้นลงทุกวัน และการที่ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ให้แก่ผู้ขายเมื่อผู้ขายร้องขอทั้ง ๆ ที่ผู้ขายยังมิได้กำหนดราคาซื้อขายแร่ ก็ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 หลังจากวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าจนกระทั่งผู้ขายจะได้ระบุวันตลาดปีนังที่ใช้คำนวณราคาแร่ที่ซื้อขายกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อเกินไปนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายจึงใช้บังคับได้ บริษัทท.ได้ยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่ และเงินล่วงหน้าค่าแร่ที่บริษัทจ่ายให้ผู้ขายไปก่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ ดังนั้นเงินจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ที่โจทก์ได้รับไว้เมื่อวันที่ 24 และ 26 ธันวาคม 2524 นั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ที่บริษัท ท.ผู้ซื้อได้ชำระให้แก่โจทก์ผู้ขาย หาใช่เงินกู้ไม่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2524
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: เงินล่วงหน้าเป็นส่วนหนึ่งของราคาซื้อ ไม่ใช่เงินกู้ ต้องนำมารวมคำนวณภาษี
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท. ผู้ซื้อ ระบุว่าให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคือแร่ทั้งหมดตกเป็นของบริษัท ท. เมื่อได้ชั่งน้ำหนักชิ้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้ราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุโดยผู้ขายอาจระบุเอาวันตลาดดีบุกปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นวันราคาตลาดปีนังก็ได้ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นราคาตลาดปีนังก็ให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อ และเมื่อได้รับคำขอจากผู้ขายบริษัท ท. จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาท จำนวนไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อสุทธิประมาณได้จากปริมาณของแร่ดีบุกที่ผู้ขายส่งมอบให้แต่ละครั้งและที่ผู้ขายยังมิได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดเป็นราคาตลาดปีนังราคาซื้อสุทธิที่ประมาณนี้ให้คำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้า สัญญาซื้อขายแร่เช่นนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่ระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท. ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอน ฝ่ายผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังโดยถือราคาแร่ของตลาดปีนังในวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบแร่ ถ้าผู้ขายไม่กำหนดภายในเวลาดังกล่าวให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบแร่เป็นราคาแร่ที่ซื้อขายกันเหตุผลที่ต้องมีข้อตกลงเช่นนี้ก็เพื่อมิให้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะราคาแร่ขึ้นลงทุกวันและการที่ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ให้แก่ผู้ขายเมื่อผู้ขายร้องขอทั้ง ๆ ที่ผู้ขายยังมิได้กำหนดราคาซื้อขายแร่ ก็ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 หลังจากวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าจนกระทั่งผู้ขายจะได้ระบุวันตลาดปีนังที่ใช้คำนวณราคาแร่ที่ซื้อขายกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อเกินไปนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายจึงใช้บังคับได้ บริษัท ท. ได้ยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่ และเงินล่วงหน้าค่าแร่ที่บริษัทจ่ายให้ผู้ขายไปก่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ ดังนั้นเงินจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ที่โจทก์ได้รับไว้เมื่อวันที่ 24 และ 26 ธันวาคม 2524 นั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ที่บริษัท ท. ผู้ซื้อได้ชำระให้แก่โจทก์ผู้ขาย หาใช่เงินกู้ไม่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2524
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนอากร-ดอกเบี้ย-ภาษีอื่น และประเด็นศาลต้องชี้ขาดทุกประเด็นข้อพิพาท
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าให้สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำของเข้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้ก่อนนั้นต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี ก็ขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 และขอคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ป.รัษฎากร พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 ตามลำดับจำเลยยกอายุความเฉพาะตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้าขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ดังนั้น แม้คดีของโจทก์เกี่ยวกับสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แล้วศาลภาษีอากรกลางก็ยังต้องวินิจฉัยว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกหรือไม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนเงินอากร, ภาษี, ค่าธรรมเนียมพิเศษ และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
สิทธิในการเรียกร้องหรือในการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียนั้นจะต้องฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันนำของเข้าตามมาตรา10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินต่ออธิบดีกรมศุลกากรภายใน 2 ปี แต่นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร สิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปหรือขาดอายุความ ส่วนภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล และค่าธรรมเนียมพิเศษนั้น เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และศาลวินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องคืนอากรขาเข้าขาดอายุความเพียงอย่างเดียว จำเลยจึงต้องคืนภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ สำหรับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี พอถือได้ว่าโจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเป็นการเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุผิดนัดชำระหนี้เงินคืน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ส่วนค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นการเรียกดอกเบี้ยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ ซึ่งนำมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดระเบียบการเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 โดยจำเลยต้องคืนค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนนับแต่วันที่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนถึงวันที่มีการอนุมัติให้จ่ายคืน คดีนี้จำเลยไม่ได้ยกอายุความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่วินิจฉัยประเด็นว่าจำเลยต้องคืนเงินภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามฟ้องอีกหรือไม่เพียงใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำจากการบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน: เป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษี
โจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ อ.โดย อ.วางมัดจำไว้ในวันทำสัญญา 9,000,000 บาท แต่ อ.ไม่มารับโอนที่ดินในวันนัด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิรับเงินมัดจำดังกล่าวตามสัญญา ดังนี้ แม้ อ.จะฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนก็เป็นการฟ้องหลังจากที่โจทก์ได้ริบเงินมัดจำแล้ว หาใช่ว่าโจทก์ยังมิได้ริบเงินมัดจำหรือเป็นกรณีที่โจทก์จะมีสิทธิริบเงินมัดจำหรือไม่ยังไม่ทราบ อันจะถือว่าเงินมัดจำเป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์จะได้รับมาในภายหน้าไม่ เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับเนื่องจาก อ.ซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดสัญญา จึงเป็นเงินได้จากการอื่น ๆ ตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร และเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 39
of 70