พบผลลัพธ์ทั้งหมด 213 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่บอกเลิกได้ง่าย, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, สิทธิค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบ
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้างออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี ไม่มีผลบังคับอย่างแท้จริง โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลาการจ้างกำหนดไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์ แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่า ให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว และหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษ โดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่า มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยานบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปีที่มีสิทธิบอกเลิกได้, หน้าที่จ่ายโบนัสตามระเบียบ, และสิทธิค่ารักษาพยาบาลตามข้อกำหนด
แม้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจะระบุว่า เป็นสัญญาที่ได้กระทำขึ้นมีกำหนดเป็นรายปี แต่ความในสัญญาโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ หรือจะต่ออายุสัญญาจ้าง ออกไปครั้งละ 1 ปี นานเท่าใดก็ได้ ดังนั้น เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปีไม่มีผลบังคับอย่าง แท้จริงโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างที่มีระยะเวลา การจ้างกำหนด ไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยให้ เมื่อเลิกจ้าง
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
จำเลยมีหน้าที่ตามระเบียบที่ต้องจ่ายโบนัสให้โจทก์แม้จะมีสัญญาจ้างกำหนดว่าให้ถือว่าลูกจ้างยังอยู่ภายใต้กฎและระเบียบข้อบังคับของบริษัทที่มีอยู่แล้วและหรือที่จะได้กำหนดขึ้นใหม่ แก้ไขเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกจ้างโดยเฉพาะเป็นบางครั้งบางคราวในกรณีพิเศษโดยฝ่ายบริหารของบริษัทก็ตาม ก็เป็นเพียงแต่ให้สิทธิจำเลยที่จะกำหนดขึ้นใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงระเบียบที่มีอยู่แล้ว หากยังมิได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบเดิม จะไม่ปฏิบัติตามโดยอ้างว่ามีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้โบนัสแก่โจทก์
เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลแล้ว การที่จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ครึ่งหนึ่งนั้น ไม่เป็นเหตุให้โจทก์กลับมีสิทธิขึ้น จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลอีกกึ่งหนึ่งให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างประจำรับบำเหน็จ แม้ได้รับค่าชดเชยแล้ว ระเบียบใหม่ใช้บังคับไม่ได้หากไม่แจ้งให้ทราบ
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำบริษัทจำเลย ทำงานเต็มเวลาติดต่อกันมา15 ปี จำเลยให้โจทก์ออกจากงานโดยโจทก์ไม่มีความผิด โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบการจ่ายเงินบำนาญของจำเลย การที่จำเลยออกระเบียบการจ่ายเงินบำนาญใหม่มาใช้แทนระเบียบเดิมโดยไม่ได้แจ้งให้สหพันธ์แรงงานและโจทก์ทราบระเบียบดังกล่าวไม่มีผลบังคับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินและการจำกัดสิทธิเข้าใช้ การกระทำของทหารยามไม่เป็นการละเมิดเมื่อปฏิบัติตามระเบียบ
ทางราชการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสนามบิน ทางสาธารณะในเขตเวนคืนสิ้นสภาพไป ทหารยามห้ามมิให้โจทก์นำรถเข้าไปขนมันสำปะหลังผ่านที่เวนคืน เพราะโจทก์ไม่ทำตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมวางไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ก่อขึ้นเองผู้บังคับบัญชาทหารยามไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงระเบียบจ่ายเงินบำนาญนายจ้างต้องไม่เป็นคุณต่อลูกจ้างเดิม และระเบียบเดิมยังคงมีผลบังคับ
ระเบียบจ่ายเงินบำนาญออกเมื่อใช้ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์แล้วใช้เฉพาะผู้เข้าทำงานหลังวันออกระเบียบ ผู้ทำงานมาก่อนใช้ระเบียบที่มีอยู่เดิม เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างนายจ้างแก้ไม่ได้ เว้นแต่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความระเบียบการบัญชีหนี้สูญ: สิทธิและความรับผิดของพนักงานขาย
ระเบียบของบริษัทโจทก์กำหนดว่า ให้นำหนี้สูญครึ่งหนึ่งมาเข้าบัญชีเงินประกันของพนักงานขายมิได้กำหนดว่าถ้าหักบัญชีกันแล้วเงินไม่พอชำระหนี้สูญได้หมดพนักงานขายจะต้องรับผิดชอบชดใช้ส่วนที่ขาดเป็นส่วนตัว จึงนำเอาวิธีปฏิบัติหรือการแปลความหมายทางการบัญชีมาใช้บังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้สูญไม่ได้ เพราะจะเป็นการตีความในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยผู้ต้องเสียในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐจากความบกพร่องในการปฏิบัติตามระเบียบ
