พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิการดำเนินคดีอาญาหากสัญญาชัดเจนว่าไม่ครอบคลุมคดีอาญา
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไว้แล้ว ไปฟ้องเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชำระเงินตามเช็คฉบับพิพาทนั้นอีกสำนวนหนึ่ง และต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมใช้เงินตามเช็คฉบับพิพาทให้แก่โจทก์ ศาลได้มี คำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระบุไว้ชัดว่า โจทก์ยอมตามจำเลยยอมเลิกคดีเฉพาะส่วนแพ่ง แสดงชัดว่าโจทก์จำเลยมิได้ประสงค์ที่จะยอมเลิกคดีอาญาต่อกัน จึงไม่เป็นผลให้สิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินคดีอาญาระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีแพ่งไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการดำเนินคดีอาญาคดีความผิดต่อส่วนตัว
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ไว้แล้ว ต่อมาได้ไปฟ้องคดีแพ่งเรียกให้จำเลยชำระเงินตามเช็คฉบับพิพาทนั้นอีกสำนวนหนึ่ง แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งโดยจำเลยยอมใช้เงินตามเช็คฉบับพิพาทให้แก่โจทก์ ศาลได้มี คำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความ ได้ระบุไว้ชัดว่า โจทก์ยอมตามที่จำเลยยอมเลิกคดีเฉพาะส่วนแพ่งแสดงชัดว่าโจทก์จำเลยมิได้ประสงค์ที่จะยอมเลิกคดีอาญาต่อกัน จึงไม่เป็นผลให้สิทธิของโจทก์ที่จะดำเนินคดีอาญาระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนีประนอมยอมความต้องมีข้อตกลงระงับข้อพิพาท การรับเงินหลังร้องทุกข์ไม่ใช่การยอมความ
การประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน
ยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยส่งเงินมาให้ผู้เสียหายรับไว้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ทำความตกลงระงับข้อพิพาทต่อกัน เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย
ยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความกันได้ เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลยแล้ว ต่อมาจำเลยส่งเงินมาให้ผู้เสียหายรับไว้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ทำความตกลงระงับข้อพิพาทต่อกัน เช่นนี้ย่อมไม่ใช่การประนีประนอมยอมความตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 333/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำในประเด็นที่เคยยอมความและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งมีบ้านของจำเลยปลูกอยู่โดยอาศัยสิทธิโจทก์โจทก์เคยฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งให้รื้อบ้านออกไปอ้างเหตุว่าจำเลยก่อความรำคาญ แต่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยโจทก์ยอมรับว่าบ้านเป็นของจำเลยโจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไปซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้วบัดนี้โจทก์กลับมาฟ้องขับไล่ให้จำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่ดินอีกอ้างเหตุว่า จำเลยประพฤติตนไม่เหมาะสมโดยไม่ได้อ้างเหตุใหม่อะไรเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้ว่า โจทก์จะไม่รบกวนสิทธิของจำเลยเกี่ยวกับบ้านต่อไป หากจำเลยมิได้กระทำการใดๆ ขึ้นใหม่ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินที่โจทก์เช่าต่อไป โจทก์จะอาศัยเหตุอย่างเดียวกับที่ฟ้องจำเลยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้แล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยอีกมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่ตรงกับลักษณะข้ออ้าง และผลของการยอมความของคู่ความเดิม
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้น แต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วม เมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่ หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่ แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้ว จึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้วเป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่ตรงกับลักษณะข้ออ้าง และผลของการยอมความ
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้นแต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา 57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วมเมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่ หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่ แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้วจึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้วเป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมที่ไม่สอดคล้องกับลักษณะข้ออ้างและผลของการยอมความ
คำร้องสอดกล่าวว่า ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1). ซึ่งคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกัน. กล่าวคือ การขอเข้าเป็นจำเลยร่วมย่อมเป็นไปตามมาตรา 57(2) เท่านั้น. แต่ลักษณะข้ออ้างของผู้ร้องสอดได้อ้างเข้ามาในทางว่า ตนเองมีสิทธิที่จะบังคับเอากับทรัพย์รายพิพาทได้โดยโจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิดีกว่าอย่างไร. การอ้างเข้ามาจึงมีลักษณะเข้าตามมาตรา57(1) ซึ่งมิใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องการขอเข้าเป็นจำเลยร่วม. เมื่อคำขอกับนัยที่อ้างไม่ตรงกันอยู่. หากจะเห็นว่าความประสงค์อันแท้จริงของผู้ร้องก็คือ จะขอเข้าบังคับเอาตามสิทธิของตนดังที่มีอยู่โดยอาศัยความในมาตรา 57(1)นั้นเองแล้ว. การที่จะรับให้ผู้ร้องสอดเข้ามาในฐานนี้ได้ก็จำต้องมีโจทก์จำเลยเดิมว่าคดีกันต่อไป และตกอยู่ในฐานะเป็นจำเลยผู้ร้องสอดไปทั้งคู่. แต่เมื่อโจทก์จำเลยเดิมได้ยอมความเสร็จเรื่องกันไปแล้ว. จึงหมดกรณีที่ผู้ร้องสอดจะอาศัยร้องสอดเข้าไปในฐานะนี้ได้เสียแล้ว.เป็นเรื่องของผู้ร้องสอดที่จะดำเนินคดีของตนในทางอื่นต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587, 1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586, 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่า ผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรค 2 ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: ไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาช่วยเหลือคดีมรดก: จ่ายเงินรางวัลเมื่อยอมความได้ส่วนแบ่ง แม้ยังไม่มีผลพิสูจน์ลายมือ
จำเลยขอให้โจทก์เจรจาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์ลายมือเพื่อพิสูจน์ลายมือในพินัยกรรมในคดีที่จำเลยฟ้องขอแบ่งมรดก โจทก์ได้เจรจาจนผู้เชี่ยวชาญนั้นยอมรับจะพิสูจน์ จำเลยจึงได้ทำสัญญาให้โจทก์ไว้มีข้อความว่า
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3
ข้อ 1 ผู้ให้สัญญายอมให้ผู้ถือสัญญาจัดการวิ่งเต้นช่วยเหลือคดีมรดกของผู้ให้สัญญา และ
ข้อ 2 เมื่อคดีมรดกของผู้ให้สัญญาได้เสร็จสิ้นลงและผู้ให้สัญญาได้รับเงินส่วนแบ่งในคดีมรดกนั้นแล้ว ผู้ให้สัญญาต้องจ่ายเงิน 60,000 บาทให้แก่ผู้ถือสัญญา ฯลฯ
ข้อ 3 หากคดีมรดกนี้ได้มีการประนีประนอมยอมความลงก่อนศาลพิพากษา ผู้ให้สัญญายอมจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้ถือสัญญาเพียง 30,000 บาท
ดังนี้ หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยจำเลยได้รับส่วนแบ่งมรดกแล้ว แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังมิได้ทำการพิสูจน์ลายมือ จำเลยก็ต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 3