พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9093/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานโรงแรมยักยอกเงินค่าอาหารลูกค้า ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง
จำเลยเป็นพนักงานแผนกห้องอาหารของบริษัท ก. ซึ่งประกอบกิจการโรงแรม มีหน้าที่นำใบเสร็จรับเงินไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้าที่สั่งอาหารและเครื่องดื่มแล้วนำเงินค่าอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวส่งให้โรงแรม การที่จำเลยนำใบเสร็จรับเงินที่ใช้เรียกเก็บเงินไปแล้วมาลงวันที่และเขียนรายการใหม่ แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากลูกค้ารายใหม่ ก็เพื่อไม่ต้องนำเงินจำนวนที่จำเลยเรียกเก็บใหม่ดังกล่าวส่งมอบให้แก่ทางโรงแรมเพราะไม่มีหลักฐานการรับเงินที่แท้จริงและเก็บเงินจำนวนนั้นไว้เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของจำเลยคือโรงแรมที่ต้องเสียค่าแรงงานและค่าอาหาร เมื่อลูกค้าไม่ยอมชำระเงินค่าอาหาร บริษัท ก. จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดฐานพยายามฉ้อโกง
สำหรับคำขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6378/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น เมื่อคดีนี้ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ทั้งคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุก จึงนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
สำหรับคำขอให้นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 6378/2555 ของศาลชั้นต้นนั้น เมื่อคดีนี้ศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน ทั้งคดีอาญาของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำคุก จึงนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16310/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุจริตต่อหน้าที่ของพนักงานขาย การยักยอกเงินจากลูกค้า และผลกระทบต่อสิทธิในการรับค่าชดเชย
การที่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขายของจำเลย ดำเนินการขายรถยนต์ให้แก่บริษัท ย. ในนามตัวแทนของจำเลย รับดำเนินการทางทะเบียนรถยนต์ให้แก่บริษัท ย. โดยมิได้มีหน้าที่โดยตรงแล้วอาศัยโอกาสเรียกให้บริษัท ย. โอนเงินเข้าบัญชีโจทก์ 15,000 บาท แล้วนำส่งจำเลยเป็นค่ามัดจำป้ายทะเบียนรถยนต์ป้ายแดง 4,000 บาท และค่าจดทะเบียนรถยนต์ 3,800 บาท ส่วนที่เหลือ 7,200 บาท ไม่คืนให้แก่บริษัท ย. เป็นเหตุให้บริษัท ย. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ เป็นการประพฤติตนไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่ คดโกง ถือได้ว่าทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง (1) และกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังฟ้องคดี และอำนาจการร้องทุกข์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจในคดีทุจริต
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ โดยให้มีผลเป็นอันยกเลิก พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแทน และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13894/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐสั่งจ่ายเงินขาดบัญชี และการทุจริตยักยอกเงินของหน่วยงาน
ฎีกาโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันชำระเงิน 4,912,961.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มิได้ดำเนินการขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าเสียหายในคดีดังกล่าว เพราะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ไปก่อนแล้วนั้น ไม่ใช่การโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น มีผลผูกพันโจทก์ร่วมว่า จำเลยร่วมกันทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปจำนวน 4,496,323.83 บาท ว่ามีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกา ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทและปราศจากอำนาจเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่เงินงบประมาณขาดไปจำนวน 1,075,244.83 บาท หรือไม่ โดยโจทก์ฟ้องว่า เงินงบประมาณดำเนินการก่อสร้างชลประทานขนาดเล็กเร่งด่วนทั้ง 9 โครงการที่เกิดเหตุ โจทก์ได้รับมารวมกันเป็นเงิน 17,083,000 บาท การเบิกจ่ายเงินค่าก่อสร้างจนเสร็จสิ้นมีใบสำคัญค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเงิน 9,048,728.17 บาท และใบสำคัญค่าจ้างเหมาแรงงานเป็นเงิน 6,959,027 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นเพียง 16,007,755.17 บาท ต้องมีเงินงบประมาณเหลือ 1,075,244.83 บาท แต่หลังเกิดเหตุคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เบิกจ่ายเงินงบประมาณไปหมดสิ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องเงินขาดบัญชีต่างหากนอกเหนือไปจากที่จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกไปโดยทำใบสำคัญจัดซื้อ ตรวจรับและเบิกจ่ายพัสดุเป็นเท็จ โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดเฉพาะส่วนนี้เป็นส่วนตัวในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3038/2530 ของศาลชั้นต้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนี้โดยไม่จำต้องถือเอาข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญา เพราะไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริงเรื่องการยักยอกเงิน จำเป็นต้องไต่สวนเพิ่มเติม
หลังจากศาลฎีกามีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลแรงงานกลางส่งสำเนาคำร้องที่ ร. ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์และไต่สวนคำร้องว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำร้องหรือไม่ ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามคำสั่งศาลฎีกาแล้ว แต่มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ด้วยซึ่งเป็นการไม่ชอบ เพราะเมื่อมีการสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาแล้ว การสั่งเรื่องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา จึงให้ยกคำสั่งศาลแรงงานกลางที่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เสีย แต่เนื่องจากมีการไต่สวนพยานหลักฐานแล้ว ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วจึงอนุญาตให้ ร. ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่า ว. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยได้สอบสวนอย่างไร และวินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานซึ่งจำเลยถือว่าโจทก์ทำผิดระเบียบของโรงแรมจำเลยนั้น การยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยโจทก์มิได้กระทำผิดร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วย กฎหมาย อันมีความหมายว่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่า โจทก์ยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานก็ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ชัดว่าโจทก์ได้กระทำการยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานหรือไม่ จึงยังไม่อาจนำข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องนี้ไปวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ตามที่จำเลยให้การต่อสู้เสียก่อน
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่า ว. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลของจำเลยได้สอบสวนอย่างไร และวินิจฉัยว่าการที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานซึ่งจำเลยถือว่าโจทก์ทำผิดระเบียบของโรงแรมจำเลยนั้น การยักยอกเงินของเพื่อนพนักงานไม่ได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับว่าเป็นความผิดร้ายแรงด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทันทีโดยโจทก์มิได้กระทำผิดร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและไม่ชอบด้วย กฎหมาย อันมีความหมายว่า แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่า โจทก์ยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานก็ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง เท่ากับศาลแรงงานกลางยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ชัดว่าโจทก์ได้กระทำการยักยอกเงินที่แขกทิปให้พนักงานหรือไม่ จึงยังไม่อาจนำข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องนี้ไปวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ตามที่จำเลยให้การต่อสู้เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดของอายุความ
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เข้าทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ส. โดยยอมร่วมรับผิดกับ ส. จำเลยที่ 4 ในฐานะสามีของจำเลยที่ 3 ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันและยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 ส. ลูกจ้างโจทก์ได้ยักยอกเงินของโจทก์ และทำหนังสือรับสภาพหนี้กำหนดว่าจะชำระเงินให้แก่โจทก์งวดแรกในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ดังนี้ ความรับผิดของ ส. เป็นความรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 กำหนดเวลานี้เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุทุจริตยักยอกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2536 แต่เมื่อ ส. ทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ขอผ่อนชำระเงินคืนแก่โจทก์ งวดแรก 200,000 บาท ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 การรับสภาพหนี้ดังกล่าวมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และมาตรา 193/15 และอายุความที่สะดุดหยุดลงนี้ย่อมมีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 กรณีหาใช่การรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ไม่ เมื่อต่อมาปรากฏว่า ส. ไม่ชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 สิงหาคม 2537 ตามที่รับสภาพหนี้ไว้ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว และเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 9 เมษายน 2537 เมื่อนับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มนับอายุความใหม่ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8088/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของทางราชการโดยเจตนาทุจริต แม้คืนเงินภายหลังก็ไม่ถือว่าไม่มีเจตนา
เงิน 10,000 บาท ที่จำเลยในฐานะประธานศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองรับไปจากศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นเงินที่ศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทยจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการจัดสรรมาให้ศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมือง เงินดังกล่าวถือเป็นเงินของทางราชการที่ต้องนำส่งเป็นเงินรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองทั้งสิ้น กรณีมิใช่เป็นเงินที่มีผู้อุทิศให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองเป็นการเฉพาะเจาะจงว่าให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังที่จำเลยฎีกา จำเลยในฐานะนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองและในฐานะประธานศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองย่อมจะต้องทราบดีว่า จะต้องเก็บรักษาเงินดังกล่าวไว้อย่างไร การที่จำเลยอ้างว่า จำเลยมีความขัดแย้งกับ ส. ซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลโนนเมืองจนไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้ ก็มิได้เป็นเหตุให้จำเลยมีหน้าที่หรือจำต้องเก็บรักษาเงินไว้เอง การที่จำเลยเก็บรักษาเงินไว้เองโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการและไม่เคยแจ้งให้คณะกรรมการศูนย์กีฬาตำบลโนนเมืองทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวของจำเลยรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเจตนาเบียดบังเงินดังกล่าวเป็นของตนเองโดยทุจริต แม้ต่อมาจำเลยจะคืนเงินดังกล่าวให้แก่คณะกรรมการศูนย์กีฬาตำบลโนนเมือง แต่ก็เป็นเวลาภายหลังจากมีการร้องทุกข์แล้ว จึงหาเป็นเหตุให้รับฟังได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินดังกล่าวไปเป็นของตนเอง