ระเบียบการเก็บรักษาเงินคงคลังฯนั้นหากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามก็มีแต่รับผิดทางวินัย แต่จะเป็นละเมิดหรือไม่แล้วแต่ขาดความระวังอันควรต้องใช้ในพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่ เมื่อผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินปล่อยให้ทำผิดระเบียบตามที่เคยทำกันมา ความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นประมาทเลินเล่อก็ไม่มีความรับผิดทางละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการถอดถอนกรรมการมัสยิด: คอเต็บมีสถานะเป็นกรรมการ ย่อมอยู่ภายใต้ระเบียบการถอดถอนได้
พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 กำหนดให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด ส่วนการแต่งตั้งและถอดถอนนั้น ได้มีระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการเกี่ยวแก่ศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า) พ.ศ.2492 กำหนดไว้ ตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว อิหม่าม คอเต็บบิหลั่น ต่างก็คือกรรมการอิสลามประจำมัสยิดคนหนึ่งในจำนวนไม่เกิน 15 คน ตามระเบียบข้อ 4 ที่ว่าอิหม่าม คอเต็บบิหลั่น เป็นกรรมการโดยตำแหน่งนั้น หมายความว่าบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ไม่ต้องออกตามวาระ 4 ปี ตามระเบียบข้อ 12 เมื่อถึงวาระเลือกตั้งใหม่ ถ้าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมีตัวอยู่และดำรงตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อยก็ไม่ต้องเลือกตั้งเฉพาะตำแหน่งนั้นๆ ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่โดยเรียบร้อยก็อยู่ได้ตลอดไปจนชรา ทุพพลภาพ หรือพิการ และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่ง แล้วยกขึ้นเป็นกิติมศักดิ์ในตำแหน่งเดิม แต่ถ้าดำรงตำแหน่งหน้าที่ไม่เรียบร้อยคณะกรรมการดังกล่าวอาจพิจารณาให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยที่อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ต่างก็เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดังกล่าวแล้ว จึงต้องอยู่ภายใต้ระเบียบที่จะต้องพ้นจากตำแหน่งได้ตามระเบียบข้อ 13 หาใช่ว่าเป็นอิหม่ามคอเต็บ บิหลั่น แล้วจะได้เป็นอยู่จนชรา ทุพพลภาพหรือพิการเสมอไปทุกคนไม่
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13(ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด
โจทก์ดำรงตำแหน่งเป็นคอเต็บ มัสยิดสวนพลู ก็เป็นกรรมการประจำมัสยิดนั้นคนหนึ่ง ย่อมอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจอยู่ ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 เมื่อได้ความว่าโจทก์เจตนาหน่วงเหนี่ยวการทำทะเบียนสัปปุรุษไว้เพื่อมิให้มีการเลือกตั้งอิหม่าม บิหลั่น และกรรมการประจำมัสยิด อันอาจเสื่อมเสียประโยชน์ของมัสยิดตามระเบียบข้อ 13(ฉ) จำเลยจึงชอบที่จะออกคำสั่งถอดถอนโจทก์ออกจากตำแหน่งคอเต็บได้ ไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการมัสยิดต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ถูกต้อง กรรมการและผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488 มาตรา 8 เพียงแต่เปิดโอกาสให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะจัดให้มีคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดหรือไม่ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ และให้อำนาจคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้กำหนดระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้กำหนดว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ต่อมาจึงมีพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 บัญญัติให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิด และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้ออกระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2492 กฎหมายและระเบียบดังกล่าวนี้ออกต่อเนื่องประกอบกันให้ปฏิบัติการแต่งตั้งได้โดยสมบูรณ์หาได้ขัดแย้งกันหรือยกเลิกข้อใดโดยปริยายไม่ ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติโดยครบถ้วน จึงจะเป็นการแต่งตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหามีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดได้เองโดยพลการไม่
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบ กรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว จึงไม่มีผลให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยชอบ กรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนมัสยิด ผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง